กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือ Huawei ดันไทยเป็นศูนย์กลางด้าน AI แห่งภูมิภาคอาเซียน

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือ Huawei ดันไทยเป็นศูนย์กลางด้าน AI แห่งภูมิภาคอาเซียน

Date Time: 18 ธ.ค. 2566 17:37 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Huawei Technologies จัดงานประชุม “Huawei Cloud AI Summit Thailand 2023” ในประเทศไทย พูดคุยถึงการพัฒนา และผลักดันพันธกิจเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เพื่อประเทศไทย พร้อมลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อการพัฒนาทางดิจิทัลระหว่างหัวเว่ย คลาวด์ และกระทรวงดิจิทัลฯ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์และ AI ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน AI ของภูมิภาค ผ่านการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศผลักดันให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน” โดย หัวเว่ย คลาวด์ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ ผ่านพันธกิจ “ในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย” (In Thailand, for Thailand)    

“ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล หัวเว่ย คลาวด์ จึงยังคงมุ่งลงทุนในการสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์ และเสริมประสิทธิภาพในประเทศ โดยหัวเว่ย คลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านดิจิทัลของไทยผ่านเทคโนโลยี AI ซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้งาน AI อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ พร้อมสร้างประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนไทย และส่งเสริมความก้าวหน้าทางดิจิทัลของประเทศ”

ภายในงานประชุมดังกล่าว หัวเว่ย คลาวด์ ยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรจีน และไทย พร้อมให้ข้อมูลในเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมระดับโลก และภูมิภาค ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันที่ทันสมัย พร้อมเป็นพันธมิตรที่เหมาะสมสำหรับองค์กรไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลก และองค์กรจีนที่ต้องการเข้าสู่ตลาดไทย 

ในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ได้นำเสนอโซลูชัน และโมเดล AI สำหรับประเทศไทย ซึ่งรวมถึงโมเดลสำหรับภาษาไทย ที่จะกำจัดอุปสรรคในการเข้าถึงโมเดลพื้นฐาน และเปลี่ยนจากผู้ใช้ AI เป็นผู้สร้าง AI ได้ ผ่านการฝึกฝนด้วยคลังข้อมูลของ AI ในภาษาไทย ผสานความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมของหัวเว่ยที่สะสมมากว่าสามทศวรรษ ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการเรียนรู้ข้อมูลภาษาไทยจำนวนมาก

นอกจากนี้ในด้านอุตุนิยมวิทยา หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย พัฒนาโมเดลพยากรณ์อากาศ ผานกู่ (Pangu) สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการท่องเที่ยวของไทยในเชิงลึกยิ่งขึ้น โมเดลนี้เหนือกว่าการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข (numerical weather prediction - NWP) ที่ได้รับการพัฒนาล่าสุด

สำหรับภาครัฐ หัวเว่ย คลาวด์ นำเสนอความอัจฉริยะในกระบวนการทำงานของรัฐบาลและภาคการปกครองเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การรับรู้ ความเข้าใจไปจนถึงการจัดการและการตัดสินใจ คำร้องขอของประชาชนจะได้รับการมอบหมายโดยอัตโนมัติและจัดการได้ตลอดเวลา ทำให้รัฐบาลให้บริการที่มีคุณภาพสูงโดยไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนบุคลากร

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งขับเคลื่อนนโยบาย คลาวด์-เฟิร์ส (Cloud-First policy) ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตรูปแบบใหม่ของไทย ซึ่งคลาวด์และ AI จะเป็นอนาคตของประเทศไทย 

“ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชนอย่างหัวเว่ยนี้ จะช่วยส่งเสริมประเทศไทยสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยี AI ของภูมิภาค กระทรวงดิจิทัลมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลังในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ และการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของคนไทย”  

โดยในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ กระทรวงดิจิทัลฯ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคม AI องค์กรธุรกิจและพันธมิตรได้ร่วมกันเปิดตัว Cloud & AI Community Thailand เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้วยเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างบทบาทของประเทศไทยสู่ AI ระดับโลก.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ