บลูบิค คว้างาน “แอปฯ ทางรัฐ” ดูแลระบบบางส่วน งบ 27.3 ล้านบาท DGA เตรียมใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บลูบิค คว้างาน “แอปฯ ทางรัฐ” ดูแลระบบบางส่วน งบ 27.3 ล้านบาท DGA เตรียมใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต

Date Time: 15 ก.ค. 2567 19:55 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • บลูบิค คว้างาน “แอปฯ ทางรัฐ” ดูแลระบบบางส่วน งบ 27.3 ล้านบาท DGA เตรียมใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต

Latest


สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ประกาศผลผู้ชนะการประกวดราคาจ้างงานจ้างบริการบุคลากร ปฏิบัติงานในการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง เพื่ออํานวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน (Government Super App) สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยผู้ที่ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ได้คะแนนรวมสูงสุด เสนอราคาเป็นเงิน ทั้งสิ้น  27.3 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ซึ่งต่ำกว่าเงินงบประมาณ 2 แสนบาท 

นอกจากนี้ยังมีประกวดราคาจ้างงานจ้างบริการ บุคลากรปฏิบัติงานในการพัฒนาระบบลงทะเบียนร้านค้า ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางโดยมีผู้เสนอราคาที่ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท เด็พธเฟิร์สท จํากัด ซึ่งเป็นผู้ได้คะแนนรวมสูงสุด เสนอราคาเป็นเงินทั้งสิ้น 4.69 ล้านบาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวง ซึ่งต่ำกว่าเงินงบประมาณ 3.1 แสนบาท 

ทางทีม Thairath Money ได้สอบถามไปยัง บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ถึงข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการชนะประมูลงานครั้งนี้ ซึ่งได้รับการยืนยันว่า ไม่ได้เข้าไปดูแลในส่วนของ Digital Wallet แต่ร่วมพัฒนาแอปฯ บางส่วน ที่เป็นเชิงเทคนิคระดับสูง และ ux/ui ของแอปฯ เท่านั้น 

สำหรับ DGA เป็นหน่วยงานที่มีเป้าหมาย ในการมีส่วนร่วมสร้างรัฐบาลที่เปิดเผยและโปร่งใส ขับเคลื่อนให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนใช้ประโยชน์ข้อมูลระหว่าง รัฐ-เอกชน-นานาชาติ เพราะการเข้าถึงข้อมูลเป็นสิทธิของภาคประชาชนรวมถึงธุรกิจ ซึ่งการแบ่งปันข้อมูลทำให้ชีวิตคนดีขึ้นได้อย่างชัดเจน และมากไปกว่านั้นคือสร้างเครือข่ายการบริการให้ครอบคลุมหน่วยงานระดับท้องถิ่น ซึ่งพัฒนา พัฒนาบริการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

Government to Citizens (G2C) 

  • แอปพลิเคชันทางรัฐ พอร์ทัลกลางเพื่อประชาชนรวมบริการภาครัฐแบบ One-stop-service 
  • Law.go.th ระบบรับฟังความเห็นด้านกฎหมาย 
  • Data.go.th ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ 
  • Digital Transcript ระบบข้อมูลการใช้จ่ายจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 

Government to Business (G2B)

  • Bizportal ระบบศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ
  • SME One ID ช่องทางขึ้นทะเบียนและยืนยันตัวตนผู้ประกอบการ
  • Me-D ศูนย์รวมผู้ประกอบการเพื่อหน่วยงานภาครัฐ

Government to Government (G2G)

  • GDX ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาครัฐ
  • Digital Government Platform ระบบท้องถิ่นดิจิทัลสำหรับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  • Digital ID ระบบยืนยันตัวตนในภาครัฐ
  • Digital Government Standard มาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ แนวทางปฏิบัติด้านดิจิทัลจำนวน 29 ฉบับ
  • Innovation นวัตกรรมภาครัฐ เช่น ทันใจแชตบอต ระบบลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์บนบล็อกเชน
  • GIN เครือข่ายสารสนเทศกลางเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ
    workD ระบบสื่อสารแบบรวมศูนย์
  • e-Saraban ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
  • TDGA สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล พัฒนาหลักสูตรกลางยกระดับทักษะบุคลากรภาครัฐร่วมกับเครือข่ายการศึกษาและบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก 

บลูบิค ออกจดหมายแจงกรณีแอปฯ ทางรัฐ ไม่ได้เป็นผู้พัฒนาในส่วน Digital Wallet

ต่อมาในวันที่  16 กรกฎาคม บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดข้อมูลเพิ่มเติมอย่างเป็นทางการ โดยชี้แจงว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน (Government Super App) หรือแอปพลิเคชันทางรัฐ เป็นแพลตฟอร์มที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เป็นผู้พัฒนาหลัก โดยมีการว่าจ้างบลูบิคเพื่อส่งบุคลากรเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนระบบการลงทะเบียนซึ่งมีความซับซ้อนทางเทคนิค ให้สามารถทำงานรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลให้เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งทางบลูบิคมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับสูงเฉพาะทางในการพัฒนาระบบที่มีลักษณะดังกล่าว โดยในส่วนงานพัฒนาอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากระบบลงทะเบียน เช่น Digital Wallet และระบบงานบริการต่าง ๆ ของภาครัฐ ไม่ได้อยู่ในขอบเขตการทำงานของโครงการนี้

แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยบุคลากรของทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเป็นผู้พัฒนา และเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาบลูบิคไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนี้ แต่เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้จำเป็นต้องมีการขยายผลต่อยอดเพื่อรองรับบริการต่าง ๆ ของภาครัฐเพิ่มขึ้น และกำลังทรัพยากรของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องมีการว่าจ้างบุคลากรภายนอกเข้ามาช่วยในการพัฒนาเพิ่มเติม โดยในส่วนงานที่บลูบิคจะเข้าไปช่วยสนับสนุน เป็นส่วนของการพัฒนาระบบลงทะเบียนที่สามารถรองรับผู้ใช้งานอย่างน้อย 50 ล้านราย การปรับปรุงการออกแบบหน้าจอ (UX/UI) และการตั้งค่าบริการคลาวด์ ซึ่งส่วนงานเหล่านี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง โดยทางบลูบิคมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่เคยพัฒนาระบบขนาดใหญ่ อาทิ โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking) ระบบซื้อขายหลักทรัพย์และสินทรัพย์ดิจิทัล ระบบลงทะเบียนขนาดใหญ่ และระบบ Super Application เป็นต้น




ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์