Kodak กรณีศึกษาในตำนาน อดีตถูกดิสรัปต์จนพัง ทุกวันนี้หาเงินอย่างไร ทำไมถึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้?

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Kodak กรณีศึกษาในตำนาน อดีตถูกดิสรัปต์จนพัง ทุกวันนี้หาเงินอย่างไร ทำไมถึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้?

Date Time: 1 ธ.ค. 2566 18:39 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • Kodak บริษัทนวัตกรรมระดับโลก ผู้นำในเรื่องกล้องและฟิล์มที่เคยมีทั้งยุครุ่งเรือง และจุดตกต่ำ ปัจจุบันทำเงินจากธุรกิจอะไรทำไมถึงอยู่รอดได้ท่ามกลางการดิสรัปต์ของกล้องดิจิทัลและสมาร์ทโฟน

Latest


Kodak บริษัทนวัตกรรมของโลกที่เคยรุ่งเรืองในช่วงเวลาหนึ่งจนติดอันดับ Fortune 500 แบรนด์ที่มียอดขายต่อปีทะลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 3.5 แสนล้านบาท) ในปี 1981 แต่ขณะเดียวกันก็ถือเป็นบริษัทที่เคยอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าล้มเหลวจากการถูก Disrupt ด้วยกล้องดิจิทัล

Thairath Money จะพามาดูกันว่า Kodak บริษัทนวัตกรรมผู้นำในเรื่องกล้องและฟิล์มมากว่า 135 ปี ที่เคยมีทั้งจุดรุ่งเรือง และจุดตกต่ำ แต่ปัจจุบันยังสามารถไปต่อได้ แต่จะทำเงินจากธุรกิจอะไรบ้างท่ามกลางช่วงเวลาที่กล้องฟิล์มกลายเป็นเพียงอดีตและเทรนด์ในสายตาของคนส่วนใหญ่

135 ปีที่ผ่านมา Kodak ทำเงินจากธุรกิจอะไรบ้าง?

เริ่มต้นจากปี 1888 โดย George Eastman ชายผู้ก่อตั้ง Kodak ได้นำเสนอกล้องที่ลดความซับซ้อนในการใช้งานออกสู่สายตาชาวโลกพร้อมสโลแกน “คุณกดปุ่ม ที่เหลือเราจัดการ” เป็นจุดเริ่มต้นของกล้องถ่ายรูปที่ใช้งานง่าย และเข้าถึงได้กว่าเดิมซึ่งก็ได้ทำให้ Kodak กลายเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมการถ่ายภาพในยุคนั้น

แต่ในช่วงทศวรรษ 1970 บริษัทตัดสินใจผิดพลาดในการยืนหยัดที่จะเดินหน้าทำธุรกิจฟิล์มแบบเดิมและปฏิเสธกล้องดิจิทัล โดยวิศวกรของ Kodak ได้คิดค้นกล้องดิจิทัลตัวแรกขึ้นมาแต่บริษัทกลับกลัวว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะกระทบกับยอดขายฟิล์ม 

ซึ่งขณะนั้น Kodak ครอง 90% ของยอดขายฟิล์ม และ 85% ของยอดขายกล้องในสหรัฐฯ แต่สถานะเจ้าตลาดก็ค่อยๆ เลือนหายไป จนในปี 2004 Kodak ก็ได้ประกาศหยุดผลิตกล้องฟิล์มในช่วงการเติบโตของยุคดิจิทัล

และในปี 2012 Kodak ก็ไม่สามารถสู้กับตลาดกล้องดิจิทัลที่กำลังเติบโตอีกต่อไปโดยได้ยื่นล้มละลายหลังขาดทุนต่อเนื่องมานาน 3 ปี พร้อมประกาศยุติการผลิตกล้องถ่ายภาพแบบดิจิตอล กล้องถ่ายภาพวิดีโอขนาดพกพาและขายธุรกิจและสิทธิบัตรจำนวนมากจนกลายเป็นบริษัทที่เล็กกว่าเดิม แต่ในปีถัดมา Kodak ก็สามารถฟื้นจากการล้มละลายหลังได้รับการอนุมัติจากศาลและกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไป

และในปี 2018 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสบิตคอยน์กำลังมาแรงอย่างมาก Kodak ก็ได้ประกาศเปิดตัว "KodakCoin" สกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ซื้อขายภาพถ่ายบนแพลตฟอร์ม KodakOne เพื่อช่วยจัดการในเรื่องลิขสิทธิ์ของช่างภาพแต่สุดท้ายโปรเจกต์คริปโตฯ ก็ต้องปิดตัวลง

หลังจากจับกระแสคริปโตฯ แล้วไม่ประสบความสำเร็จ Kodak ก็ได้หันมาสู่อุตสาหกรรมยา โดยในปี 2020 ได้รับเงินกู้ยืมจากรัฐบาลภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donal Trump) จำนวน 765 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท) เพื่อเปิดตัวหน่วยธุรกิจ ‘Kodak Pharmaceuticals’ ทำหน้าที่ผลิตส่วนผสมที่ใช้ในยาสามัญในสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาการผลิตยาและผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญอื่นๆ จากผู้ผลิตต่างประเทศ

ทั้งนี้ Kodak ได้เริ่มหันเข้าสู่อุตสาหกรรมยาตั้งแต่ปี 1988 โดยเข้าซื้อบริษัทยา Sterling Drug ที่สุดท้ายได้ขายออกไปในเวลาต่อมา โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจแม้ขณะนั้นจะขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพรายใหญ่ที่สุดของโลกแล้วก็ตาม ขณะเดียวกันก็เป็นความต้องการเพิ่มความหลากหลายให้กับธุรกิจซึ่ง Kodak เองก็มีส่วนงานที่ดูในเรื่องเคมีภัณฑ์อยู่แล้ว

ผลการดำเนินงานปี 2022 ส่งสัญญาณสู่ทิศทางที่ดี

และท้ายที่สุดผลการดำเนินงานในปีล่าสุดของ Kodak ก็สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษจากความพยายามปรับกลยุทธ์รักษาสเถียรภาพทางการเงิน ปรับโครงสร้างสู่ ‘One Kodak’ และมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจหลัก ตลอดจนขยายการเติบโตของธุรกิจกลุ่ม Advanced Materials & Chemicals รวมถึงพัฒนาเครื่องพิมพ์ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันดีในปีต่อๆ ไป

โดยเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา Kodak รายงานรายรับปี 2022 อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ทำไปได้ 1.1 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท)

และมีรายได้สุทธิ (GAAP Net Income) ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 26 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 912 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 8% จาก 24 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 842 ล้านบาท) ในปี 2021 ขณะที่ EBITDA อยู่ที่ 18 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 632 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 64% จากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ 11 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 386 ล้านบาท)

สำหรับรายรับในไตรมาส 3 ของปี 2023 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน นั้นอยู่ที่ 269 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 9.4 พันล้านบาท) ลดลง 7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งทำไป 289 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท) โดยเป็นรายได้จากการขาย (Sales) 220 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 7.7 พันล้านบาท) และรายได้จากบริการ (Services) 49 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.7 พันล้านบาท)

โดยในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ Kodak ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรโดยรวมกลุ่มธุรกิจ Digital Print และ Traditional Print เข้าด้วยกัน จึงทำให้ธุรกิจของ Kodak ประกอบไปด้วย 

  • Print ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ทั้งหมดตั้งแต่การพิมพ์ดิจิทัลที่มีทั้งโซลูชันเครื่องพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์หมึกพิมพ์และการเคลือบสี และส่วนงานธุรกิจการพิมพ์ซึ่งใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
  • Advanced Materials & Chemicals ส่วนงานให้บริการผลิตภัณฑ์ฟิล์มประเภทต่างๆ อย่างฟิล์มทั่วไปและฟิล์มที่ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไปจนถึงกลุ่มเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมี Kodak Research Laboratories ซึ่งเป็นทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ตลอดจนดำเนินการด้านสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา
  • Brand ส่วนงานที่ดูแลในเรื่องลิขสิทธิ์การใช้งานภายใต้แบรนด์ Kodak 

และหากพิจารณารายรับรายไตรมาสของไตรมาสที่ 3 แบ่งตามสัดส่วนจะพบว่ากลุ่มธุรกิจ Print มีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 196 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 6.8 พันล้านบาท) ตามมาด้วย Advanced Materials & Chemicals ที่ 64 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 2.2 พันล้านบาท) และ Brand เป็นสัดส่วนน้อยสุดอยู่ที่ 4 ล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 140 ล้านบาท)

นอกจากนี้ Kodak ยังมีธุรกิจ Eastman Business Park ซึ่งเป็นฮับด้านนวัตกรรมและการผลิตบนพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ให้บริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีการรายงานอยู่ในรายงานผลประกอบการของบริษัท 

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ