แอปฯ สายการบิน สู่ ทราเวล เอเจนซี่ airasia Super App แข่งขันอย่างไร ในตลาดน่านน้ำสีแดง

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แอปฯ สายการบิน สู่ ทราเวล เอเจนซี่ airasia Super App แข่งขันอย่างไร ในตลาดน่านน้ำสีแดง

Date Time: 17 ก.ค. 2566 17:17 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • สายการบิน ผันตัวสู่ Travel Tech เพื่ออยู่รอด Thairath Money พาไปรู้จักกับ airasia Superapp และระบบนิเวศบริการภายในแอปฯ ที่เชื่อมโยงประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวนักเดินทางตั้งแต่ต้นจนจบ ผ่านทริปเยือนประเทศบ้านเกิดและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ AirAsia พร้อมเจาะท่าไม้ตาย airasia Superapp จะไปต่ออย่างไร ทำเงินต่ออย่างไรหลังจากนี้

เมื่อได้ยินชื่อ AirAsia หลายคนคุ้นหูในกันนามธุรกิจสายการบิน แต่นับตั้งแต่โควิดเป็นต้นมาก็ได้มีการปรับตัว โดยการรุกธุรกิจดิจิทัลมากขึ้น ต่อยอดจากแอปสำหรับสายการบินมาเป็น airasia Superapp ที่ให้บริการมากกว่าสายการบิน แต่ครอบคลุมการท่องเที่ยวครบลูป ไม่ว่าจะเป็น ดีลจองโรงแรม จองตั๋วการเดินทางตั้งแต่ภาคพื้นดินจนขึ้นสู่อากาศ ตลอดจนบริการเดลิเวอรี่และบริการรถรับส่ง 

หากดูเจ้าอื่นๆ ในระดับภูมิภาคอย่าง Wechat หรือ Grab ที่เป็นเจ้าตลาดมีจุดเริ่มต้นที่ยาวนานกว่า เป็นที่น่าสนใจว่า ในน่านน้ำแดงเดือดที่หลายเจ้าหันมาพัฒนา ‘ซุปเปอร์แอป’ อย่างคับคั่งสายการบิน AirAsia กระโดดลงมาและว่ายต่อด้วยท่าไหน?

สายการบิน ผันตัวสู่ Travel Tech เพื่ออยู่รอด 

ก่อนอื่น พาย้อน Recap ไปทำความรู้จักการทรานส์ฟอร์ม AirAsia ในปี 2563 หลังจากผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 นายโทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอร์เอเชีย กรุ๊ป และกลุ่มแคปิตอล เอ ประกาศปรับโฉมครั้งใหญ่ เปลี่ยนภาพจำสายการบินโลว์คอสต์สู่สุดยอดแอปแห่งอาเซียน โดยการผสานเทคโนโลยีนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญหลักในการเป็น OTA (Online Travel Agent) ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ครบวงจร สู่ ‘Super App’ ที่ทำได้ตั้งแต่ ช็อปปิ้ง เดลิเวอรี่ กิน เที่ยว เดินทาง ซึ่งปัจจุบันให้บริการแล้วใน 4 ประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึง ไทย บ้านเรา พูดง่ายๆ airasia ปรับกลยุทธ์ใหม่ คือ สายการบินที่ผันตัวสู่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์นั่นเอง  

ซึ่งแท้จริงแล้วหากเจาะลึกลงไปอีก AirAsia ไม่ได้ประกาศเพียงแค่ Vision ทางธุรกิจเท่านั้น แต่เบื้องหลัง AirAsia ทรานส์ฟอร์มทั้งองคาพยพสู่โพสิชันใหม่ที่ชื่อว่า Capital A กรุ๊ปโฮลดิ้งหรือบริษัทแม่ ซึ่งบริหารงานโดย นายโทนี่ เฟอร์นานเดส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มแคปิตอล เอ ที่ตั้งใจผลักดันธุรกิจให้ก้าวข้ามผ่านช่วงโควิด ทำลายกำแพงสายการบิน และติดปีกสู่ การท่องเที่ยวแบบดิจิทัล สร้างเส้นทางใหม่ๆ ที่ล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจ    

จะเห็นว่า ความพยายามในการพัฒนา airasia Superapp มีหลักการที่ชัดเจน คือ การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อรองรับและช่วงส่งเสริมศักยภาพธุรกิจหลัก ซึ่งนั่นก็คือ ‘กลุ่ม Travel’ ที่ประกอบไปด้วย ธุรกิจสายการบิน และบริการจองที่พักและโรงแรมนั่นเอง 

สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้จักหรือยังไม่มีโอกาสได้ใช้บริการ Thairath Money จะพาไปรู้จักกับ airasia Superapp และระบบนิเวศบริการต่างๆ ภายในแอปฯ ที่เชื่อมโยงประสบการณ์ ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวนักเดินทางตั้งแต่ต้นจนจบ ผ่านทริปเยือนประเทศบ้านเกิดและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ AirAsia

-เริ่มต้นตั้งแต่ การกดจองตั๋วเครื่องบิน ที่เราสามารถจองผ่านแอปฯ โดยเราสามารถเลือกบินตรงสายการบิน AirAsia รวมถึงสายการบินอื่นๆ ทั่วโลกกว่า 700 สายการบิน พร้อมดีลราคาพิเศษ  

-ตามด้วยบริการด้านการเดินทางที่ทำให้การท่องเที่ยวปลอดภัยและไร้รอยต่อ โดยเราทำการ กดเรียกรถรับส่ง ทั้งรถยนต์และรถแท็กซี่ ด้วยบริการ airasia ride จองล่วงจากหน้าให้มารับที่หน้าบ้านเพื่อไปยังสนามบิน  

-โดยหลังจากเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางที่กัลลาลัมเปอร์ บริการ airasia ride ซึ่งครอบคลุมในประเทศมาเซีย ทำให้เราสามารถใช้แอปฯ กดเรียกรถรับส่งได้อย่างต่อเนื่องทันที หากใครมีดีลตั๋วเครื่องบินพร้อมที่พัก หรือมีการจองที่พักล่วงหน้าไว้และเป็นโรงแรมพันธมิตรโดยตรงของ airasia Superapp ก็จะมีรถรับส่งจากสนามบินไปโรงแรมที่พักทันทีอีกด้วย ตลอดการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ 

-สายกินสามารถติดตามร้านดังยอดนิยมผ่านการรีวิวและการเสนอโปรโมชันพิเศษจากใน airasia Superapp และจองโต๊ะได้ทันที โดยกดเลือก airasia food บริการ Dine-in Service จองโต๊ะร้านอาหารแบบออนไลน์ 

-นอกจากนี้ทุกครั้งที่ใช้บริการต่างๆ ใน airasia Superapp จะเป็นการสะสมคะแนน airasia rewards ไปในตัว โดยเราสามารถนำคะแนนใช้แลกซื้อสินค้าและบริการได้ โดยครั้งนี้เราใช้คะแนนแลกซื้อของผ่าน airasia shop ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถสั่งจองสินค้าล่วงหน้า และให้จัดส่งไปยังที่นั่งระหว่างเที่ยวบิน รอรับสินค้าบนที่นั่งบนเครื่องบินได้เลย เรียกได้ว่า มอบประสบการณ์ใหม่ในการช็อปปิ้งเป็นอย่างมาก  

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ จะเห็นว่าระบบนิเวศของการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะ สายการบิน จุดนี้กลับเป็นกลยุทธ์หลักของ airasia Superapp เป็นท่าไม้ตายที่ทำให้ airasia Superapp อาจเทียบชั้นแข่งขันกับคู่แข่งกลุ่ม Travel อย่าง Traveloka, Agodaในสนามแพลตฟอร์มท่องเที่ยวระดับภูมิภาคได้อย่างสบายๆ  

โดยผลดำเนินการไตรมาสแรกปีนี้ airasia Superapp มีผู้ใช้ต่อเดือน 12.9 ล้าน เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 12% จำนวนการทำธุรกรรมของยังสูงถึง 5.98 ล้านรายการ เพิ่มขึ้น 99% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยได้แรงหนุนหลัก จากความจุเที่ยวบินของ AirAsia ที่เพิ่มขึ้น และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของบริการจองโรงแรม และ SNAP ซึ่งได้อานิสงส์มาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก 

น่าสนใจว่าหลังจากนี้ airasia Superapp จะไปต่ออย่างไร ทำเงินต่ออย่างไร จะไปสู่เป้าหมายที่เคยตั้งไว้ว่าจะเพิ่มผู้ใช้งานให้มากกว่า 104 ล้านคนต่อเดือน ภายในปี 2569 และจะมีสัดส่วนรายได้ที่ไม่ได้มาจากสายการบิน เพิ่มมาอยู่ที่ 50% จากรายได้รวมของกลุ่มภายใน 5 ปี ได้หรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ