ก.ล.ต. แจง ไม่มีอำนาจสั่งปิดแพลตฟอร์มคริปโตฯ ต่างชาติ เพียงส่งข้อมูล การปิดกั้นขึ้นกับกระทรวงดีอี

Tech & Innovation

Digital Assets

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต. แจง ไม่มีอำนาจสั่งปิดแพลตฟอร์มคริปโตฯ ต่างชาติ เพียงส่งข้อมูล การปิดกั้นขึ้นกับกระทรวงดีอี

Date Time: 26 เม.ย. 2567 09:10 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • ก.ล.ต. แจง มีหน้าที่เพียงกล่าวโทษผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต และส่งข้อมูลให้กระทรวงดิจิทัลฯ เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์มต่างประเทศได้ การพิจารณาปิดกั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงดิจิทัลฯ

Latest


หลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการประชุมวันที่ 19 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา และได้มีมติให้ ก.ล.ต. นำส่งข้อมูลผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเป็นการป้องกันมิให้มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางในการนำทรัพย์สินจากการกระทำผิดไปฟอกเงิน อันเป็นการแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 

ที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ให้บริการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต และชักชวนให้มีการใช้บริการในประเทศไทย โดยกล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ตามบทบาทหน้าที่ รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ เช่น กรณี Binance และ กรณี Bybit นั้น

ล่าสุด นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการและโฆษก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ว่า สำหรับที่มาที่ไปของกรณี คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งมีการแต่งตั้งขึ้นมาตาม พ.ร.ก.อาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ เห็นว่าทุกวันนี้มีการหลอกทางออนไลน์เกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนจำนวนมาก ทั้งการหลอกลงทุน หลอกเข้าไปซื้อของผ่านเว็บ หลอกโรแมนซ์สแกม 

โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญกรณีนี้คือ พนักงานสอบสวนเห็นการหมุนเวียนเงินผ่านบัญชีม้า เงินไหลเร็วหลายทอด และได้มีการถอนออกมา แล้วนำส่งไปฟอกเงินผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านผู้ประกอบธุรกกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศ ดังนั้นจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องจัดการในหลายมาตรการ 

สำหรับ ก.ล.ต.เอง ในฐานะที่ดูแล พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ถ้าหากมีผู้ประกอบธุรกิจที่ทำธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วถูก ก.ล.ต.กล่าวโทษ เมื่อมีมติสั่งมาก็ต้องปฏิบัติตาม ทำหน้าที่ส่งข้อมูลเคสต่างๆ ไปให้ 

“กระบวนการหลังจากนี้จึงขึ้นอยู่กับทางกระทรวงแล้ว ซึ่งเขาจะต้องมีกระบวนการพิจารณา ว่าเหล่านี้เป็นแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เขาต้องมีการปิดกั้นใช่หรือไม่ ตรงนี้คือบทบาทหน้าที่ของกระทรวงดีอี ไม่ได้เกี่ยวกับ ก.ล.ต แล้ว เพราะ ก.ล.ต. เราบังคับใช้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล ก็คือ ใครทำธุรกิจต้องได้รับใบอนุญาต ใครไม่ได้ใบอนุญาต เราก็บังคับใช้กฎหมาย กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน พอเรากล่าวโทษก็จบแล้ว หน้าที่หลังจากนี้ขึ้นกับกระทรวงดีอีแล้ว ซึ่งเขาก็ทำตามกฎหมายของกระทรวงดีอี โดยขั้นตอนก็จะต้องพิจารณาว่าเห็นอย่างไร” นายเอนก กล่าว 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ