รัฐบาลจะก้าวทันเทคโนโลยีได้อย่างไรบ้าง? ส่อง GovTech เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐ น่าจับตาปี 67

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รัฐบาลจะก้าวทันเทคโนโลยีได้อย่างไรบ้าง? ส่อง GovTech เทคโนโลยีเพื่อภาครัฐ น่าจับตาปี 67

Date Time: 17 พ.ค. 2567 12:27 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • ความจำเป็นที่ภาครัฐฯ ต้องพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยีและหาวิธีการใหม่ ๆ Gartner ชวนรู้จัก GovTech ที่สำคัญและน่าจับตามองปี 2567

ความวุ่นวายทั่วโลกทวีความรุนแรง โดยเฉพาะภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดต่อเนื่อง อีกทั้งการนำ AI มาใช้งานกำลังเพิ่มความกดดันให้ภาครัฐฯ ที่ต้องหาแนวทางตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนที่ต้องการบริการที่มีความรวดเร็วและสร้างสรรค์กว่าเดิม นำไปสู่ความจำเป็นที่ภาครัฐฯ ต้องพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยี หาวิธีการใหม่ๆ ที่สอดรับกับความต้องการดังกล่าวด้วยบริการที่ทันสมัย เข้าถึงง่ายและยืดหยุ่น โดยเน้นไปที่เทคโนโลยีที่ยั่งยืนและปรับขนาดได้ 

Gartner ชวนรู้จัก 'GovTech' (Goverment Technology) หรือเทคโนโลยีที่จะช่วยเสริมมการทำงานของภาครัฐ ลดความซับซ้อนของกระบวนการทำงานให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำเสนอบริการแก่ประชาชนได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังช่วยให้หน่วยงานรัฐส่งมอบและขยายขีดความสามารถของภารกิจได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย นำไปสู่เป้าหมายรัฐบาลดิจิทัลที่พร้อมสำหรับอนาคต    


Digital Platform Agility การปรับใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล


โซลูชันบนแพลตฟอร์ม เช่น เทคโนโลยีคลาวด์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม หรือ Industry Cloud และแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันแบบ Low-Code จะแพร่หลายในหน่วยงานรัฐมากขึ้น โซลูชันแพลตฟอร์มบนคลาวด์จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและกระบวนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในองค์กรภาครัฐ 

ความสามารถของ Cloud-Native ในโซลูชันแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยควบคุมต้นทุนและใช้เวลาในการดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น ลดความซับซ้อนในการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น พร้อมจัดการความเสี่ยงในการให้บริการที่เกิดจากระบบที่ล้าสมัย และสามารถปรับขนาดตามความต้องการสำหรับบริการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น 


AI for Decision Intelligence การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล


ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐที่มีพื้นฐานในเรื่องดิจิทัลทรานฟอร์เมชันและการประมวลผลด้วยข้อมูลมาประมาณหนึ่ง ถูกกระตุ้นให้ปรับตัวอีกครั้งในช่วงสองปีล่าสุดหลังจากการเปิดตัว Generative AI ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

ทั้งนี้มีคาดการณ์ว่าในอีกสองปีข้างหน้านี้ เทคโนโลยี Machine learning, Analytics และ Generative AI จะเติบโตก้าวกระโดด และทำงานผสานรวมกันเป็นชุดเครื่องมือสนับสนุนการให้บริการของภาครัฐที่ดียิ่งขึ้น และภายในปี 2569 หน่วยงานภาครัฐมากกว่า 70% จะใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจด้านการบริหารงานของมนุษย์ และภาครัฐฯ สามารถขับเคลื่อนนโยบายการนำ AI มาใช้และกำหนดขอบเขตการกำกับดูแล AI ทั่วทั้งองค์กร โดยจะต้องพัฒนากลยุทธ์ที่รวมเอานโยบายเหล่านี้และให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ จากนั้นใช้แนวทาง Assurance Approach อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าหลังการนำ AI มาใช้แล้วนโยบายเหล่านี้จะได้รับการปรับปรุง


Programmatic Data Management โปรแกรมจัดการข้อมูลที่เป็นระบบ


ต่อเนื่องจาก AI หน่วยงานรัฐหลายแห่งตื่นตัวเรื่องการใช้สินทรัพย์ข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้ ที่กำลังได้รับการพัฒนาโดยแพลตฟอร์มอัตโนมัติและรวมความสามารถของ AI ไว้ ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่จะยังคงเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการวางแผนในรัฐบาล

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 ภาครัฐฯ มากกว่า 60% จะให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนากระบวนการทางธุรกิจแบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2565

โดย Programmatic Data Management เป็นแนวทางที่เป็นระบบและมีความสามารถในการปรับขนาด การเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของข้อมูลวงกว้าง ผ่านการปรับปรุงกฎระเบียบและโครงสร้างต่างๆ ที่ควบคุมข้อมูลอยู่ 

 

Multiagent AI รับมือสถานการณ์หลายประเภท 

AI จะเข้ามาสร้างการปรับเปลี่ยนและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขึ้นใหม่ นำเสนอระบบความปลอดภัยที่มีความยืดหยุ่น (Adaptive Security) ที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน สร้างระบบการทำงานที่ผสานพร้อมปรับเปลี่ยนเครื่องมือ เทคนิค รวมถึงกำหนดผู้มีทักษะความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เหมาะสมกับภูมิทัศน์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้ Multiagent AI หรือระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขั้นสูงที่สามารถเข้าใจและทำงานกับข้อมูลหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ไม่ได้นำมาแทนที่พนักงานที่เป็นมนุษย์ แต่จะถูกนำมาใช้เพื่อตรวจจับและรับมือต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามตามสถานการณ์ โดยมีการคาดการณ์ว่าอัตราการปรับใช้ Multiagent AI จะเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 70% ในปี 2571 

Digital Identity Ecosystems การระบุและยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่เป็นระบบ


เมื่อกล่าวถึง Digital Identity หรือการระบุและยืนยันอัตลักษณ์ประชากรด้วยระบบดิจิทัลที่ดำเนินการโดยภาครัฐ จะเห็นว่าปัจจุบันมีการดำเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ค่อยๆ ขยายความครอบคลุมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้ การระบุตัวตนของพลเมืองหรือองค์กร และการตรวจสอบข้อมูลรับรอง หรือ Credential Verification เช่น การยืนยันตัวตนบนแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) 

ทั้งนี้ภาครัฐฯ สามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การระบุอัตลักษณ์ดิจิทัลได้โดยการสร้างยูสเคสและเพิ่มความร่วมมือที่แยกอิสระจากภาคส่วนดั้งเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่ายิ่งขึ้นให้กับประชาชน รัฐบาล และธุรกิจ อีกทั้งสามารถกำหนดรูปแบบระบบนิเวศใหม่เหล่านี้ขึ้นได้ด้วยการตอกย้ำบทบาทของรัฐฯ ที่เป็นผู้เชื่อมโยง ผู้อำนวยความสะดวก และผู้กำกับดูแลอัตลักษณ์ดิจิทัลที่มีศักยภาพ

นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อย 500 ล้านรายจะใช้สิทธิ์ยืนยันตัวตนเป็นประจำผ่านการใช้กระเป๋าเงินระบุตัวตนดิจิทัลที่สร้างขึ้นจาก Distributed Ledger Technology หรือเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการต่อยอดไปสู่ระบบ Blockchain  

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ