ผลสำรวจเผย ปีนี้องค์กรใหญ่ในไทยทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทุ่มลงทุน Data Analytics มากสุด น้อยสุดคือ AR/VR

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ผลสำรวจเผย ปีนี้องค์กรใหญ่ในไทยทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ทุ่มลงทุน Data Analytics มากสุด น้อยสุดคือ AR/VR

Date Time: 2 พ.ย. 2566 18:49 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • ดีลอยท์ ประเทศไทย รายงานผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ของประเทศไทยประจำปี 2023 พบการใช้เทคโนโลยีในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง Data Analytics ถือเป็นเทคโนโลยีมาแรงสำหรับองค์กรในทุกขนาด

ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของประเทศไทยประจำปี 2023 โดยสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารเกี่ยวกับ Digital Transformation พบว่าในปี 2023 มีการใช้เทคโนโลยีในองค์กรเพิ่มมากขึ้น

เมื่อแบ่งตามขนาดองค์กรจะพบว่าในปีนี้องค์กรขนาดใหญ่ได้ลงทุนหรือมีแผนลงทุนในเทคโนโลยี Data Analytics, Cloud และ Mobile Application มากที่สุดอยู่ที่ 74% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีการลงทุนราว 58%, 62% และ 50% ตามลำดับ 

โดยการลงทุนเทคโนโลยีของบริษัทขนาดกลาง 3 อันดับแรก ได้แก่ Data Analytics (60%), Cloud (60%) และ Traditional Web Technology (40%) และบริษัทขนาดเล็กมีการลงทุนในเทคโนโลยี Data Analytics (67%) Mobile Application (50%) และ Traditional Web Technology (50%) มากที่สุดเป็นสามลำดับแรก โดยจะเห็นได้ว่าในปีนี้ Data Analytics ถือเป็นเทคโนโลยีมาแรงสำหรับองค์กรในทุกขนาด 

ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรทั้งเรื่องกำลังคนและเรื่องเงินจึงเน้นลงทุนไปที่เทคโนโลยีพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Traditional Web Technology และ Mobile Application ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่จะสามารถลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงได้ครอบคลุมและหลากหลายกว่า

นอกจากนี้ทางดีลอยท์มองว่าเทคโนโลยีอีกตัวที่น่าสนใจในปีนี้คือ Robotics (Software Process Automation: RPA) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการจัดการงานอย่างการแยกข้อมูล การกรอกแบบฟอร์ม การย้ายไฟล์ แทนการใช้มนุษย์ โดยมีการใช้งานมากยิ่งขึ้นในองค์กรขนาดเล็กซึ่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 17% 

ในส่วนของเทคโนโลยีที่มีการลงทุนน้อยที่สุดสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ คือ เทคโนโลยี AR หรือ VR ที่ 6% ขณะที่บริษัทขนาดกลางที่ตอบแบบสอบถามลงทุนในบล็อกเชน 0% และบริษัทขนาดเล็กลงทุนในเทคโนโลยี Internet of Things (IoT), AI และ AR VR ที่ 0% เช่นกัน แต่กลับลงทุนในบล็อกเชนเพิ่มขึ้น 33% จากปีที่แล้วที่ 0%

หลายองค์กรมีประสบการณ์ ทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้สำเร็จเพิ่มขึ้น

สำหรับผลของการทำ Digital Transformation ของแต่ละบริษัทในปีนี้ออกมาในทิศทางที่ดีเมื่อเทียบกับสองปีก่อนหน้าซึ่งผลลัพธ์ของการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลไม่เป็นผลสำเร็จการดำเนินธุรกิจเนื่องจากยังขาดประสบการณ์และความเร็วในการบูรณาการเทคโนโลยี

แต่ผลการสำรวจของปีนี้แสดงให้เห็นว่าหลายบริษัทมีอัตราความสำเร็จที่เพิ่มมากขึ้นโดย 61% ของผู้บริหารในไทยระบุว่า การทำ Digital Transformation ในองค์กรประสบความสำเร็จในการปรับปรุงการทำงานและมีผลในระยะยาว ซึ่งเพิ่มขึ้น 239.7% จากปีก่อนหน้าที่ 17.9% และปี 2021 ที่มีอัตราสำเร็จอย่างยั่งยืนเพียง 13% ส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในช่วงโควิดที่ส่งผลให้ผู้บริหารมีประสบการณ์มากขึ้นในปัจจุบันและเลือกเทคโนโลยีและวิธีใช้ที่เหมาะสมกับองค์กร

และประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ 

  1. ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (77%) 
  2. สร้างประสบการณ์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น (67%) 
  3. ลดความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (61%)

ทักษะความรู้ที่ไม่เพียงพอ ความท้าทายหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

อย่างไรก็ตามความท้าทายหลักในการทำ Digital Transformation สามอันดับแรกคือ 1. การขาดความเชี่ยวชาญทั้งในและนอกองค์กร 2. งบประมาณและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และ 3. วัฒนธรรมดิจิทัลในองค์กร ซึ่งเป็นประเด็นความท้าทายในอันดับต้นๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะการขาดผู้มีทักษะซึ่งเป็นความท้าทายอันดับแรกมาตลอดระยะเวลา 3 ปี

ซึ่งองค์กรต้องคำนึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทางดีลอยท์ระบุว่า Digital Culture ขององค์กรไม่ใช่แค่การทำงานให้เป็นดิจิทัล แต่เป็นการเปลี่ยนการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับความคิดของคนในองค์กรถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้มากขึ้น


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์