เจาะทิศทางปี 2567 ของ AWS หลังประกาศลงทุนหนักในประเทศไทย ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เจาะทิศทางปี 2567 ของ AWS หลังประกาศลงทุนหนักในประเทศไทย ผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล

Date Time: 31 ม.ค. 2567 18:14 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • สรุปยุทธศาสตร์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยของบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (AWS) ปี 2567 ในงาน AWS Thailand Outlook Media Briefing ซึ่งให้ข้อมูลโดยคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย และคุณสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี AWS ประเทศไทย

Latest


สรุปยุทธศาสตร์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยของบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (AWS) ปี 2567 ในงาน AWS Thailand Outlook Media Briefing ซึ่งให้ข้อมูลโดยคุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWS ประเทศไทย และคุณสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี AWS ประเทศไทย

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWSประเทศไทย
คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager ประจำ AWSประเทศไทย

ทิศทางของ AWS ประเทศไทย 

ตั้งแต่ปี 2553 AWS ได้ลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ ในโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของเราทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งช่วยนำประโยชน์ของคลาวด์สู่ชุมชนมากขึ้นในภูมิภาคนี้ 

โดย ASEAN กำลังกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตที่เร็วกว่าสหรัฐฯ และยุโรป (ธนาคารพัฒนาเอเชียปี 2566) เรากำลังเพิ่มการลงทุนใน ASEAN และมีแผนที่จะเปิด AWS Regions อีก 4 แห่ง ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดย AWS มีแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทย ภายในระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิด AWS Asia Pacific (Bangkok) Region

โดยตลาดบริการคลาวด์สาธารณะในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโตถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2570 ด้วย CAGR 5 ปีอยู่ที่ 18.6% ตามข้อมูล Semiannual Public Cloud Services Tracker เมื่อช่วงครึ่งแรกของปี 2566 จาก IDC

สำหรับ 8 อุตสาหกรรมที่ AWS มุ่งเน้นในปีนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการการเงิน (FSI), การค้าปลีก, ยานยนต์, ดิจิทัล, พลังงาน, การผลิต, ด้านสุขภาพ และ TMEG (โทรคมนาคม, สื่อ, ความบันเทิง, เกม) เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการที่มีความเฉพาะเจาะจงของภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยให้คำแนะนำการใช้บริการคลาวด์ที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรมและสร้างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างทีมในประเทศและในระดับภูมิภาค AWS ทุ่มเทในการให้บริการแก่ลูกค้าไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างทีมที่มีความพร้อม ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลระดับโลก ไปจนถึงความเชี่ยวชาญของทีมในระดับภูมิภาค และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในระดับประเทศ AWS จัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้คลาวด์ของ AWS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล

ขณะที่การเปิดตัว AWS Bangkok Region โดย AWS กำลังเดินหน้าในการพัฒนาโครงการขนาดนี้ ซึ่งปีนี้จะเห็นการขยายตัวของเครือข่ายของ AWS Partner และการจัดงาน AWS Summit ที่กรุงเทพฯ ในเดือนพฤษภาคม 2567 งานนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า AWS ให้ความสำคัญในการสนับสนุนระบบนิเวศด้านคลาวด์ของประเทศไทย

นอกจากนี้การพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ เป็นสิ่งที่ AWS ยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยมีโครงการต่างๆ ที่มุ่งเน้นการเพิ่มทักษะด้านคลาวด์ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนโดยเท่าเทียมกัน รองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปสู่ความเป็นดิจิทัล ผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างครบวงจร AWS กำลังเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรในอนาคต ให้มีความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์ที่เป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน

คุณสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี AWS ประเทศไทย
คุณสาโรจน์ ปุญญพัฒนกุล หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี AWS ประเทศไทย

คาดการณ์เทรนด์นวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคต

สำหรับการคาดการณ์ด้านเทคโนโลยีสำหรับปี 2567 และอนาคต มองว่าในอีกหลายปีข้างหน้าที่กำลังจะมาถึง จะเต็มไปด้วยนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี และช่วยในเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราที่ต้องมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น ดังนี้ 

เทรนด์ที่ 1

Generative AI กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large language models: LLMs) ที่ถูกเทรนด้วยข้อมูลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย จะมีความเข้าใจที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ และความท้าทายในสังคมที่ซับซ้อน ความเข้าใจทางวัฒนธรรมนี้จะทำให้ Generative AI เป็นที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ใช้ทั่วโลก เช่น ตัวอย่างของประเทศไทย Botnoi Voice เป็นลูกค้าของ AWS ที่สามารถเติบโตและขยายธุรกิจผ่านโครงการส่งเสริมธุรกิจ Botnoi Voice สร้างเสียงพูดขึ้นมาจากตัวหนังสือด้วย AI bot ในภาษาไทยอย่างเป็นธรรมชาติและมีความชัดเจน โซลูชันนี้ใช้บริการของ AWS ในการประมวลผลเพื่อสร้างเสียงที่เป็นธรรมชาติและบันทึกเป็นไฟล์ บริษัทอย่าง FWD Insurance ได้ใช้ประโยชน์จากความสะดวกและความเข้าถึงของบริการของ Botnoi Voice นี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อกับลูกค้าในธุรกิจต่างๆ รวมถึงบริการทางการเงิน การศึกษาและการสื่อสาร และช่วยให้แบรนด์สามารถมอบประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นธรรมชาติได้อีกด้วย

สำหรับองค์กรที่ต้องการแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายเพื่อปรับใช้ Generative AI ได้อย่างรวดเร็ว AWS ได้ประกาศเปิดตัว Amazon Q ซึ่งเป็นผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI ซึ่งถูกปรับแต่งให้เหมาะกับธุรกิจของลูกค้า ลูกค้าจะได้รับคำตอบที่รวดเร็วและเกี่ยวข้องกับคำถาม ช่วยสร้างเนื้อหา และดำเนินการ ทั้งหมดนี้ได้รับจากคลังข้อมูล รหัส และระบบองค์กรของลูกค้า Amazon Q ให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่พนักงานเพื่อปรับปรุงงาน เร่งการตัดสินใจและการแก้ปัญหา และช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการทำงาน ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าองค์กร Amazon Q สามารถปรับแต่งการโต้ตอบกับผู้ใช้แต่ละรายตามข้อมูลประจำตัว หน้าที่รับผิดชอบ และสิทธิ์ที่สามารถใช้ได้ในองค์กร นอกจากนี้ Amazon Q ไม่เคยใช้เนื้อหาของลูกค้าในการเทรนโมเดลในพื้นฐานของ Amazon Q

เทรนด์ที่ 2

AI เป็นผู้ช่วยกำหนดมาตรฐานใหม่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ช่วย AI จะพัฒนาจากการสร้างรหัสพื้นฐานให้เป็นเสมือนครูและผู้ร่วมมือตลอดเวลาของวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ช่วย AI จะอธิบายระบบที่ซับซ้อนด้วยภาษาง่ายๆ แนะนำการปรับปรุงตามเป้าหมาย และทำงานซ้ำๆ เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นในส่วนของงานที่มีความสำคัญมากที่สุด

เทรนด์ที่ 3

การดูแลสุขภาพของผู้หญิงถึงจุดเปลี่ยนเมื่อมีการลงทุนใน FemTech เพิ่มมากขึ้น การดูแลเป็นแบบผสมผสาน และมีข้อมูลมากมายที่ช่วยปลดล็อกการวินิจฉัยและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นต่อผู้ป่วย การเติบโตของ FemTech ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับระบบการดูแลสุขภาพทั้งหมดอีกด้วย

เทรนด์ที่ 4

การศึกษาวิวัฒนาการเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วของนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ โปรแกรมการฝึกอบรมตามทักษะเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น โปรแกรมเหล่านี้จะเหมือนกับการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และจะมีประโยชน์ต่อทั้งบุคคลและธุรกิจ

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์