ชวนรู้จัก Open Data ใช้เทคโนโลยีคืนอำนาจให้ประชาชน สร้างรัฐบาลที่ทำงานโปร่งใส

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ชวนรู้จัก Open Data ใช้เทคโนโลยีคืนอำนาจให้ประชาชน สร้างรัฐบาลที่ทำงานโปร่งใส

Date Time: 17 พ.ค. 2566 18:22 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • Thairath Money จะชวนทำความเข้าใจ Open Data สร้างรัฐบาลโปร่งใสพร้อมเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นขุมทรัพย์เหล่านี้มีประโยชน์อย่างไร และประชาชนจะได้อะไรจากสิ่งนี้

Latest


มาเริ่มต้นรับมือความเจริญกับประเทศไทยในยุคดิจิทัล โดยในบทความนี้ Thairath Money จะชวนทำความเข้าใจ Open Data สร้างรัฐบาลโปร่งใสพร้อมเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นขุมทรัพย์เหล่านี้มีประโยชน์อย่างไร และประชาชนจะได้อะไรจากสิ่งนี้ พร้อมทั้งอัปเดตกันว่าที่ผ่านมาประเทศไทยไปถึงไหนแล้วกับเรื่องนี้บ้าง

ก่อนอื่นทำความรู้จักกันก่อนว่า Open Data คืออะไร

Open Data คือ ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างเสรี Open Data เป็นข้อมูลที่เป็นสาธารณะที่ทุกคนรับรู้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ถูกนำมาเปิดเผย ต้องง่ายต่อการเข้าถึงและนำออกมาใช้ ซึ่งจะต้องจัดเตรียมให้อยู่ในรูปแบบพร้อมใช้ให้สามารถนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ต่อได้ และที่สำคัญ คือ ไม่ว่าใครก็สามารถนำไปใช้งานได้

แล้วทำไมต้อง Open Data เกี่ยวอะไรกับการบริหารงานของรัฐบาล 

ก่อนหน้านี้ประชาชนอาจจะประสบปัญหากับการต้องมาคอยตั้งคำถามกันว่า ภาษีไปไหนบ้าง งบถูกใช้ไปกับอะไร โครงการนั่นนี่ถึงไหนแล้ว มีแต่ข่าวออกมาว่าจะทำ ตกลงจะเสร็จเมื่อไร หลากข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล 

ดังนั้น Open Data จึงเป็นเหมือนทางออกที่เป็นประตูนำสู่ความเจริญที่พึงมีในยุคดิจิทัลแบบนี้ เพราะมันจะเป็นหนึ่งใน มาตรการสำคัญในการลดการทุจริตคอร์รัปชันและการสร้างรัฐที่โปร่งใส อีกทั้งข้อมูลนี้ยังช่วยให้รัฐบาลมีระบบที่ทันสมัย ลดงบประมาณจากเอกสารจำนวนมากและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน เปิดทางให้ประชาชนตรวจสอบได้จากการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงการนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อแก้โจทย์ด้านต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยด้านข้อมูลนั่นเอง

ที่ผ่านมาประเทศไทยไปถึงไหนแล้วกับ Open Data 

จริงๆ แล้ว Open Data ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่แกะกล่องอะไรมากนัก เพราะก่อนหน้านี้หน่วยงานรัฐของไทยก็เริ่มมีการทำ Open Data กันมาบ้างแล้ว ยกตัวอย่าง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีนโยบายให้ทุกหน่วยภายใต้การกำกับดูแลของกทม. จัดทำและเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดเก็บรายได้ให้คนเข้าถึงได้ผ่าน data.bangkok.go.th และปักหมุดให้กทม. เป็น Open Government หรือ DGA สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ที่เปิดศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ในชื่อ data.go.th ที่ตั้งใจให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้

ส่วนพรรคก้าวไกลที่ชนะการเลือกตั้งและเป็นแกรนำในการจัดตั้งรัฐบาล ก็มีนโยบายดิจิทัลที่ต้องการขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ ซึ่งข้อมูลจาก Moveforwardparty.org ระบุไว้ดังนี้

- ข้อมูลของรัฐ คือ ข้อมูลที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รัฐ ต้อง เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น (Open by Default) 

- หากจะปกปิด หน่วยงานต้องมีมติให้จัดเป็น “ข้อมูลความลับราชการ” พร้อมให้เหตุผลและกำหนดระยะเวลาที่ข้อมูลจะต้องเป็นความลับ โดยท้ายที่สุดข้อมูลจะถูกเปิดเผยเป็นข้อมูลสาธารณะทั้งหมดในภายหลัง (กล่าวคือ ไม่มีข้อมูลใดที่ลับตลอดกาล)

แปลงข้อมูลเป็นขุมทรัพย์  สร้างพื้นที่จัดเก็บทรัพยากรข้อมูลให้พร้อมใช้ เป็นขุมทรัพย์สำหรับภาคเอกชนที่สามารถสร้างแพลตฟอร์มหรือวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและกำแพงในการริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ อย่างมหาศาล

- สร้างถนนข้อมูล สร้างแนวทางการเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อมโยงภายใต้มาตรฐานเดียวกัน 

- กลไกคุ้มครองความปลอดภัย สร้างระบบที่ทำให้ประชาชนรู้ได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเขาถูกจัดเก็บโดยหน่วยงานรัฐหน่วยใดบ้าง และหากข้อมูลรั่วไหลเจ้าของข้อมูลต้องได้รับแจ้งจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลทันที 

การขับเคลื่อน Open Data ของพรรคก้าวไกลในช่วงที่ผ่านมา 

- การยื่นร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะโดย ส.ส.วรภพ วิริยะโรจน์ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวาระพิจารณาของสภา โดยเสนอให้มีการกำหนดฐานข้อมูลของรัฐ (เช่น เอกสารที่ใช้ในการประชุม จัดว่าเป็น “ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” ที่ต้องเปิดเผยโดยไม่ต้องร้องขอทั้งหมด 

- เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมด (เช่น ราคาที่นำเสนอ ผู้เสนอ) แบบเรียลไทม์

- การแปลงไฟล์ PDF ต่างๆ อย่างไฟล์งบประมาณของรัฐที่มีหลายหมื่นหน้า เป็น spreadsheet (Excel) หรือ Text File (ข้อความ) เพื่อให้ประชาชนและตัว ส.ส. เอง ค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวก เช่น การจัดทำงบประมาณปี 66, งบประมาณรายรับ-รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 7,852 แห่ง 

- โมเดล ERP ท้องถิ่น (Enterprise Resource Planning) ที่จะนำไปใช้กับเทศบาลตำบลทุกที่ทั่วประเทศไทย ในรูปแบบ Open Source ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มใช้แล้วที่เว็บไซต์ อบต.อาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการให้บริการออนไลน์ที่สะดวกต่อประชาชน เช่น ล็อกอินเข้าระบบไปสแกนจ่ายค่าน้ำประปาได้ https://tessabanatsamat.go.th  

- การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับส่วยใน กทม. ด้วยแคมเปญ ‘เจอส่วย ไม่ต้องจ่าย ฟ้องผู้ว่าฯ’  เป็นการตัดตัวกลางต่างๆ ให้ประชาชนแจ้งเรื่องถึงผู้ว่าฯ ได้โดยตรง

- การตั้งคอมมูนิตี้ ก้าวGeek ระดมไอเดียด้าน Digital และ Data จากผู้เชี่ยวชาญและประชาชนคนทั่วไป บน Github (https://github.com/kaogeek) และปัจจุบันกำลังพัฒนาหลายโปรเจกต์ เช่น Policy Tracking การติดตามการทำงาน, Participatory Budgeting การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม, Online Voting ใน พ.ร.บ.ประชามติ และอีกมากมาย 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์