ก.ล.ต.ยุค พรอนงค์ เป็นมิตรสินทรัพย์ดิจิทัล หนุนธุรกิจออกโทเคน ดันเข้าพ.ร.บ.หลักทรัพย์ดูแลเท่าเทียม

Tech & Innovation

Digital Assets

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.ล.ต.ยุค พรอนงค์ เป็นมิตรสินทรัพย์ดิจิทัล หนุนธุรกิจออกโทเคน ดันเข้าพ.ร.บ.หลักทรัพย์ดูแลเท่าเทียม

Date Time: 11 ต.ค. 2566 10:57 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • ก.ล.ต.ยุค ‘พรอนงค์’ เป็นมิตรสินทรัพย์ดิจิทัล หนุนธุรกิจออกโทเคน ดันเข้า พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ พร้อมดูแลเท่าเทียม

Latest


พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวถึงมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ในงาน “Meet the Press: ร่วมพูดคุยกับเลขาธิการ ก.ล.ต.” ว่า ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับภาพของการระดมทุน โดยเฉพาะเรื่อง Investment Token ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้พระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล ตอนนี้อยู่ระหว่างปรับแก้กฎหมายให้มาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อการกำกับดูแลที่เท่าเทียมกับสินทรัพย์แบบดั้งเดิม ซึ่งในกระบวนการปรับแก้กฎหมายนั้น ขณะนี้อยู่ในชั้นกฤษฎีกา

แต่ทาง ก.ล.ต. ก็ไม่ได้รอว่าจะต้องแก้เสร็จ ถึงจะปรับระบบนิเวศการกำกับและการพัฒนาให้เหมาะสม เพราะระหว่างทางก็ได้มีการดำเนินการปรับ พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งประเด็นที่มีความกังวลก็จะมีการเปิดเฮียริ่ง และสิ่งที่สำคัญอีกประการคือ จะต้องไม่เกิดความเหลื่อมล้ำกันระหว่างหลักทรัพย์ดั้งเดิม และสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องไม่เกิด Regulatory arbitrage ที่ผู้ระดมทุนมาเลี่ยงเกณฑ์แล้วทำง่ายกว่า ทำตามเกณฑ์แล้วยากกว่า สิ่งเหล่านี้เราไม่อยากเห็น 

“หากพูดถึงสินทรัพย์ดิจิทัล มองว่าโลกในอนาคตมันเป็น เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออยู่แล้ว ดังนั้น ก.ล.ต.จึงต้องการที่จะส่งเสริมภายใต้การคุ้มครองผู้บริโภค และภายใต้กฎหมายที่เหมาะสม แต่จะไม่ส่งเสริมการเก็งกำไรในคริปโตโดยที่ไม่รู้ความเสี่ยง หรือการที่จะพยายามทำให้เหรียญต่างๆ กลายเป็น  Mean of Payment” คุณพรอนงค์ กล่าว  

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ประชุมร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการกำกับดูแลฯ ในปัจจุบัน และแนวทางในการผลักดันในอนาคต โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจให้มีความเหมาะสมตามลักษณะและความเสี่ยง (same activity, same risk, same regulatory outcome) 

“ก.ล.ต.ค่อนข้างชัดเจนเรื่องเหล่านี้ โดยในการพูดคุยกับ TDO ทางเราก็รับฟังในประเด็นที่ว่าจะช่วยให้เขาสามารถจะแข่งขันได้ภายใต้บริบทที่เหมาะสมกับประเทศ บทบาทของเราคือ Facilitator บางเรื่องเราก็นำไปคุยต่อกับกระทรวงการคลัง เช่น ความชัดเจนของภาษีต่างๆ เหล่านี้ โดยสรุป การกำกับดูแล ก.ล.ต.ก็กำกับตามฐานความเสี่ยง ถ้าเสี่ยงมากกำกับเข้ม เสี่ยงน้อยก็เบาลง เพราะเราก็ไม่อยากจะไปปิดกั้นในเรื่องที่เป็นพัฒนาการที่ดีกับคนที่ใช้งาน” คุณพรอนงค์ กล่าวทิ้งท้าย. 


 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ