Zoom แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ ยังหาเงินได้ขนาดไหนในวันที่คนกลับเข้าออฟฟิศ?

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

Zoom แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ ยังหาเงินได้ขนาดไหนในวันที่คนกลับเข้าออฟฟิศ?

Date Time: 5 ก.พ. 2567 20:27 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • Zoom แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์เครื่องมือสำคัญในยุคโควิด ปัจจุบันจะยังทำเงินได้มากขนาดไหนในวันที่ทุกคนกลับเข้าออฟฟิศ

Latest


ในช่วงการระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ซึ่งทำให้กิจกรรมมากมายต้องหยุดชะงักหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การเรียนหรือการทำงานดำเนินต่อไปได้ในช่วงนั้นต้องยกความดีความชอบให้กับแพลตฟอร์มดังอย่างเช่น Zoom, Microsoft Teams, Skype และอีกมากมาย

แต่เมื่อช่วงเวลาการแพร่ระบาดคลายความรุนแรงลงคนก็กลับมาเจอหน้ากันตามปกติเครื่องมือประชุมทางไกลเหล่านี้ก็ถูกใช้งานลดลงไปด้วย และในบทความนี้ Thairath Money จะพาไปดูกรณีตัวอย่างของ Zoom ว่าจะยังคงทำรายได้ดีอยู่ไหมในยุคหลังโควิด

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก Zoom ในเบื้องต้นก่อนซึ่งมีจุดเริ่มต้นมากจากชายที่ชื่อว่า Eric Yuan ที่ต้องการแก้ Pain Point ที่พบในผู้ใช้งาน WebEx ซึ่งเป็นเครื่องมือประชุมทางไกลของ Cisco บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ที่เขาดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายวิศวกรรมในขณะนั้น

โดย Yuan ได้ลาออกจาก Cisco และก่อตั้ง Zoom ขึ้นมาในปี 2011 แต่ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า ‘Saasbee’ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Zoom อย่างที่เราคุ้นหูกันในอีกหนึ่งปีต่อมา และปล่อย Zoom เวอร์ชัน Beta ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุดที่ 15 คน

และหลังจากการระดมทุนรอบ Series A มูลค่า 6 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 213 ล้านบาท) ก็ได้มีการเปิดตัว Zoom เวอร์ชัน 1.0 ที่ให้มีผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุด 25 คน ในเดือนมกราคมปี 2013 โดยมีผู้ใช้งานกว่า 400,000 คนภายในเวลาสิ้นเดือน 

และมีผู้ใช้ทะลุ 1 ล้านคนในอีก 5 เดือนต่อมา ด้วยความโดดเด่นในคุณภาพของวิดีโอที่มาเหนือคู่แข่ง ตลอดจนความสามารถในการทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี

จากนั้นจึงได้ระดมทุนในรอบ Series B มูลค่า 6.5 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ บาท) โดย Yuan ระบุว่าจะนำเงินทุนที่ได้ไปขยายการลงทุนในต่างประเทศตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งของบริษัทในการรุกเข้าสู่ภาคการศึกษาและสายสุขภาพที่กำลังเติบโต ซึ่งในช่วงเวลานั้น Zoom ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทมากกว่า 4,500 แห่งและผู้ใช้งานอีกกว่า 3 ล้านคน 

และในปี 2015 Zoom ได้ประกาศระดมทุนในรอบ Series C มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1 พันบาท) โดยหลังจากการระดมทุนในรอบนี้ Zoom ได้อัปเดตฟีเจอร์ ‘Breakout Rooms’ ที่ให้ผู้ใช้แบ่งกลุ่มย่อยในการประชุมอย่างที่หลายคนอาจเคยได้ใช้งานและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับใช้ในการเรียน 

Zoom มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2016 และมีรายงานการเติบโตของรายได้ถึง 300% ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมกับทีมบาสเก็ตบอลชื่อดังจาก NBA อย่าง Golden State Warriors และในปีต่อมาก็ได้ระดมทุนในรอบ Series D มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 3.5 พันล้านบาท) นำโดย Sequoia Capital จากนั้นจึงได้ยื่น IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 2019 

แต่จุดที่ทำให้ Zoom เติบโตอย่างก้าวกระโดดแน่นอนว่าคือช่วงการระบาดของโควิดในปี 2020 ที่ทำให้เกิดกระแสการ Work from Home ตลอดจนเรียนทางไกล ซึ่งทั้งสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ Zoom ในการเรียนการสอนการประชุมหรือแม้แต่การฝึกอบรมต่างๆ และในเดือนเมษายน 2020 Yuan ประกาศว่า Zoom มีผู้ใช้รายวันเพิ่มขึ้นจนมีมากกว่า 200 ล้านคน

จนทำให้ Zoom ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดซึ่งราคาหุ้นดีดขึ้นถึง 635% ในปี 2020 และระดมทุนได้อีก 2 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 7.1 หมื่นล้านบาท) จากการเสนอขายหุ้นสามัญ และปัจจุบันมี Market Cap อยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 6.7 แสนล้านบาท)

ปัจจุบัน Zoom ยังปังอยู่ไหม ในวันที่คนกลับเข้าออฟฟิศ?

รายได้ทั้งปีของปีงบประมาณ 2023 สิ้นสุดเดือนมกราคมปีเดียวกัน Zoom มีรายได้รวมอยู่ที่ 4.3 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้น 7% เทียบกับ 4 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท) ในปีก่อนหน้า และจำนวนลูกค้าองค์ที่เพิ่มขึ้นอีก 12% อยู่ที่ 213,000 ราย

โดยแบ่งเป็นรายได้ในกลุ่ม Enterprise ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบรายปี และ Online อีก 1.9 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท) ลดลง 8% เมื่อเทียบรายปี

ขณะที่รายได้ในไตรมาส 3 ปีงบประมาณ 2024 สิ้นสุดเดือนตุลาคม 2023 อยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 3.2% เมื่อเทียบรายปี โดยมีรายได้ในกลุ่ม Enterprise ที่ 660.6 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 7.5% และ Online ที่ 476.1 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท) ลดลง 2.4% เมื่อเทียบรายปี 

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2024 Zoom คาดการณ์รายได้รวมว่าจะอยู่ระหว่าง 4.5 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) สูงกว่ารายได้ 4.3 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2023

ปัจจุบัน Zoom ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาเพราะยังมีการเพิ่ม AI เข้ามาเช่นเดียวกับบริษัทเทคโนโลยีรายอื่นโดยในปี 2021 ได้เข้าซื้อ Karlsruhe Information Technology Solutions หรือ Kites บริษัทเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนีเพื่อเพิ่มฟีเจอร์การแปลแบบเรียลไทม์

พร้อมเปิดตัว ‘Zoom AI Companion’ ในปี 2023 ผู้ช่วยอัจฉริยะซึ่ง Yuan ระบุว่าเป็นตัวเพิ่มมูลค่าให้กับแพลตฟอร์ม และมีส่วนสำคัญของการเติบโตของรายได้ในไตรมาส 3/2024 ที่สูงกว่าการคาดการณ์

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์