สำรวจ 'โซเชียลมีเดีย' แพลตฟอร์มไหน อดีตเคยปัง แต่ปัจจุบันปิดตัว

Tech & Innovation

Tech Companies

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สำรวจ 'โซเชียลมีเดีย' แพลตฟอร์มไหน อดีตเคยปัง แต่ปัจจุบันปิดตัว

Date Time: 11 ก.ค. 2566 17:56 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ยุคแห่งแพลตฟอร์มน่านน้ำสีแดง ใครไม่ปรับ เตรียมตัวล้มเหลว Thairath Money พาสำรวจโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มในบ้างที่เคยเฟื่องฟูในอดีต แต่ปัจจุบันต้องปิดตัวลงเพราะความนิยมถดถอย และเหลือเพียงความทรงจำในใจผู้ใช้งาน

Latest


ปัจจุบัน 'โซเชียลมีเดีย' ได้กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทุกคนทั่วโลกต่างใช้งานจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกเหนือจากความสำคัญในการเชื่อมโยงผู้คน ทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น โซเชียลมีเดียกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสาร การทำธุรกิจ การบริโภคข้อมูล และการมอบความบันเทิงหลากหลายด้าน 

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นว่า 'ภูมิทัศน์ของโซเชียลมีเดีย' นั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้สอดรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้ใช้ บางแอปพลิเคชันฮอตฮิตติดตลาด ถูกใจผู้ใช้งาน ณ ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่ความนิยมค่อยๆ ลดลงจากการเกิดขึ้นของเจ้าใหม่ๆ ในตลาดที่ล้วนพัฒนาลูกเล่นอย่างหลากหลายและผสมผสานมากขึ้นจากในอดีต เช่น ฟีเจอร์การโพสต์รูปวิดีโอเพื่อแบ่งปันเรื่องราวของตนเอง พื้นที่การโชว์ผลงาน ไลฟ์สไตล์ งานอดิเรก ตลอดจนการช็อปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น 

Thairath Money พาสำรวจโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มในบ้างที่เคยเฟื่องฟูในอดีต แต่ปัจจุบันต้องปิดตัวลงเพราะความนิยมถดถอย และเหลือเพียงความทรงจำในใจผู้ใช้งาน

1997-2001 Six Degrees 

SixDegrees.com เปิดตัวเว็บไซต์โซเชียลมีเดียที่ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างว่าเป็น ‘โซเชียลมีเดียแรก’ โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าหน้าโปรไฟล์ สร้างรายชื่อการเชื่อมต่อ ส่งข้อความ และโพสต์เนื้อหาต่างๆ บนกระดานข่าวไปยังบุคคลที่รู้จัก ก่อตั้งโดย Andrew Weinreich มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริการาว 3.5 ล้านคน โดยใน 4 ปีต่อมา เว็บไซต์ถูกขายให้กับ YouthStream Media Networks และต้องปิดตัวลง ด้วยฐานผู้ใช้ที่จำกัด เพราะขณะนั้นอินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายโดยทั่วไป ยากต่อการรักษาการเติบโตและการมีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม Six Degrees ได้วางรากฐานสำหรับสิ่งที่จะกลายเป็นภูมิทัศน์ของโซเชียลมีเดียที่เรารู้จักในทุกวันนี้อย่าง Friendster, MySpace และ LinkedIn

1999-2014 MSN 

MSN หรือ Windows Live Messenger โดย Microsoft ที่ต้องเข้าใช้งานด้วยอีเมล Hotmail อีกหนึ่งแพลตฟอร์มแชตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก ก่อนปิดตัวลงใน 15 ปีต่อมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากบั๊กและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฟังก์ชั่นการทำงานที่จำกัด อีกทั้งการเติบโตของโซเชียลมีเดียใหม่ๆ อย่าง Facebook, Whatsapp และ Twitter โดยเฉพาะคู่แข่งหลักอย่าง QQ Messenger แพลตฟอร์มแชตจีนโดย Tencent ที่แย่งตลาดส่วนใหญ่ในจีน และอีกหนึ่งสาเหตุใหญ่คือ การเกิดขึ้นของสมาร์ทโฟนที่ทำให้ผู้คนแห่กันไปใช้โซเชียลมีเดียจากแอปฯ มากขึ้น 

2003-2005  MySpace   

ในยุคที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กยังคงเป็นนักศึกษาอยู่ที่ Harvard และ iPhone ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ MySpace ถือกำเนิดขึ้นโดยแก๊งผู้ก่อตั้ง Chris DeWolfe, Tom Anderson, Jon Hart และกลายเป็นโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก เคยมีผู้ใช้งานถึงสูงสุดถึง 76 ล้านคน ถูกยกให้เป็นจุดกำเนิดการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ และเป็นต้นแบบโซเชียลไซต์ที่ปูทางให้ Facebook ก่อนจะปิดตัวลงใน 5 ปีต่อมา 

MySpace ประสบความสำเร็จมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ใช้สามารถนำเสนอตัวตนของผู้ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถแชร์บล็อก ภาพถ่าย แชร์เพลงวิดีโอเพลง แถมปรับแต่งเขียนโค้ด HTML หน้าเว็บโปรไฟล์ของตนเองได้ เทำให้เหล่า MySpace สามารถดึงดูดเหล่าวัยรุ่นมีเทสต์ วงดนตรี ช่างภาพ และครีเอทีฟจำนวนมาก 

Myspace ถูกสั่นคลอนและสูญเสียผู้ใช้งานต่อเนื่อง หลังจาก Facebook เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนถูกขายต่อ Specific Media Group และเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มโปรโมตสำหรับวงดนตรี ก่อนปิดตัวลง เพราะการกำหนดกลุ่มผู้ใช้ที่เฉพาะกลุ่มเกินไป ซึ่งการมุ่งเน้นไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะเป็นการจำกัดผู้ใช้ในที่สุด  

2004-2017 Hi5 

อีกหนึ่งโซเชียลมีเดียฟังก์ชั่นคล้าย MySpace ที่ได้รับความนิยมจนได้รับการขนานนามเป็นอันดับสองรองจาก MySpace ก่อนจะถูกขายให้กับ Tagged ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ If(we) และถูกซื้อร่วมโดย MeetMe เว็บหาคู่ ณ ปัจจุบัน  

2011-2019 Google+ 

ความตั้งใจแข่งขันกับ Facebook ที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 7 ปี Google ต้องการมีส่วนในความคลั่งไคล้โซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น ทำให้ Google ยักษ์ใหญ่เอ็นจิ้นสร้าง Google+ โซเชียลมีเดียฟีเจอร์เหมือนกันขึ้นมาให้ผู้ใช้โพสต์ข้อความ รูปภาพ อัปเดตสถานะในชีวิตประจำวัน แต่มีจุดขายที่มากกว่าจากการผูกการใช้งานกับระบบนิเวศตนเอง เช่น การเชื่อมโยง บัญชี Gmail, Google Drive, YouTube รวมถึง Post Ads โฆษณาสำหรับธุรกิจ 

แต่กระนั้นจุดพยายามขายนี้กลับกลายเป็นสาเหตุหลักท่ีทำให้แพลตฟอร์มดูจะไปผิดทิศผิดทาง ดูซับซ้อนไปหมด ไม่เฟรนด์ลี่ต่อผู้ใช้ และไม่ตอบโจทย์ความต้องการด้านโซเชียล อีกทั้ง Google+ เผชิญปัญหาข้อผิดพลาดใน API ข้อมูลชื่อ ที่อยู่อีเมล อาชีพ อายุ และเพศของผู้ใช้ Google+ นับห้าสิบล้านคนรั่วไหลสู่ภายนอก พา Google+ ดำเนินสู่จุดต่ำสุดและต้องก้าวสู่การปิดตัวใน 8 ปีต่อมา 

2012-2016 VINE 

แพลตฟอร์มสำหรับครีเอเตอร์ ถ่ายทำตัดต่อ แชร์คอนเทนต์วิดีโอสั้น ที่ก่อตั้งโดย Dom Hofmann, Rus Yusupov และ Colin Kroll และถูกซื้อไปพัฒนาต่อโดย Twitter หนึ่งในแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยม เคยมีผู้ชมต่อเดือนสูงสุดกว่า 100 ล้านคน แต่ได้กลายเป็นโซเชียลมีเดียที่ปิดตัวเป็นรายล่าสุด หลังจากเปิดตัวเป็นเวลา 4 ปี เพราะการแข่งขันที่สูงมากในตลาดแพลตฟอร์ม ปัญหาจากบริษัทแม่ การบริหารงานภายในโดยเฉพาะขาดโมเดลสร้างรายได้และโฆษณาที่ชัดเจน อีกทั้งไม่สามารถดึงดูดคนผู้ใช้จาก YouTube และ Instagram ได้ 

ยุคแห่งแพลตฟอร์มน่านน้ำสีแดง ใครไม่ปรับ เตรียมตัวล้มเหลว

ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียกระแสหลักจากยุคบุกเบิกที่เรายังใช้ติดมือในทุกวันๆ ประกอบไปด้วย Facebook, Twitter, TikTok, Instagram, Reddit, Youtube, Linkedin, Whatspp รวมถึง Clubhouse โซเชียลมีเดียยุคโควิดที่เคยเป็นกระแสอยู่พักหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ยังสามารถรักษายอดผู้ใช้รายวันและรายเดือนได้ในอัตราสูง อีกทั้งเติมเต็มวิถีชีวิตด้านๆ ต่างแตกต่างกัน 

อย่างไรก็ตาม จากเส้นทางที่เราพาย้อนกลับไป จะเห็นว่าแพลตฟอร์มใหม่เกิดขึ้นและแทนที่ของเดิมคือเรื่องปกติ ขึ้นชื่อว่า เทคโนโลยีในเศรษฐกิจออนไลน์ความเร็วสูง เจ้าไหนไม่สามารถไปรับตัวฟีเจอร์ได้ทันใจผู้ใช้ นิ่งนอนใจไม่สนคู่แข่งรายใหม่ วางใจในโมเดลธุรกิจหารายได้ตนเองเกินไป ก็อาจต้องเตรียมตัวโบกมือลา น่าจับตาต่อไปว่า น่านน้ำสีแดงนี้ แพลตฟอร์มใดจะยังอยู่รอด และแพลตฟอร์มใดจะฝืนไม่ไหว 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

อ้างอิง The Verge The Atlantic FDCOMM 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ