SoftBank บริษัทญี่ปุ่น ลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีอย่างไรให้โลกต้องจับตาทุกการเดิมพัน

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

SoftBank บริษัทญี่ปุ่น ลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีอย่างไรให้โลกต้องจับตาทุกการเดิมพัน

Date Time: 3 พ.ย. 2566 19:16 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • Thairath Money พาย้อนเส้นทางความบ้าคลั่งในการไล่ซื้อธุรกิจของ SoftBank และ มาซาโยชิ ซัน Masayoshi Son ชายผู้ขึ้นชื่อว่าเป็นพ่อมดนักลงทุน ผู้อยู่เบื้องหลัง ‘กองทุนเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ กว่าจะเป็นกองทุนที่สร้างแรงกระเพื่อมเป็นวงกว้างให้กับวงการเทคฯ จนเกิดคำพูดที่ว่า “SoftBank ลงทุนอะไรให้ลงทุนตาม” SoftBank เคยเป็นอะไรมาบ้าง และทำไมโลกคล้อยตามวิสัยทัศน์ของชายผู้นี้

Latest


"SoftBank" ชื่อที่วงการสตาร์ทอัพและสายเทคฯ ไม่มีใครไม่รู้จัก บางคนอาจคุ้นเคย SoftBank ในฐานะกองทุนหรือบริษัทโฮลดิ้งที่ไล่ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่รวมถึงสตาร์ทอัพทั่วโลกอย่างดุเดือด ตั้งแต่ซอฟต์แวร์ โลจิสติกส์ เครือข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ อีคอมเมิร์ซ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ อสังหาริมทรัพย์ การเงิน สื่อและการตลาด ผู้จุดไฟสนับสนุนและหล่อเลี้ยงผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเงินให้กับนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ล้วนแล้วแต่อยู่เบื้องหลังชีวิตประจำวันของเรา

เส้นทางความคลั่งไคล้ในโลกเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์

ในปี 1981 มาซาโยชิเริ่มต้นก่อตั้ง SoftBank Corp. Japan โดยมีแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อที่ต้องการทำหน้าที่เป็น ธนาคารซอฟต์แวร์ผู้วางรากฐานดิจิทัล ‘The Bank of Software’ ทำธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์พีซีทั่วประเทศญี่ปุ่นรายแรกๆ ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่ายุคแห่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้มาถึงแล้ว แน่นอนว่าธุรกิจของเขาเติบโตตามอานิสงส์ของการขยายตัวของธุรกิจ IT ในญี่ปุ่นตามลำดับ 

ด้วยวิสัยทัศน์ในการมองเทคโนโลยีการณ์ไกลที่ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ ปี 1994 มาซาโยชิ ซัน มีเป้าหมายทำให้ SoftBank เป็นบริษัทระดับโลก เปลี่ยนสถานะสู่การเป็น ‘โฮลดิ้ง’ SoftBank Holdings Inc. จัดตั้งบริษัทในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก เน้นกลยุทธ์เทคโอเวอร์ธุรกิจทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ โดยพุ่งเป้าไปที่ อุตสาหกรรมเครือข่ายโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต เริ่มต้นด้วยการเข้าซื้อ Ziff Communications เข้าซื้อหุ้นในแผนก The Interface Group ที่เป็นผู้จัด “COMDEX” งานแสดงสินค้าคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และซื้อกิจการ Ziff-Davis Publishing Co., ผู้จัดพิมพ์นิตยสาร PC WEEK

ต่อเนื่องด้วย การตัดสินใจร่วมลงทุนกับเว็บไซต์ Yahoo! ในสหรัฐฯ ก่อตั้ง Yahoo! Japan เปิดตัวธุรกิจอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบในญี่ปุ่น หลังเข้าถือหุ้นในปี 1995 ตามด้วยการลงครั้งสำคัญ โดยทุ่มเงิน 20 ล้านดอลลาร์ ใน Alibaba.com ของ Jack Ma ในปี 2000 บนความเชื่อที่ว่าเว็บไซต์จะกลายเป็นร้านค้าออนไลน์ได้ แน่นอนว่าสมัยนั้นธุรกิจของ Alibaba ใหม่มากและยังไม่มีทีท่าว่าจะกำไรได้ง่ายๆ ท่ามกลางวิกฤติฟองสบู่การเกิดขึ้นของเว็บไซต์ 

หลังจากนั้นก็ได้เปิดตัว Yahoo! BB Broadband Service บริการบรอดแบนด์เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร เพื่อให้คนญี่ปุ่นเข้าถึงอินเทอร์เน็ตถูกลงและรวดเร็วยิ่งขึ้น ตามด้วยการเข้าซื้อกิจการโทรคมนาคมและเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องได้แก่ JAPAN TELECOM ในปี 2004 และ Vodafone Japan ในปี 2006 และรีแบรนด์สู่ SoftBank Mobile Corp.

พร้อมขยายฐานลูกค้าผ่านเครือข่ายมือถือด้วยการเป็นผู้จัดจำหน่ายและให้บริการ iPhone 3G แต่เพียงผู้เดียวในญี่ปุ่นในขณะนั้น ตลอดจนเข้าซื้อ Sprint ในสหรัฐฯ ในปี 2013 และขึ้นแท่นเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่มีฐานลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น 

ทศวรรษที่ 20 มาซาโยชิชี้แจงบทบาทใหม่โดย SoftBank Corp. จะดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมในญี่ปุ่น ส่วน SoftBank Group Corp. ดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทการลงทุนระดับโลก โฮลดิ้งยักษ์ใหญ่ที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต 

ยุคนี้ SoftBank รุกสู่สนาม AI, IoT และหุ่นยนต์อัจฉริยะก่อนใครเพื่อน ทั้งการเข้าซื้อ Boston Dynamics (ปัจจุบันขายให้กับ Hyundai) เปิดตัว ‘Pepper’ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของโลกที่ร่วมพัฒนากับ ALDEBARAN Robotics ตามด้วยก้าวสำคัญที่สะเทือนวงการเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การเข้าซื้อกิจการ ARM บริษัทผู้ออกแบบชิปรายใหญ่สัญชาติอังกฤษที่เป็นหนึ่งในผู้นำของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ตัดหน้า Nvidia ในปี 2016 

ต่อมาในปี 2017 SoftBank เปิดตัวกองทุน Venture Capital ชื่อ “Vision Fund” ตั้งเป้าระดมทุนถึง 1 แสนล้านดอลลาร์หรือประมาณ 4  ล้านล้านบาท ซึ่งว่ากันว่าเป็นกองทุนแห่งวิสัยทัศน์ที่นับว่าเป็นกองทุนเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยหลังจากนั้น SoftBank ก็ได้เริ่มเข้าลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพเทคโนโลยีหลายรายที่เริ่มผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงนั้น ไม่ว่าจะเป็น WeWork ผู้ให้บริการ พื้นที่สำนักงาน, Uber แอปฯ เรียกรถ, Grab แอปฯ เรียกรถและเดลิเวอรี, Doordash แอปฯ ส่งอาหาร, T-Mobile ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายรายใหญ่ในสหรัฐฯ เป็นต้น 

SoftBank กลืนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาจไม่เกินจริง 

หากสังเกตการชิงพื้นที่ด้านโทรคมนาคมของประเทศและเส้นทางการเดินหมากของ มาซาโยชิ ซัน ตั้งแต่ความเชื่อมั่นในการทุ่มเงินไปกับซอฟต์แวร์พีซี อินเทอร์เน็ต เครือข่ายโทรคมนาคม ชิปประมวลผลซึ่งถือได้ว่าเป็นมันสมองของอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดบนโลกใบนี้ ตลอดจนลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่ เหล่านี้ล้วนเป็น Disruptive Technology หรือเทคโนโลยีเบื้องหลังยุคดิจิทัลที่เข้ามาพลิกวิถีชีวิตทั้งสิ้น

ปัจจุบัน SoftBank ลงทุนในบริษัทไปมากกว่า 1,300 แห่ง ช่วยให้บริษัทเล็กใหญ่เติบโตได้โดยไม่ต้องกังวลกับห่วงกับกระแสเงินสด จนเกิดวลีที่ว่า “SoftBank ได้เข้ามาแทนที่ IPO แล้ว” แน่นอนว่า มาซาโยชิ ซัน ในฐานะเจ้าของวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ที่คอยฉายแสงไปยังเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก มีบทบาทสำคัญที่ SoftBank กลายเป็นมหาอำนาจด้านการลงทุนระดับโลก โดยเฉพาะบทพิสูจน์ชั้นดี นั่นก็คือความสำเร็จของบริษัทเทคโนโลยีในปัจจุบัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ