เก็บตกจากเวทีดาวอส 2024 โลกพูดถึง AI อย่างไรบ้าง รวมข้อถกเถียงตัวพ่อแห่งวงการ

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เก็บตกจากเวทีดาวอส 2024 โลกพูดถึง AI อย่างไรบ้าง รวมข้อถกเถียงตัวพ่อแห่งวงการ

Date Time: 23 ม.ค. 2567 19:13 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • นอกเหนือการจับตามองเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลก ในปีนี้ ‘เทคโนโลยี AI’ ก็ได้กลายเป็นวาระสำคัญระดับโลกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงบนเวที World Economic Forum 2024 เมื่อวันที่ 15-19 ม.ค. ที่ผ่านมา หนึ่งประเด็นใหญ่ที่ได้รับการเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง และขณะเดียวกันก็กลายเป็นความเสี่ยงใหม่ที่มนุษย์กำลังเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Latest


วงจรการพัฒนาของ AI และ Generative AI อย่างก้าวกระโดดในปี 2023 เพียงปีเดียว สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนและธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า ผู้คนและธุรกิจยังต้องการความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นจากการอัปสกิลของตัวเอง การศึกษาคุณสมบัติ ทำความเข้าใจที่มาที่ไปอันซับซ้อนของโมเดลต่างๆ ตลอดจนการเรียกร้องถึงขอบเขตการกำกับดูแล 

รายงานสำรวจประจำปีของ World Economic Forum (WEF) ระบุว่า ข้อมูลบิดเบือนที่สร้างจาก AI จะเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง ภายใน 2 ปีนี้ จึงไม่แปลกที่เวทีดาวอสในปีนี้ ผู้คนรอคอยคำตอบจากปากบิ๊กเทคผู้สร้างเทคโนโลยี เพื่อตอบคำถามสำคัญๆ ที่ไม่ใช่แค่ อะไรคือความเสี่ยงที่ฉันต้องรู้เพื่ออยู่รอด แต่เป็นคำถามที่ว่า ฉันจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ภายในกี่ปี และฉันจะฉลาดกว่าหุ่นยนต์ได้อย่างไร?

ประเด็นใหญ่ๆ จากตัวพ่อบิ๊กเทคและมหาเศรษฐี Bill Gates หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Microsoft ที่ยกให้ AI เป็น Productivity Breakthrough หรือความก้าวหน้าด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา AI ช่วยภาคส่วนสำคัญอย่าง Healthcare และถ่ายทอดความก้าวหน้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ดี แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้โลกดีขึ้นแค่ไหน ก็ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่ AI จะถูกนำไปในทางลบ

"AI คือเครื่องมือมหัศจรรย์ที่จะช่วยทุกคนบนโลกเพิ่ม Productivity ไม่ว่าจะคนดีหรือคนเลว ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ไม่หวังดีจะเก่งขึ้น เราจึงต้องทำให้มั่นใจว่า AI ถูกใช้ไปในทางที่ถูกที่ควร" - Bill Gates 

ต่อเนื่องด้วย Satya Nadella ซีอีโอคนปัจจุบันของ Microsoft และ Sam Altman ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ที่แม้จะไม่ได้ขึ้นเวทีเดียวกัน แต่วิวาทะจากทั้งคู่ดุเดือดราวกับโต้เถียงกันในฐานะ นักลงทุน และ ผู้พัฒนา ที่คาดหวังได้แชร์มุมมองการมีส่วนร่วมในการประกอบสร้างเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่จำเป็นต้องมีมาตรฐานระดับโลกเพื่อกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาจะไม่ไปผิดทาง 

"บทเรียนใหญ่สุดของเรา คือ ผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ขาดการกำกับดูแล ซึ่ง AI จะกลายเป็นความท้าทายใหม่ที่ต้องมีบรรทัดฐานและมาตรฐานระดับโลก" - Satya Nadella 

ด้าน Sam Altman กับการเปิดเผยความรู้สึกสับสนต่อหน้าสาธารณะในช่วงที่เกิดความขัดแย้งกับบอร์ดบริหาร พร้อมยอมรับต่อความกังวลใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก เขารู้ว่าผู้คนกลัวสิ่งที่เขาพัฒนา ซึ่งเขาก็ยอมรับว่า เราไม่สามารถรับประกันได้อย่างแม่นยำจริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ แต่เราสามารถสร้างความไว้วางใจเทคโนโลยี โดยการทำความเข้าใจวิธีการทำงานและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน 

"ผู้คนรู้สึกว่าทำไมอนาคตของพวกเขาขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ผมเข้าใจถึงความกังวลเหล่านี้ดี ดังนั้น OpenAI จะทำให้เทคโนโลยีอยู่ในมือทุกคน ทำให้คนและ AI ได้เรียนรู้ และมีวิวิวัฒนาการร่วมกัน"- Sam Altman 

และอีกหนึ่งเซสชั่นที่หลายคนจับจ้อง ‘The Expanding Universe of Generative AI Models’ เวทีรวมเหล่าเทพในวงการ AI ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกมาล้อมวงถกเถียง อาทิ Yann LeCun หัวหน้าทีม AI ของ Meta ตัวพ่อวงการ Data Science, Kai Fu Lee ผู้ก่อตั้ง 01.AI เจ้าของผลงาน AI Superpowers และ AI 2041 และ Andrew Ng ผู้ก่อตั้ง DeepLearning.AI, Landing AI และ Cousera 

"OpenAI ไม่ได้ผูกขาดเทคโนโลยี พวกเขาไม่สามารถสร้าง AGI ได้ด้วยตัวคนเดียว ถ้าปราศจากโมเดลโอเพนซอร์ส โลกยังรอการค้นพบสิ่งใหม่ๆ อีกมากมายและการพัฒนา AGI ยังต้องใช้เวลาอีกนาน" -Yann LeCun

พวกเขาถกเถียงกันถึงภาพอนาคตของโมเดลประมวลภาษาขนาดใหญ่ ขีดความสามารถของโมเดล Generative AI ความเชื่อมั่นของแพลตฟอร์มโอเพนซอร์ส กับการเปิดกว้างของไอเดียการพัฒนาโมเดลรูปแบบใหม่ๆ ตลอดจนข้อจำกัดและจุดอิ่มตัวของข้อมูลที่ใช้เทรนด์ปัญญาประดิษฐ์ และความเป็นไปได้ของ AGI หรือ AI ที่ชาญฉลาดทัดเทียมมนุษย์จริง  

"บางครั้งความพยายามในการกำกับดูแล AI อาจจำกัดการเกิดขึ้นของนวัตกรรม จำกัดการแข่งขัน และจำกัดผู้คนไปให้เข้าถึงประโยชน์ของ AI อย่างแท้จริง" -Andrew Ng 

"ตอนนี้โลกมีเทคโนโลยีที่เกิดมาพร้อมกับอุดมการณ์ ค่านิยม และอคติของตัวเอง เป็นเรื่องที่อันตราย ถ้ามีบริษัทเดียวที่จะครองทุกสิ่ง" "ด้าน Kai Fu Lee แสดงมุมมองที่สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีในอีกน่านน้ำการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ "เราถึงต้องสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียมในระดับโลก และไม่ปล่อยให้ประเทศใดประเทศหนึ่งครอบงำการสร้างนวัตกรรม" กล่าว 

ประเด็นสำคัญที่โดดเด่นจากเวทีดาวอส เปรียบเสมือนการตกตะกอนสิ่งที่โลกได้บทเรียนจากการผลัดเปลี่ยนอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี เรารู้แล้วว่า AI มีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต เพิ่มทักษะของมนุษย์ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ขณะเดียวกัน AI ก็เพิ่มช่องว่างความไม่เท่าเทียมของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา 

ดังนั้นสิ่งที่ต้องยอมรับไปพร้อมกัน คือ การพัฒนาดังกล่าวขยายช่องว่างหลายมิติที่สร้างข้อกังวลใจว่ามนุษย์จะปรับตัวทันหรือไม่ โดยบทสรุปจากเวทีดาวอสก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า 'การสร้างและใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ' คือ สิ่งสำคัญอย่างแรกในปีนี้ 

อ้างอิง BBC , CNNBloomberg WEF 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ