รวมศัพท์วงการ AI ในยุคที่อะไรๆ ก็ GPT ฉบับมือใหม่ก็เข้าใจได้

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

รวมศัพท์วงการ AI ในยุคที่อะไรๆ ก็ GPT ฉบับมือใหม่ก็เข้าใจได้

Date Time: 29 ก.ค. 2566 17:50 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • เมื่อพูดถึง AI ในยุคนี้จะคุยกับเพื่อนให้เข้าใจ ต้องรู้จักคำศัพท์อะไรไว้บ้าง เพราะเทคโนโลยี ไม่อาจหยุดการพัฒนาโดยเริ่มตั้งแต่ AI ซึ่งเป็นแกนหลัก และตามมาด้วย Machine Learning และ Deep Learning แต่ละอย่างใช้งาน และแตกต่างกันอย่างไร Thairath Money ชวนมาทำความเข้าใจฉบับมือใหม่ในบทความนี้

ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอแต่ข่าววงการ AI ซึ่งมีแต่ศัพท์ทางเทคนิคมากมายจนอาจทำให้มีปวดหัวกันบ้าง บทความนี้ Thairath Money จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับตัวอย่างคำศัพท์เบื้องต้นที่มักพบได้ตามข่าวสารวงการเทคโนโลยี ที่แม้ไม่ใช่สาย Geek หรือเป็นมือใหม่ ก็เข้าใจได้ เมื่อต้องพบเจอกับศัพท์ในแวดวง AI ที่ไม่อาจหยุดพัฒนาได้ในเร็ววัน

AI 

Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ การประมวลผลของเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ เช่น การรับรู้ การให้เหตุผล การเรียนรู้ การแก้ปัญหา การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และการใช้ความคิดสร้างสรรค์

Machine Learning 

Machine Learning คือ AI ที่ใช้อัลกอริทึมในการเทรนข้อมูล ซึ่งอัลกอริทึมเหล่านี้สามารถจับแพตเทิร์นและเรียนรู้ในการคาดการณ์และให้คำแนะนำผ่านการประมวลผลข้อมูล และยังสามารถรับรู้ชุดข้อมูลใหม่ๆ รวมถึงประสบการณ์ เพื่อปรับปรุงความสามารถเมื่อเวลาผ่านไป

และด้วยปริมาณและความซับซ้อนของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นมาได้เพิ่มศักยภาพของ Machine Learning และยิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ในการทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ที่มนุษย์ไม่อาจจัดการได้ ทั้งการเรียนรู้ของ Machine Learning ยังมีบทบาทในหลายอุตสาหกรรม อย่างเช่นการวิเคราะห์ภาพที่ใช้ในทางการแพทย์ และการพยากรณ์อากาศที่มีความละเอียดสูง 

Deep Learning

Deep Learning เป็นประเภทหนึ่งของ Machine Learning ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้หลากหลายมากขึ้น โดยมนุษย์จะทำงานน้อยลง และให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า Machine Learning แบบเดิม 

โดย Deep Learning จะใช้ Neural Network ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นการจำลองสมองและระบบประสาทของมนุษย์ ในการนำเข้าข้อมูลและประมวลผลผ่านการทำซ้ำจนเกิดเป็นการเรียนรู้ข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้น และสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูล ตลอดจนเรียนรู้ว่าการตัดสินใจนั้นมีความถูกต้องหรือไม่ และใช้สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อมูลชุดใหม่ 

ตัวอย่างการใช้ Deep Learning 

Generative AI คือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างข้อมูลได้หลากหลายตั้งแต่ รูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และโมเดล 3 มิติ ผ่านการเรียนจากชุดข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจากนั้นก็ประมวลผลออกมา

GPT ย่อมาจาก Generative Pre-trained Transformer เป็น AI ประมวลผลภาษาจาก OpenAI ที่ใช้ Deep Learning ในการสร้างข้อความ ทำได้ทั้งตอบคำถาม แปลภาษา เขียนโค้ด เห็นได้ชัดจากแชตบอตตัวดังอย่าง ChatGPT ซึ่งสามารถสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติคล้ายกับสำนวนของมนุษย์ 

LaMDa ย่อมาจาก Language Model for Dialogue Application เป็นระบบสร้างแชตบอตผ่านโมเดลภาษาของ Google ที่สามารถสร้างภาษาที่เป็นธรรมชาติคล้ายมนุษย์ได้ โดยเป็นโปรเจกต์จากโครงการวิจัย Transformer ของ Google และถือเป็นหนึ่งในโมเดลภาษาที่ทรงพลังที่สุดในโลก

สำหรับการใช้งาน LaMDa ที่เด่นชัดที่สุดคือการใช้ในแชตบอต Bard ของ Google และมีความตั้งใจในการทำให้ระบบ AI เป็นแกนหลักของระบบต่างๆ ของ Google เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Google สามารถพูดคุยกับผู้ใช้ด้วยเสียงมนุษย์ได้

LLaMA ย่อมาจาก Large Language Model Meta AI เป็นโมเดลภาษาจาก Meta เพื่อช่วยในการทำงานของนักวิจัย

อ้างอิง: McKinsey (1), (2)


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์