Live Shopping โตแรง Meta เพิ่มฟีเจอร์สร้างแคตตาล็อก ซื้อของผ่านไลฟ์ อนาคตอาจมี Affiliate Marketing

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

Live Shopping โตแรง Meta เพิ่มฟีเจอร์สร้างแคตตาล็อก ซื้อของผ่านไลฟ์ อนาคตอาจมี Affiliate Marketing

Date Time: 12 มิ.ย. 2567 19:34 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Live Shopping โตแรง จน Meta (เมต้า) เดินหน้าผลักดันเต็มที่ เพิ่มบริการและฟีเจอร์ที่น่าสนใจสำหรับร้านค้า ให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าผ่านหน้าจอไลฟ์ได้ ลดปัญหาพ่อค้าแม่ค้าข้ามออเดอร์ พร้อมพัฒนา AI ต่อเนื่อง เตรียมดึง Llama 3 เข้าช่วยยกระดับแชตบอต นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับ Shopee เสริมแกร่ง Messenger ให้ลูกค้าสั่งสินค้าได้ทันที

Latest


Meta Thailand หรือ เมต้า ประเทศไทย ประกาศเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจและผู้บริโภคชาวไทย ผ่านเครื่องมือบนแพลตฟอร์มของ Meta ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ Messenger ผ่านงาน Business Messaging Summit Thailand 2024 เน้นส่งเสริมร้านค้าผ่านโมเดล Business Messaging หรือ การส่งข้อความเชิงธุรกิจ ยกระดับบริการ Live (ไลฟ์) ช่วยร้านค้าและลูกค้าให้ค้นพบสินค้าและบริการที่ง่ายขึ้น พร้อมเผยความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ อย่าง Vrich และ Shopee

เทรนด์ Live Shopping โตแรง

ตั้งแต่ช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์การเป็นเทรนด์ที่น่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการไลฟ์สดขายของ จนทำให้เกิดเป็นอินฟลูเอนเซอร์ และดาวในโลกโซเชียลมากมาย จากการสำรวจของ Meta พบว่า 8 ใน 10 ของผู้ใช้งานดูไลฟ์สดอาทิตย์ละอย่างน้อย 1 ครั้ง และ 80% ของผู้ใช้นิยมใช้ Facebook เพื่อดูไลฟ์

Meta ได้เริ่มพัฒนาและออกแบบให้มีเครื่องมือที่ช่วยให้การไลฟ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากอดีตที่ลูกค้าต้องถ่ายภาพหน้าจอระหว่างไลฟ์บน Facebook เพื่อไปสั่งสินค้าใน Messenger ทำให้เกิดข้อผิดพลาด อย่างเช่น จดออเดอร์พลาด ส่งสินค้าไม่ตรงตามที่ลูกค้าสั่ง ไปจนถึงข้ามออเดอร์ลูกค้า 

ทำให้ปัจจุบัน Meta ได้พัฒนา Facebook Live สำหรับร้านค้าให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มฟีเจอร์แคตตาล็อกสินค้าเข้าไปในไลฟ์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าในการเลือกสินค้าและสอบถามผ่านหน้าไลฟ์ได้เลย ในส่วนของร้านค้าก็ไม่จำเป็นที่จะต้องย้อนกลับมานำเสนอสินค้าซ้ำๆ และไม่ต้องกังวลที่จะพลาดรับออเดอร์ เพราะสินค้าจะไปเพิ่มในตะกร้า และลูกค้าสามารถชำระเงินตามรายการสินค้าที่เลือกได้เลยบน Messenger

และไม่ใช่เพียงแต่ร้านค้าที่ได้รับประโยชน์จากไลฟ์ ผู้ให้บริการอื่นๆ อย่างเช่น สำนักข่าว สื่อ หรือองค์กรในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็สามารถใช้แพลตฟอร์มของ Meta ในการนำเสนอ จัดงานอีเวนต์ หรือแถลงข่าวได้เช่นกัน

นอกจากนี้ ทาง Meta Thailand ยังกระซิบมาเพิ่มเติมอีกว่า ในอนาคตอาจจะมีการขยายไปสู่ Affiliate Market หรือการที่ให้ธุรกิจเปิดมีตัวแทนมาช่วยขายสินค้า

ช่วยธุรกิจด้วยบริการ AI บน Meta

ภายในงาน คุณแพร ดำรงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย ได้ขึ้นกล่าวถึงประเด็นการเติบโตของเศรษฐกิจภายใน Facebook, Instagram และ Messenger ว่า “ปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Meta กว่า 3.24 พันล้านราย และเมื่อไปสอบถามกับทางธุรกิจที่ดำเนินการอยู่บนแพลตฟอร์ม พบว่า 91% ของธุรกิจพึงพอใจในการใช้งาน Messenger เพื่อสื่อสารกับลูกค้า ในขณะเดียวกัน ทางลูกค้า 69% ก็สบายใจและพึงพอใจที่ได้สื่อสารกับร้านค้าผ่าน Messenger แม้ว่าจะเป็นการตอบด้วย AI แชตบอต”

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา Llama 3 โมเดลภาษาขนาดใหญ่ล่าสุดของ Meta ออกแบบ ‘AI Agent’ ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบคำถามลูกค้าได้อย่างราบรื่น และช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน นอกจากนี้ Meta กำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ AI ในการใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพเพื่อเปลี่ยนเป็นลูกค้าของธุรกิจในอนาคต และการกระตุ้นการพิจารณาผลิตภัณฑ์ของลูกค้าให้มากขึ้นผ่านการแชต

อีกทั้งยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ AI เพื่อช่วยธุรกิจผ่านการจัดการกับแคตตาล็อกสินค้าในร้านค้าและในไลฟ์ โดยลูกค้าจะสามารถแชตกับ AI เพื่อเรียกดูแคตตาล็อก และพิจารณาสินค้าต่างๆ จนกระทั่งตัดสินใจซื้อได้

Meta จับมือ Shopee ขยายความร่วมมือกับ e-Commerce สู่ Messenger

Meta ได้นำความสามารถของ Discovery Engine ของตัวเอง เข้ามาผสมผสานกับฟีเจอร์ e-Commerce ของ Shopee ประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อของที่ไร้รอยต่อ เชื่อม Messenger ให้สามารถเข้าถึง Shopee ได้ง่ายๆ 

โดยธุรกิจสามารถเชื่อมแคตตาล็อกสินค้าของตนเองขึ้นไปอยู่บน Facebook ได้แล้ว และผู้ซื้อสามารถดูแคตตาล็อกสินค้าของร้านค้าที่เชื่อมมาจาก Shopee ภายในกล่องข้อความ และสั่งซื้อได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องออกจากแชต

นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการโฆษณาที่ดีขึ้น โดยร้านค้าจะสามารถยกระดับประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ด้วยโฆษณาที่คลิกไปยัง Messenger โดยร้านค้ารายงานว่าต้นทุนต่อยอดซื้อ (cost-per-purchase) ลดลง 23% และผลตอบแทนการใช้จ่ายค่าโฆษณา (ROAS) เพิ่มขึ้นถึง 87%

ซึ่งธุรกิจสามารถเชื่อมแคตตาล็อกสินค้าจาก Shopee มาบน Facebook ได้แล้วผ่านการให้บริการจากพันธมิตรด้านโซลูชันของ Meta ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์