ระวังให้ดี! มิจฉาชีพในคราบ HR หลอกสมัครงานพุ่ง ใช้ AI เป็นเครื่องมือขโมยข้อมูลส่วนตัว

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ระวังให้ดี! มิจฉาชีพในคราบ HR หลอกสมัครงานพุ่ง ใช้ AI เป็นเครื่องมือขโมยข้อมูลส่วนตัว

Date Time: 8 ก.ค. 2567 15:08 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • ยอดสแกมเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดคือ "การหลอกลวงผ่านการรับสมัครงาน" ที่มียอดเพิ่มขึ้นมากถึง 118% ในปี 2023 โดยหนึ่งในกลยุทธ์ของสแกมเมอร์เหล่านี้คือการนำเอา AI มาเป็นเครื่องมือสร้างข้อความหรือโพสต์เพื่อล่อให้ผู้ที่กำลังหางานมาติดกับ และหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว บ้างก็ถูกหลอกดูดเงินไปจำนวนมหาศาล

Latest


ยอดสแกมหลอกสมัครงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดปี 2023 จากข้อมูลของ ITRC พบว่า ยอดเพิ่มขึ้นกว่า 118% จากปีก่อนหน้า โดยมีรายงานว่า มีการใช้งาน AI เข้ามาช่วยเจาะขโมยข้อมูลส่วนตัวและเงินจำนวนมหาศาลจากกลุ่มผู้ที่กำลังหางาน

ซึ่งสแกมเมอร์ส่วนใหญ่จะหลอกลวงผ่านการโพสต์ “รับสมัครงาน” ผ่านแพลตฟอร์มอย่างเช่น LinkedIn และแพลตฟอร์มหางานอื่นๆ เพื่อล่อให้เหล่าผู้ที่กำลังหางานเข้ามาสมัคร และจะหลอกเอาข้อมูลจากขั้นตอนสัมภาษณ์งานต่อ

จากรายงานของ FTC พบว่า ในปี 2022 มียอดมูลค่าความเสียหายกว่า 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท จากการหลอกลวงเกี่ยวกับการสมัครงานและธุรกิจ 

อย่างไรก็ตาม ยอดการหลอกลวงผ่านการรับสมัครงานยังนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ที่ 9% ของสแกมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2023 โดยอันดับที่หนึ่งที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือหลอกลวงมากที่สุดคือ Google Voice มีสัดส่วนที่ 60%

AI ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลอกลวงชั้นดี


ความก้าวหน้าของ AI เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลุ่มสแกมเมอร์นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหลอกเอาข้อมูลจากผู้ที่กำลังหางาน โดยใช้เพื่อสร้างรายละเอียดงานหรือสร้างโพสต์ที่ดูเป็นธรรมชาติและน่าเชื่อถือ

ITRC รายงานว่า “AI จะถูกใช้เพื่อออกแบบข้อความที่ดูเป็นธรรมชาติ ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และยังใช้ได้ในหลายภาษาอีกด้วย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ทำงานแบบ Remote Work หรือผู้ที่ทำงานทางไกล ทำงานออนไลน์ หรือทำงานจากที่ใดก็ได้ ได้กลายเป็นเป้าหมายหลักของสแกมเมอร์กลุ่มนี้

โดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะไม่ได้เห็นหน้า หรือพบเจอกับผู้รับสมัครงานแบบซึ่งหน้าในระหว่างขั้นตอนการรับสมัครเลย จะมีการติดต่อผ่านข้อความ (Text) เพียงอย่างเดียว 

โดยกลุ่มสแกมเมอร์จะมีการหลอกล่อเรียกเก็บเงินในระหว่างดำเนินการสมัครงาน โดยอาจจะมีการส่งใบเรียกเก็บเงินสำหรับจ่ายล่วงหน้าเพื่อจองอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ และทำข้อตกลงว่าจะคืนเงินให้หลังจากขั้นตอนการสมัครงานสำเร็จ เป็นต้น

นอกจากนี้ สแกมเมอร์ส่วนใหญ่จะมีการหลอกขอข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร อย่างเช่น ข้อมูลใบขับขี่ หรือข้อมูลธนาคาร โดยอ้างว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนการสมัคร

ซึ่ง FTC ได้มีการเน้นย้ำว่า ให้ลองศึกษารายละเอียดของงานให้ดีเสียก่อน แม้ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มหางานที่น่าเชื่อถือก็ตาม และจะต้องไม่หลงเชื่อหรือจ่ายเงินให้กับผู้ใดทั้งสิ้นในระหว่างขั้นตอนการสมัครงาน


อ้างอิง: CNBC

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์