ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเราอยู่ใน ‘ยุคดิจิทัล’ เต็มรูปแบบ กิจวัตรประจำวันของเราอยู่บนโลกออนไลน์ถูกยกระดับ และผูกโยงกับเทคโนโลยี เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยี่สิบสี่ชั่วโมง เกิดวัฎจักรการบริโภค ‘ข้อมูล’ จำนวนมหาศาล ความต้องการการใช้งานข้อมูลดิจิทัลของไทยก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Data Center แปลง่าย ๆ ว่า ศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นสถานที่ทางกายภาพที่ออกแบบมาเพื่อรองรับฮาร์ดแวร์ หรือเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของระบบไอทีที่จำสำคัญสำหรับการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล เปรียบได้กับที่อยู่ของข้อมูลดิจิทัล
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการคลาวด์หลายรูปแบบครอบคลุม IaaS, PaaS และ Saas ทั้งส่วนบุคคล และสาธารณะในประเทศไทยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เทรนด์การใช้งานด้าน AI, Cloud Computing, Data และ IOT เพิ่มมากขึ้น ทั้งในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานรัฐบาล ส่งผลให้ความต้องการด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนเครื่องมือ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเติบโตต่อเนื่องตามมาอย่างมีนัยสำคัญ
จะเห็นว่า ธุรกิจให้บริการ Cloud Platform Provider รวมถึง Data Center ที่ถือได้ว่าเป็น ‘บ้านของข้อมูล’ ขึ้นแท่นเป็นธุรกิจดาวรุ่ง โดยมีบทบาทในการเป็น ‘โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล’ ที่จำเป็นสำหรับการรองรับระบบนิเวศด้านข้อมูลที่ต่อเนื่องยังเรื่องของการยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
โดยปัจจุบันผู้ให้บริการ Cloud Platform Provider รายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องมีการให้บริการที่ครอบคลุมให้ได้มากที่สุด เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการให้บริการของตนเองโดยเฉพาะ ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลบริหารจัดการที่มีสถียรภาพมากกว่า ทำให้การขยาย Cloud Region และ Data Center ของผู้ให้บริการเจ้าต่างๆ เหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วโลก เพื่อสร้างระบบที่สามารถรองรับผู้ใช้งานจากทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ไทย กลายเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการลงทุนในการวางโครงสร้างและเครือข่ายหลักเพื่อรองรับการให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการมีสำนักงานเพียงแห่งเดียว และการขยายการรองรับให้เพียงพอ
ยกตัวอย่าง ก่อนหน้านี้ผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลกจะมี สิงคโปร์ เป็นประเทศเป้าหมาย ทำให้สำนักงานใหญ่ของบริษัทจากตะวันตกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ และมี Data Center ตั้งอยู่มากที่สุดในภูมิภาค ปัจจุบันเราเริ่มเห็น Data Center ขนาดใหญ่ระดับ Hyper-Scaler เพิ่มมากขึ้นในไทย
บริษัทไทยหลายรายก็เริ่มกระโดดเข้ามาลงทุนในสนามนี้ สำหรับบริษัทระดับโลกก็ได้พากันประกาศกลยุทธ์พร้อมปักธงลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลและศูนย์ให้บริการในไทยจำนวนมาก ยิ่งรายใหญ่เข้ามาเปิดตลาด ก็ยิ่งเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับเจ้าอื่นๆ ตามมา โดยปัจจุบัน ประกอบด้วย
จุดแข็งที่ทำให้ ไทย น่าสนใจ อันดับแรก คือ ภูมิประเทศ ไทยมีพื้นที่ประมาณ 13,115 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย และพม่า มีสถานที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน สอง คือ ดีมาน์ของการบริการดิจิทัลที่อยู่ในระดับสูง และนโยบายที่เปิดรับการเติบโตสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาทิ สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี จาก สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)
การเติบโตของธุรกิจ Data center จะส่งผลเกี่ยวเนื่องยังธุรกิจอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการจัดหาและจำหน่ายอุปกรณ์ไอที ผู้รับเหมาก่อสร้างและวางระบบขั้นสูง กลุ่มผู้ให้บริการด้านระบบ System Inegrator รูปแบบต่างๆ
อีกทั้งยังดึงดูดบริษัทชั้นนำอื่นๆ ให้ตามมาลงทุนในไทย ยกระดับองค์กรในภาคธุรกิจให้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น และมากไปกว่านั้น Data Center จะกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น.