Wisesight ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับสองผู้นำด้านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและ AI สำหรับธุรกิจและผู้ประกอบการ Etailligence และ ZWIZ.AI พร้อมด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมสร้างนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ ‘ธุรกิจขนาดเล็ก’ ได้ใช้งานซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มเทคโนโลยี เพื่อยกระดับธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางแพลตฟอร์มต่างชาติ
นายกล้า ตั้งสุวรรณ, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงเป้าหมายใหญ่ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัลให้กับ SMEs ไทยด้วยเทคโนโลยีของชาวไทย ในฐานะบริษัท SME และผู้ให้บริการข้อมูลเข้าใจและเห็นถึงข้อจำกัดนี้ และมองว่า ‘ข้อมูล’ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ
ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เปิดเผยถึง ความสำคัญของตลาด SMEs ไทยที่ปัจจุบันกำลังเผชิญแนวโน้มการบริโภคที่เปลี่ยนไป การแข่งขันในตลาด และผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองโดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปรับปรุงกระบวนการผลิต เปิดหน้าร้านออนไลน์และใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ในโลกออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตามธุรกิจไทยสัดส่วนใหญ่ยังปรับตัวไม่ทัน เพราะมีความไม่มั่นใจในเทคโนโลยี และยังคงมีความกังวลในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
นอกจากนี้ยังเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ตลาด SMEs ไทยมีขนาดใหญ่มากและมีความต้องการเทคโนโลยีสูง โดย SMEs ขนาดกลางประมาณ 40,000 ราย ขนาดเล็ก 400,000 ราย และรายย่อยมากถึง 2,000,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นพี่น้องภาคเกษตรกรประมาณ 8,000,000 ครัวเรือน หากนับเป็นแรงงานจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านคน ซึ่งข้อมูลจำนวนมากจากกลุ่มนี้ไม่ถูกป้อนเข้ายังระบบ
โดยเปิดเผย สถิติการใช้งานดิจิทัลในภาคธุรกิจของไทยเป็น(Digital Density Index: Digital Technology Adoption) ที่พบว่า กว่า 60% ของอุตสาหกรรมไทยยังมีกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม (Traditional) ได้แก่ ‘ภาคโรงงานการผลิต’ ที่จะเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุด สาเหตุหลักเป็นเพราะ เดิมทีอุตสาหกรรมบ้านเรามักนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งการลงทุนเพื่อเปลี่ยนเครื่องจักร หรือหันมาใช้เทคโนโลยี IOT ใหม่ๆ ในระดับโรงงานตามมาด้วยการใช้เงินทุนจำนวนมาก
ทั้งนี้ ‘ภาคการเกษตร’ และ ‘การท่องเที่ยว’ กลับพบว่ามีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนำมาใช้หลักๆ ในด้านการติดต่อสื่อสารเพื่อการซื้อการขาย และกระบวนการจัดการธุรกิจและข้อมูลลูกค้า
คุณไว นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา, ที่ปรึกษาและนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) CEO & Co-Founder Priceza แพลตฟอร์มที่ให้บริการค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา ได้เปิดเผยอินไซด์ข้อมูลการซื้อขายออนไลน์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตก้าวกระโดดของ E-commerce ไทยในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ปี 2562 และโตขึ้นเรื่อยๆ
โดย มูลค่าตลาด E-commerce ในไทยปีนี้อยู่ที่ประมาณ 9 แสนล้านบาท และมีการคาดการณ์ต่อเนื่องไปยังปี 2570 มูลค่าจะสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากส่วนแบ่งทางของ E-commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีที่ผ่านมา คือ 80% ‘ข้อมูลการจับจ่ายช็อปปิ้ง’ ของคนไทยกลับผูกอยู่กับแพลตฟอร์ม E-commerce-Marketplace ต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเรื่อง ดังกล่าวกลายเป็น ‘เมกะเทรนด์ระดับโลก’ ที่สัมพันธ์กับประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์
ด้านนายชนกานต์ ชินชัชวาล, CEO, ZWIZ.AI แพลตฟอร์มแชตบอตสำหรับธุรกิจ เปิดเผยว่า การร่วมมือในครั้งนี้ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ได้ลงทุนใน ZWIZ.AI 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 36 ล้านบาทไทย) เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยี AI ขยายตลาดสู่ SMEs ในไทย โดยบริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ ชื่อว่า ZWIZ Social Media Automation Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าทำงานบนโซเชียลมีเดียเป็นอัตโนมัติ ตั้งแต่การตอบแชต การขายและการทำการตลาด พร้อมด้วยแผนเปิดตัว ซอฟต์แวร์ 2 ตัวใหม่ ชื่อว่า ZOZ (สด) ระบบไลฟ์สดรูปแบบใหม่ และ Zerva (เซอร์ว่า) ระบบจองออนไลน์ผ่านโซเชียล รวมถึงในไตรมาส 4 ของปีนี้ที่จะมีแผนจะเปิดตัวอีก 2 ซอฟต์แวร์สำหรับ SMEs พร้อมขยายไปสู่อาเซียนในปี 2567
ทั้งนี้ การความร่วมครั้งดังกล่าวได้จัดตั้งทีม ZOCIAL EYE Trainer 11 ท่าน ที่จะนำเครื่องมือ ZOCIAL EYE มาช่วยเสริมแกร่งธุรกิจผ่านบทเรียน, คำแนะนำด้านต่างๆ เช่น การทำโฆษณาออนไลน์, การขายของและวางกลยุทธ์การตลาด, การทำคอนเทนต์, การทำรายงาน เป็นต้น