Digital Footprint คืออะไร ทำไมต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์ อดีตอาจย้อนกลับหาเราในเวลาสำคัญ

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Digital Footprint คืออะไร ทำไมต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์ อดีตอาจย้อนกลับหาเราในเวลาสำคัญ

Date Time: 7 ส.ค. 2566 18:57 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • Digital Footprint หรือ “ร่องรอยดิจิทัล” เป็นสิ่งที่คงอยู่ถาวรและอาจย้อนกลับมาส่งผลกระทบกับชีวิตวันใดวันหนึ่ง ซึ่งการโพสต์หรือแชร์ข้อมูลใดก็ตามลงไปในโซเชียลควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และตระหนักถึงผลที่อาจเกิดขึ้น

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้สึกหรือเหตุการณ์ในแต่ละวันของทุกคน แต่รู้หรือไม่ว่าทุกสิ่งที่เราโพสต์หรือแชร์ลงไปบนโซเชียลมีเดียจะคงอยู่ตลอดไป และสามารถกลับมาปรากฏอีกครั้งแบบที่เราไม่รู้ตัว สิ่งนั้นเองที่เรียกว่า Digital Footprint

Digital Footprint หรือแปลเป็นไทยว่า “ร่องรอยดิจิทัล” เป็นความหมายที่ค่อนข้างตรงตัวว่ามันคือสิ่งที่เราทำลงไปบนโลกดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์ การสมัครรับข้อมูลข่าว ประวัติการค้นหาสินค้า การทำธุรกรรมออนไลน์ ไปจนถึงการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์

โดย Malwarebytes บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้คำนิยาม Digital Footprint ไว้ว่าเป็นคำที่ใช้อธิบายกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ต หรือบนอุปกรณ์ของบุคคลหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ซึ่งสามารถติดตามได้ 

และได้แบ่ง Digital Footprint ออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่:

Active digital footprint ข้อมูลที่สร้างขึ้นมาโดยเจตนา อย่างเช่นโพสต์ต่างๆ บนโซเชียล หรือการกรอกฟอร์มออนไลน์

Passive digital footprint ข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยที่เราไม่ได้เกี่ยวข้อง หรืออาจไม่รู้ตัว อย่างเช่นข้อมูลที่ทางเว็บไซต์รวบรวมเมื่อเราเข้าชม หรือข้อมูลจากการใช้งานบนโทรศัพท์

Public digital footprint ข้อมูลที่เป็นสาธารณะ อย่างเช่นโพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือข้อมูลโปรไฟล์สาธารณะบนเว็บไซต์

Private digital footprint ข้อมูลที่เข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม อย่างกลุ่มหรือข้อความแชตบนโลกออนไลน์

Commercial digital footprint ข้อมูลที่รวบรวมโดยธุรกิจต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าอย่างเช่นข้อมูลเมื่อซื้อของออนไลน์ 

แล้ว Digital Footprint สำคัญอย่างไร?

อย่างแรกเลยคือเมื่อโพสต์อะไรก็ตามลงบนโลกออนไลน์มันจะไม่มีวันหายไปสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ซึ่งอาจกระทบกับชื่อเสียงในเวลาต่อมา เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายความน่าเชื่อถือ และอาจนำไปถูกตีความหรือโจมตีเมื่อบริบทสังคมเปลี่ยนไป

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบจากนายจ้างโดยข้อมูลจากเว็บไซต์หางานพบว่า 77% ของนายจ้างค้นหาข้อมูลผู้สมัครบนกูเกิล ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า Digital Footprint มีผลกับโอกาสในการเข้าทำงาน ขณะเดียวกันก็มีผลไปถึงการออกใบรับรอง วีซ่า และการขอสัญชาติหากมีการตรวจสอบจากทางการ

ดังนั้นแม้ว่าการโพสต์ต่างๆ เราอาจจะบอกว่าเป็นการเผยแพร่ลงบนพื้นที่ของเรา แต่อย่างลืมว่าเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตาที่เราอาจจะไม่รู้จัก จึงจำเป็นที่จะต้องคิดอย่างรอบคอบ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ