กรณีศึกษา i-voting เลือกตั้งออนไลน์ที่เอสโตเนีย ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย โปร่งใส ไว้ใจได้มากกว่าคนทำ

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรณีศึกษา i-voting เลือกตั้งออนไลน์ที่เอสโตเนีย ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย โปร่งใส ไว้ใจได้มากกว่าคนทำ

Date Time: 13 พ.ค. 2566 16:37 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • Estonia ประเทศแรกที่ปรับใช้ระบบการเลือกตั้งออนไลน์หรือ i-voting ที่ไม่ว่าประชาชนจะอยู่มุมไหนของโลกก็สามารถเข้าโหวตพรรคที่ใช่ได้ 24 ชั่วโมง

ท่ามกลางบรรยากาศการเลือกตั้ง ประเด็นเกี่ยวกับ ปัญหาด้านการจัดการเลือกตั้ง มักถูกหยิบยกมาพูดกันโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นข้อผิดพลาดจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือจากขั้นตอนที่ซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง กระบวนการนับคะแนน ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าผิดพลาดไม่ได้

ThairathMoney พาไปรู้จัก เอสโตเนีย ประเทศเล็กๆ ในกลุ่มทะเลบอลติกโซนยุโรปเหนือ ที่ได้กลายเป็นกรณีศึกษาของทั่วโลกที่ใช้เทคโนโลยีช่วยขับเคลื่อนกิจการของรัฐบาล เป็นประเทศแรกที่ปรับใช้ระบบการเลือกตั้งออนไลน์หรือ i-voting ที่ไม่ว่าประชาชนจะอยู่มุมไหนของโลกก็สามารถเข้าโหวตพรรคที่ใช่ได้ 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งประเทศที่มีนโยบาลดิจิทัลของรัฐนำหน้าไปไกลกว่าใคร

“i-voting” Internet-voting หรือ การลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์

ระบบ i-voting มีพื้นฐานจาก e-identity หรือการระบุและยืนยันตัวตนบนระบบดิจิทัล เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และบริการดิจิทัลในทุกระดับของสังคม และใช่ กว่า 99% ประชาชนเอสโตเนียสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานผ่านระบบดิจิทัลได้แล้ว

โดยการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การเลือกตั้งรัฐสภาระดับชาติ รวมถึงการเลือกตั้งในยุโรป สามารถลงคะแนนเสียงแบบ i-voting ได้ทั้งหมด

ประชาชนเอสโตเนียสามารถเข้าสู่ระบบได้ง่ายๆ โดยใช้ e-ID หรือบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นบัตรสมาร์ทการ์ดที่ช่วยให้สามารถยืนยันตัวตนระยะไกลได้อย่างปลอดภัย โดยผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนเสียงจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ในโลก ทั้งในช่วงเลือกตั้งล่วงหน้า แถมยังสามารถแก้สิ่งที่เลือกไม่จำนวนครั้งจนกว่าจะถึงกำหนดวันนับคะแนนอีกด้วย ทั้งนี้หลังการเลือกตั้งจบ การลงคะแนนของประชาชนจะถูกลบทิ้งทั้งหมด

โปร่งใส ไว้ใจได้มากกว่าคนทำ

i-voting ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และการกำกับดูแลเรื่องนี้ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ลดปัญหาการเลือกตั้งล่วงหน้าที่มักพบกับปัญหาการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ตลอดจนการนับคะแนน และแน่นอนว่าสามารถลดปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงและช่วยประหยัดงบประมาณเป็นอย่างมาก

เอสโตเนียใช้ระบบ i-voting ตั้งแต่ปี 2548 หรือเป็นเวลาเกือบ 20 ปี ปัจจุบันปรับใช้ระบบนี้กว่า 46.7% โดยการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2566 ที่ผ่านมา มีประชาชนเลือกตั้งผ่าน i-voting ถึง 51% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีผู้เลือกตั้งออนไลน์มากกว่าครึ่งของผู้ที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามเอสโตเนียยังจัดให้มีการเลือกตั้งแบบปกติสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าคูหาเลือกตั้งและกาลงกระดาษ

แนวคิด “e-Democracy” และ Digital Government

เป้าหมายหลักของการนำเทคโนโลยีมายกระดับ คือ การปรับปรุงกระบวนการภาครัฐ รวมถึงการจัดการการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ

เอสโตเนียเชื่อว่า ความโปร่งใสจะสร้างความไว้วางใจในวงกว้างของประชาชน และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ เพื่อสนับสนุนระบบประชาธิปไตยและเปิดโอกาสให้พลเมืองมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองในฐานะส่วนสำคัญของการพัฒนา “e-Governance”

e-Governance คือ การทำให้รัฐบาลมีการทำงานแบบดิจิทัล เน้นหลักการเปิดเผยข้อมูล Open Data โดยมีการจัดตั้ง Data Embassy และ Government Cloud เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการทำงานที่โปร่งใส และเปิดกว้างต่อหน่วยงานอื่น

ตัวอย่าง กลไกหรือเครื่องมือ e-Democracy ที่เอสโตเนียพัฒนา EIS (Eelnõude infosüsteem) แพลตฟอร์มสำหรับการให้คำปรึกษาสาธารณะเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งหมด VOLIS โซลูชันซอฟต์แวร์ออนไลน์สำหรับหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อแบ่งปันข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการทำงานของท้องถิ่นกับสาธารณะ ติดตามสถานะ ระเบียบวาระการประชุม ผลการลงคะแนน และการกำหนดหลักการอื่นๆ อัตโนมัติผ่านอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปยังบริการสาธารณะด้านอื่นๆ เช่น e-identity, e-tax, e-residency, e-health record, e-ambulance เป็นต้น เหล่านี้เองล้วนทำให้ เอสโตเนีย ขึ้นชื่อว่าเป็น The world's most advanced digital society และเป็นกรณีศึกษาให้กับหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้ 

อ้างอิง 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ