ผลสำรวจ ชี้ คนไทยตระหนัก 'ความเป็นส่วนตัว' และ 'ความปลอดภัย' ของข้อมูล ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคนในเอเชีย

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผลสำรวจ ชี้ คนไทยตระหนัก 'ความเป็นส่วนตัว' และ 'ความปลอดภัย' ของข้อมูล ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคนในเอเชีย

Date Time: 30 ม.ค. 2567 15:41 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • ผลสำรวจพบคนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชีย มนตรี สถาพรกุล Head of Data Protection บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) แนะผู้บริโภคควรตั้งข้อสงสัยกับการเข้าถึงข้อมูล ขณะที่ฝั่งธุรกิจต้องใช้ข้อมูลให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน

ผลสำรวจ Telenor Asia Digital Lives Decoded 2566 พบคนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูล ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนในเอเชีย โดยมีเพียง 17% ที่ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

มนตรี สถาพรกุล Head of Data Protection บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงพัฒนาการแนวคิดความเป็นส่วนตัว ความท้าทายองค์กรเอกชนต่อการจัดการภายใน และสิ่งที่ผู้บริโภคควรตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวในยุคปัญญาประดิษฐ์ 

เพื่อเป็นการส่งเสริม และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการเคารพความเป็นส่วนตัว ปกป้องคุ้มครองข้อมูล เนื่องในวัน Data Privacy Day หรือวันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งตรงกับวันที่ 28 มกราคมของทุกปี

มนตรี ระบุย้อนกลับไปถึงองประกอบพื้นฐานเรื่องการสื่อสารซึ่งหากผู้รับสารต้องการนำชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นใดควรจะมีการขอ “ความยินยอม” (Consent) กับผู้ส่งสารซึ่งเป็นสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Subject) ตามแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน โดยการขอความยินยอมถือเป็นกลไกหนึ่งที่ผู้รับสารแสดงถึง “ความเคารพ” ในสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ของเจ้าของข้อมูล

ซึ่งแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนถือเป็นกรอบความคิดหลักที่นำมาพัฒนาต่อยอดจนเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยกำกับผ่านกฎหมายที่ดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหภาพยุโรปในปี 2563 ที่เรียกว่า General Data Protection Regulation (GDPR) และต่อมาไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA 

ถือเป็นการ “คืนสิทธิ” ความเป็นส่วนตัวอันชอบธรรมแก่ผู้บริโภค ผ่านการกำกับหน่วยงานห้างร้านที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ขณะที่ความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคลมีกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์คุ้มครองอยู่แล้ว

ความเสี่ยงของข้อมูลดิจิทัล

มนตรี อธิบายเพิ่มเติมถึงความแข็งแกร่งของข้อมูลว่าหลังโลกเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ผู้คนต่างพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมทางการเงิน ค้นหาข้อมูล ดูคลิปวิดีโอผ่านโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีรูปแบบที่หลากหลายและลึกขึ้น พร้อมสามารถระบุตัวตน พฤติกรรม และความสนใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทาง “บวกและลบ” ได้

ผู้รับบริการอาจได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษและโปรโมชันด้านการตลาดในรูปแบบ Contextual Marketing แต่ขณะเดียวกันก็ได้สร้างความกังวลในสิทธิความเป็นส่วนตัว

“การได้รับประโยชน์ทางการตลาดถือเป็นสิ่งที่ดีที่ผู้ให้บริการสามารถมอบให้กับลูกค้าได้ แต่นั่นต้องอยู่บนพื้นฐานและหลักการสิทธิมนุษยชน และความโปร่งใสผ่านกลไกความยินยอม โดยไม่ทึกทักหรือคิดเองว่าสิ่งนั้นคือประโยชน์ที่ลูกค้าต้องการ” มนตรีกล่าว

นอกจากนี้ยังได้ระบุว่าการรักษาสมดุลระหว่างสิทธิผู้บริโภค และผลประโยชน์ทางธุรกิจอาจเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนหลัก “ความโปร่งใส” และหลัก “ความจำเป็นและการได้สัดส่วน” (Principle of Necessity and Proportionality) ภายใต้เงื่อนไขความเป็นไปได้ทางธุรกิจ 

พร้อมกล่าวว่า “มันอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย และยุ่งยากสำหรับธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย แต่การรักษาไว้ซึ่งหลักการสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

ขณะที่ของฝั่งผู้บริโภคเองมนตรีแนะนำว่า อย่าหลงเชื่อผลลัพธ์ที่ได้เสียทีเดียว และควรตั้งข้อสงสัยต่อการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านั้นว่าเป็นตามหลักที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพื่อ “รักษา” สิทธิความเป็นส่วนตัวของตัวเอง.

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ