ทำไมผลตัดสิน Ripple ชนะคดี ก.ล.ต.สหรัฐฯ ถึงสำคัญต่ออนาคตวงการคริปโตฯ ทั่วโลก ?

Tech & Innovation

Digital Assets

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ทำไมผลตัดสิน Ripple ชนะคดี ก.ล.ต.สหรัฐฯ ถึงสำคัญต่ออนาคตวงการคริปโตฯ ทั่วโลก ?

Date Time: 14 ก.ค. 2566 19:22 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • - คดี Ripple Labs กับ SEC สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยศาลสหรัฐฯ ตัดสินว่า Ripple ไม่มีความผิด ซึ่งส่งผลให้ราคาของ XRP เพิ่มขึ้นมากกว่า 98% ในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง
  • - Ripple Labs เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและเป็นผู้พัฒนาสกุลเงินดิจิทัล XRP
  • ซึ่งถูก SEC ฟ้องร้องว่าขาย XRP และไม่ได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ แต่ Ripple โต้แย้งว่า XRP เป็นสกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่หลักทรัพย์
  • - คดีนี้มีผลในทางกฎหมายและอาจมีผลกระทบต่ออนาคตของอุตสาหกรรมคริปโตฯ ทั่วโลก โดยผลต่อตลาดคริปโตฯ อาจเป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

Latest


ในที่สุดคดีก็เป็นที่สิ้นสุด สำหรับกรณีข้อพิพาทระหว่าง Ripple Labs และ ก.ล.ต.สหรัฐฯ โดยศาลสหรัฐฯ ตัดสินเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 จากกรณีที่ SEC ฟ้องร้อง Ripple Labs ว่าละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลางด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนนั่นก็คือเหรียญ XRP โดยผลการตัดสินออกมาว่า Ripple ไม่มีความผิด จาก Twitter ของ Watcher.Guru เมื่อคืนวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 22.45 น. ราคาของ XRP ก็ได้พุ่งทันทีกว่า 98% ภายในระยะเวลาเพียง 3 ชั่วโมง ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเหรียญ Altcoin ตัวอื่นเช่นกัน

Ripple Labs และ XRP

ก่อนอื่นต้องเท้าความให้รู้จักและเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องของ Ripple Labs และเหรียญ XRP ซึ่งเป็นสองชื่อตัวละครหลักสำหรับเหตุการณ์ในครั้งนี้ 

บริษัท Ripple Labs เป็นเครือข่าย Blockchain ซึ่งเป็นตัวกลางในการรับชำระเงิน สำหรับสถาบันการเงินโดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัล สกุลเงิน XRP

โดยทาง Ripple ระบุว่า XRP คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่สร้างขึ้นมาเพื่อการชำระเงิน และสามารถใช้ชำระได้เร็วกว่า Bitcoin และ Ethereum รวมถึงต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีกรณีการใช้งานจริง

ซึ่งทาง Ripple มีเทคโนโลยี RippleNet เป็นเครือข่ายของผู้ให้บริการชำระเงินประเภทสถาบัน โดยใช้โซลูชันที่บริษัทพัฒนาในการส่งและรับชำระเงินสำหรับสถาบันการเงินผ่านการใช้เทคโนโลยีกระจายบัญชีแยกประเภท (distributed ledger) และการเชื่อมต่อโปรแกรมอัตโนมัติ (API - Automatic Program Interface) จึงทำให้การชำระเงินข้ามพรมแดนเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ และสามารถติดตามการชำระเงินได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

Ripple Labs vs ก.ล.ต.สหรัฐฯ

สำหรับเหตุการณ์ฟ้องร้องที่เกิดขึ้นต้องย้อนกลับไปในปี 2020 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ SEC (Securities and Exchange Commission) กล่าวหาว่า Ripple ละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลาง โดยทำการระดมทุนมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท) ผ่านการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน

โดย ก.ล.ต. สหรัฐฯ ระบุว่า ซีอีโอของบริษัท Brad Garlinghouse และ Christian Larsen ผู้ร่วมก่อตั้ง ระดมทุนเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับธุรกิจของบริษัทมาตั้งแต่ปี 2013 ผ่านการขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่รู้จักกันในชื่อ XRP ซึ่งก.ล.ต. สหรัฐฯ กล่าวหาว่าเป็นการขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนแก่นักลงทุนทั้งในสหรัฐฯ และนักลงทุนทั่วโลก

นอกจากนี้ ก.ล.ต. สหรัฐฯ ยังให้เหตุผลว่า XRP ควรนับว่าเป็นหลักทรัพย์แทนที่จะเป็นสกุลเงินดิจิทัล ดังนั้นจึงต้องได้รับการจดทะเบียนตามข้อกำหนดการลงทะเบียนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ

ขณะที่ทาง Ripple เอง ก็ออกมาโต้แย้งว่า XRP ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัล ไม่ใช่หลักทรัพย์ จึงไม่เข้าเกณฑ์การควบคุมของ ก.ล.ต. สหรัฐฯ โดยยืนยันว่า XRP ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลกระจายศูนย์ (Decentralized) เช่นเดียวกับ Bitcoin ที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ เคยระบุว่าไม่ใช่หลักทรัพย์

ทั้งนี้ Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ เองยังเคยกล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่า Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลเพียงสกุลเดียวที่เขาถือว่าไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการกำกับดูแลของ ก.ล.ต.

ทำไมผลคดีของ Ripple ถึงสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมคริปโตฯ ทั่วโลก? 

ผลคดีที่ออกมา การระบุว่า XRP เป็นหรือไม่เป็นหลักทรัพย์นั้นค่อนข้างมีความสำคัญเพราะมีผลในทางกฎหมาย ซึ่งการที่ศาลตัดสินว่า XRP ไม่ใช่หลักทรัพย์ก็แปลว่าไม่ได้อยู่ภายใต้ความดูแลของ ก.ล.ต. และถ้าหากถูกจัดอยู่ในประเภทสินค้าโภคภัณฑ์จะมีคณะกรรมาธิการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity Futures Trading Commission (CFTC) กำกับดูแล เพียงแต่ CFTC ยังไม่มีอำนาจกำกับดูแลการซื้อขาย Spot อย่างที่ ก.ล.ต. มีในการดูแลหลักทรัพย์

ขณะที่บริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้ออกบทความตั้งข้อสังเกตจากผลคดีดังกล่าวว่า จากเนื้อหาเอกสารจากศาลจะพบว่าทาง Ripple นั้นชนะคดีความแต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะยังมีประเด็นการขาย XRP ให้กับสถาบันจะยังถือว่า XRP เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ แต่ในส่วนที่ชนะคือการเปิดขายให้แก่รายย่อยบน Exchange ต่างๆ ที่ไม่ถือว่าเข้าข่ายหลักทรัพย์ หลังจากคำตัดสินของศาลเสร็จสิ้นว่าการขาย XRP ในตลาดรองไม่ถือเป็นการระดมทุน ทำให้ Coinbase, Binance US และ Gemini กลับมาเปิดให้ซื้อขาย XRP ใน Exchange อีกครั้ง และส่งผลให้ Venture capital (VC) ในสหรัฐฯ อาจไม่ได้รับความนิยมมากดังเช่นแต่ก่อน ซึ่งทางออกอาจจะมาในรูปของการย้ายออกของ VC ในสหรัฐฯ หรือการระดมทุนทางอื่นก็เป็นได้

หากลงรายละเอียดในส่วนของผลคำตัดสินของศาล สามารถแยกออกได้เป็น

  1. การเปิดให้ขายในตลาดรองให้รายย่อย (Exchange) 
  2. อดีต CEO ขายเหรียญบนตลาดรอง 
  3. การบริจาคด้วยเหรียญ XRP 

สาเหตุดังกล่าวไม่ถือเป็นการระดมทุน จึงไม่เข้าข่ายการถือเป็นหลักทรัพย์ 

และถึงอย่างไรก็ยังนับเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดคริปโตฯ เพราะบรรทัดฐานจากคำตัดสินนี้จะช่วยคลี่คลายประเด็นต่างๆ ไปทันทีจากการฟ้อง Coinbase และ Binance ก่อนหน้า และโปรเจกต์ต่างๆ ที่ต้องการทำเหรียญก็รู้แนวทางแล้วว่าห้ามเข้าไปยุ่งกับสถาบันด้านการเงินการลงทุน

อ้างอิง

SEC, CoinDesk, บทวิเคราะห์จาก Cryptomind


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ