ซีเมนส์ เอจี ทุ่ม 7.5 หมื่นลบ.เพิ่มกำลังผลิตทั่วโลก มองอาเซียนตลาดสำคัญ สร้างโรงงานใหม่ที่สิงคโปร์

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ซีเมนส์ เอจี ทุ่ม 7.5 หมื่นลบ.เพิ่มกำลังผลิตทั่วโลก มองอาเซียนตลาดสำคัญ สร้างโรงงานใหม่ที่สิงคโปร์

Date Time: 20 มิ.ย. 2566 14:26 น.

Video

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ Green Finance ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า ระเบียบโลกใหม่ | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ซีเมนส์ ประกาศกลยุทธ์การลงทุน มูลค่า 2 พันล้านยูโร หรือราว 7.5 หมื่นล้านบาท มุ่งสร้างการเติบโต ขับเคลื่อนนวัตกรรม และเพิ่มความยืดหยุ่นในอนาคต เพิ่มการลงทุนในโรงงานไฮเทค ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม และศูนย์การเรียนรู้ใหม่ๆ ทั่วโลกเพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และความยั่งยืน

ซีเมนส์ เอจี บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรม มองอาเซียนเป็นตลาดสำคัญ ประกาศลงทุนมูลค่า 2 พันล้านยูโร หรือราว 7.5 หมื่นล้านบาท มุ่งไปที่การขยายกำลังการผลิตเป็นหลัก โดยจะเพิ่มการลงทุนในโรงงานไฮเทค ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม และศูนย์การเรียนรู้ใหม่ๆ ทั่วโลก

อาทิ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา จีน และเตรียมขยายเครือข่ายการผลิต โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรองรับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตอย่างมาก ซึ่งได้ประกาศสร้างโรงงานไฮเทคแห่งใหม่ในประเทศ ‘สิงคโปร์’ ที่จะใช้เทคโนโลยี Digital Twin พร้อมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์อัจฉริยะของซีเมนส์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติขั้นสูง 

โรแลนด์ บุช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอของ ซีเมนส์ เอจี กล่าวว่า การลงทุนนี้สนับสนุนกลยุทธ์ของเราในการผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน การมุ่งเน้นการกระจายธุรกิจและธุรกิจท้องถิ่นต่อท้องถิ่น (Local-for-Local Business) การขยายฐานที่ตั้งเพิ่ม Global Presence เพื่อรองรับการเติบโตในตลาดสำคัญ 

ปีที่ผ่านมายอดขาย 47% ของซีเมนส์มาจากยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)  29% มาจากอเมริกาเหนือและใต้ และอีก 25% มาจากเอเชียและออสเตรเลีย ยอดสั่งซื้อสะสมอยู่ที่ 1.05 แสนล้านยูโร และได้มีการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทจะมีศักยภาพที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นในธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะและการคมนาคมขนส่งในตลาดที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1.75 แสนล้านยูโรในช่วง 5 ปีข้างหน้า

โดยงบประมาณปี 66 บริษัทฯ คาดว่าจะเพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาอีกประมาณ 5 ร้อยล้านยูโรจากปีก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรม (Industrial Metaverse) การวิจัยและพัฒนานี้มุ่งเสริมความแข็งแกร่งในความเป็นผู้นำของซีเมนส์ในเทคโนโลยีหลักๆ เช่น Simulation, Digital Twins, Artificial Intelligence หรือ Power Electronics 

พร้อมสนับสนุน Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของบริษัทฯ โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ Microsoft เพื่อเร่งการสร้างโค้ดสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโดยใช้ ChatGPT และซีเมนส์ยังกำลังทำงานร่วมกับ NVIDIA เพื่อสร้างเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ การวางแผน การผลิต และการดำเนินงานของโรงงานและโครงสร้างพื้นฐาน

กำลังการผลิตใหม่และเพิ่มเติมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซีเมนส์ได้ประกาศสร้างโรงงาน ไฮเทคแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ โดยใช้งบลงทุนประมาณ 200 ล้านยูโร โรงงานแห่งใหม่นี้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อ โดยใช้เทคโนโลยี Digital Twin พร้อมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์อัจฉริยะของซีเมนส์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติขั้นสูง และการลงทุนนี้ยังสร้างงาน มากกว่า 400 ตำแหน่ง

กลยุทธ์มุ่งเน้นทุกภูมิภาคด้วยแผนการลงทุนทั่วโลก

อีกส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนเพื่อรองรับธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ซีเมนส์จะขยายโรงงานดิจิทัลในเฉิงตู เพื่อรองรับโอกาสการเติบโตในท้องถิ่นของจีนในแบบ in China for China ด้วยการลงทุน 140 ล้านยูโร (1.1 พันล้านหยวน) สร้างงานใหม่ 400 ตำแหน่ง ลูกค้าในประเทศจีนของซีเมนส์จำนวนมากอยู่ในกลุ่ม Early Adopters ในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัล และการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ขยายการผลิตในเมือง Trutnov ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก และเมือง Amberg ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่าย WEF Global Lighthous และลงทุนอีก 30 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานสวิตช์เกียร์ที่ Frankfurt-Fechenheim ในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ ซีเมนส์ โมบิลิตี้ ยังประกาศการลงทุน 220 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงงานผลิตตู้รถไฟแห่งใหม่ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับรถไฟโดยสารในสหรัฐอเมริกา โดยโรงงานแห่งนี้จะสร้างงานมากกว่า 500 ตำแหน่งภายในปี 2028


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ