แม้ปัจจุบันเราจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการตลาดดิจิทัลที่ขึ้นชื่อว่าเข้าสู่ยุค Marketing 6.0 แล้วนั้น หลายองค์กรธุรกิจยังต้องปรับตัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับพฤติกรรมการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลต่อเนื่องไปยังการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการเลือกเทคโนโลยี MarTech ที่เหมาะสมก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสความสำเร็จสูงตามไปด้วย
การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละแบรนด์และแต่ละอุตสาหกรรม หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ดังนี้
นอกจากนี้ นายณัฐพล จิตงามพงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายดาต้าเทคโนโลยี บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า การเก็บข้อมูลในทุก touchpoints ทั้ง online และ offline โดยเก็บไว้ใน CDP (Customer Data Platform) เพื่อทำความรู้จักกับผู้บริโภคแต่ละคนในเชิงลึก จะปลดล็อกวิธีการทำการตลาดแบบใหม่โดยการใช้ Data และ MarTech เพื่อได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
ทั้งนี้หลายองค์กรยังมีอุปสรรคในเรื่องการทรานส์ฟอร์มทางการตลาด โดย นายธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายดีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ทำงานของ YDM ร่วมกับแบรนด์ องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดคือ “คนในองค์กร” โดยเฉพาะในระดับผู้บริหาร โดยส่วนมากจะติดกับดักวิธีการคิดและการทำงานแบบเดิมๆ ทำให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ยาก โดยมีมุมมองว่า “คน กระบวนการ และเทคโนโลยี คือ 3 องค์ประกอบหลักที่จะเป็นรากฐานให้ที่ทำให้การทรานส์ฟอร์มทางการตลาดประสบความสำเร็จ”
โดยนายพล วรรณชนะ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้ง STEPS Academy บริษัทที่ปรึกษาและให้ความรู้อบรมทางด้าน Digital & Data Marketing แนะนำว่า แบรนด์ควรให้ความสำคัญ ถึงการวิเคราะห์แบรนด์ของตน เพื่อสร้างจุดแข็งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ผ่าน 6 ขั้นตอน ได้แก่
โดยทุกขั้นตอนต้องใช้ “คน” เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้น Team up จึงเป็นกุญแจที่สำคัญมาก โดยจำเป็นต้องสร้างทีมทั้งภายในและภายนอก แบรนด์ต้องประเมินความพร้อมขององค์กร สำหรับองค์กรที่ยังไม่พร้อม ต้องเริ่มจากการปรับความคิดของคน เร่งสร้างความพร้อมขององค์กร หรืออาจจะดึง Outsource เข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์เมชันการตลาด และแบรนด์ควรจัดอบรมสร้างความพร้อมให้บุคลากร หรือจ้างบุคลากรเพิ่ม
ปัจจุบันการองค์กรในไทย เลือกใช้ Outsource หรือใช้ที่ปรึกษาเฉพาะด้าน เป็นแนวทางในการทำมาร์เก็ตติ้ง ทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากสามารถกำหนดระยะเวลาได้ตามแผนและเป้าหมายขององค์กร พร้อมยังสามารถลดค่าเสียเวลาในการเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือสกิลใหม่ๆ ที่องค์กรขาด
โดยผู้เชี่ยวชาญจะสามารถตอบโจทย์ได้มากกว่า เร็วกว่า พร้อมมีข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยซัพพอร์ตเติมเต็มช่องโหว่ที่องค์กรยังขาดได้ ซึ่งต่างกับการใช้ทีมภายในที่ขาดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ที่อาจต้องใช้เวลาลองผิด ลองถูก ซึ่งทำให้กระทบกับงานที่อยู่ในองค์กร อาจไม่คุ้มค่า และเสียโอกาสในภาวะการแข่งขันตลาดที่ดุเดือดในปัจจุบัน