รู้จัก Open Banking เทรนด์ภาคการเงินมาแรงในอาเซียน คนไทยจะได้อะไรจาก ‘ขุมทรัพย์ข้อมูล’ ของธนาคาร

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รู้จัก Open Banking เทรนด์ภาคการเงินมาแรงในอาเซียน คนไทยจะได้อะไรจาก ‘ขุมทรัพย์ข้อมูล’ ของธนาคาร

Date Time: 25 เม.ย. 2567 16:30 น.

Video

บรรยง พงษ์พานิช แกะปมเศรษฐกิจไทยโตต่ำ ฟื้นช้า พร้อมแนะทางออก

Summary

  • Open Banking ช่วยสร้างคุณค่าบริการทางการเงิน นำมาซึ่งโอกาสในการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่และช่องทางขยายตลาดสู่ระดับภูมิภาค Appsynth และ Brankas เผย สถาบันการเงินในอาเซียนปรับตัวสูง เปิดรับโมเดลใหม่ๆ ต่อยอดการให้บริการ

Appsynth บริษัทที่ปรึกษาด้านดิจิทัลชั้นนำที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลแก่องค์กรชั้นนำในไทย เช่น เซเว่น อีเลฟเว่นไลน์แมน และทรูไอดี และสถาบันการเงินอย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย และ ทีเอ็มบีธนชาต จับมือ Brankas ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินระบบเปิดสำหรับธนาคารชั้นนำของโลก จัดทำและเผยแพร่ “The State of Open Banking in Southeast Asia” รายงานทิศทางธุรกิจของภาคธนาคารและสถาบันการเงิน สถานการณ์พัฒนาการของระบบ Open Banking ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งใน Core Finance Technology  ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในงาน Money 20/20 Asia ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย 

ทั้งนี้ Open Banking คือ กลไกที่ทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลทางการเงินระหว่างสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการบุคคลที่สาม (third-party) ผ่าน API (Application Programming Interface) ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เช่น บริษัทสตาร์ทอัพฟินเทค บริษัทโทรคมนาคม และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ปูทางไปสู่โมเดลธุรกิจและแหล่งรายได้ใหม่ๆ 

ธนาคารต่อยอด ‘ขุมทรัพย์ข้อมูล’ สู่โอกาส 


Open Banking ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรม และทางเลือกของผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้เพิ่มมากขึ้น 

การที่ธนาคารสามารถนำข้อมูล (ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลแล้ว) ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้นั้นจะทำให้สามารถยกระดับบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนและโซลูชันการชำระเงิน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะสามารถฝังบริการทางการเงินไว้ในแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของธนาคารกระจายสู่ผู้ใช้งานจำนวนมากขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านโซลูชันรูปแบบใหม่ เช่น การให้ Credit-Scoring ในการขอสินเชื่อ

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบการทำงานของ Open Banking จะนำไปสู่บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือช่วยบริหารการเงินส่วนบุคคล Open API สำหรับนักพัฒนาระบบ และบริการเสริมอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้น เช่น การชำระเงินในแอป บัญชีออมทรัพย์รายย่อย (microsavings) บริการโอนเงิน บริการเครดิตสกอริ่ง (คะแนนเครดิต) และประกันสำหรับรายย่อย (microinsurance) และยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง

Open Banking สร้างการเงินที่ทุกคนเข้าถึงได้  


ข้อมูลในรายงานพบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 70% ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินทั้งบริการของสถาบันการเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน Open Banking จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน ผ่านการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น มีบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานให้บริการในราคาที่ย่อมเยา 

โดยในรานงานยังพบว่า สถาบันการเงินในภูมิภาคนี้มีการยอมรับและเห็นถึงข้อดีของ Open Banking ที่จะช่วยยกระดับบริการให้ทัดเทียมกับฟินเทคสตาร์ทอัพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งการนำหลักการของ Open Banking มาผนวกเข้ากับพันธมิตรฟินเทค จะช่วยให้บริการทางการเงินเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น และในขณะเดียวกันช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ 

หลายๆ องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ด้วยหลักการ Open Banking ออกสู่มือผู้บริโภคแล้ว ซึ่งหากมองในภาพกว้างยังถือเป็นเพียงระยะเริ่มต้นเท่านั้น เวลานี้จึงเหมาะสมเป็นอย่างมากที่ผู้ให้บริการทางการเงินรูปแบบเดิมในตลาด จะเข้ามาช่วงชิงโอกาสในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ให้ทัดเทียมกับฟินเทคใหม่ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์สิ่งที่ผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวัง

ทั้งนี้การจะผลักดันบริการเหล่านี้สู่มือผู้ใช้งานวงกว้างจะต้องอาศัยแพลตฟอร์มผู้บริโภค (consumer platform) เป็นตัวช่วย ดังนั้น การเปิดรับโมเดลใหม่ๆ ของสถาบันการเงินจะมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่จะพัฒนาออกมาในอนาคต

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ