ก.ล.ต. ประกาศชัด ยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้มี Spot Bitcoin ETF ในประเทศไทย

Tech & Innovation

Digital Assets

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต. ประกาศชัด ยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้มี Spot Bitcoin ETF ในประเทศไทย

Date Time: 16 ม.ค. 2567 12:32 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • ก.ล.ต. ประกาศชัด ยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้มี Spot Bitcoin ETF ในประเทศไทย แต่กรณีของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถให้บริการลูกค้ารายย่อยไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศได้ แต่ต้องมีลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่สามารถออกเสนอขายในประเทศไทยได้

Latest


จากกรณีหน่วยงานกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (ก.ล.ต สหรัฐฯ) ได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนรวม Spot Bitcoin ETF และอนุญาตให้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ ขณะที่มีผู้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยบางแห่งได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ลงทุนออกไปลงทุน Spot Bitcoin ETF โดยตรงนั้น 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอแจ้งว่า ก.ล.ต. ได้ติดตามพัฒนาการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และยังไม่มีนโยบายที่จะอนุญาตให้มี Spot Bitcoin ETF ในประเทศไทย โดยเมื่อพิจารณาการระบุถึงประโยชน์ของ Spot Bitcoin ETF ที่ได้รับอนุญาตในประเทศสหรัฐฯ ที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนในบิตคอยน์ในกองทุนรวมที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ได้ รวมถึงประโยชน์ของการดูแลการเก็บรักษาบิตคอยน์ในกองทุนรวม ETF ที่ได้มีการกำกับจาก ก.ล.ต. สหรัฐฯ นั้น

ประเทศไทย ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2560 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล) ผู้ลงทุนไทยสามารถลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านการซื้อขายกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ศูนย์ซื้อขายฯ) ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ตลอดจนเพื่อให้การซื้อขายเป็นธรรมและโปร่งใส ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายฯ ที่ได้รับใบอนุญาต จำนวน 9 ราย โดยให้บริการการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีภายใต้ Listing Rule ของศูนย์ซื้อขายฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. อีกด้วย (บิตคอยน์เป็น 1 ในสกุลของคริปโตเคอร์เรนซีที่มีการซื้อขายอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว) รวมทั้งมีกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน เช่น กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ต้องมีระบบการบริหารจัดการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้ในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล (Wallet) และกุญแจ (Cryptographic Key) เพื่อให้การเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทรัพย์สินของลูกค้ามีความปลอดภัย

สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถให้บริการลูกค้ารายย่อยไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศได้ แต่ผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่สามารถออกเสนอขายในประเทศไทยได้ จากการที่ Spot Bitcoin ETF รวมถึงหลักทรัพย์อื่นที่อ้างอิงคริปโตเคอร์เรนซี เช่น Depositary Receipt (DR) เป็นหลักทรัพย์ที่ยังไม่สามารถออกเสนอขายในประเทศไทยได้ ดังนั้น จึงเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่อยู่ในขอบเขตที่ บล. สามารถให้บริการแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในประเทศลงทุนโดยตรงได้ รวมทั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้กองทุนรวมไปลงทุนตรงใน Spot Bitcoin ETF ได้โดยตรงเช่นกัน

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงการคุ้มครองผู้ลงทุนในการได้รับคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม และเห็นว่าพัฒนาการของ Spot Bitcoin ETF ในต่างประเทศยังอยู่ในระยะเริ่มต้น และอาจยังไม่ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยตรงที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น ก.ล.ต. จึงขอติดตามพัฒนาการ การกำกับดูแล และการดำเนินการในด้านต่างๆ ให้มั่นใจเพียงพอถึงมาตรการคุ้มครองดูแลผู้ลงทุน เพื่อพัฒนาแนวทางการกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ