เป็นไปได้แค่ไหน…ที่ไทยจะขึ้นแท่นบล็อกเชนฮับระดับภูมิภาคอาเซียน

Tech & Innovation

Digital Assets

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

Tag

เป็นไปได้แค่ไหน…ที่ไทยจะขึ้นแท่นบล็อกเชนฮับระดับภูมิภาคอาเซียน

Date Time: 17 ม.ค. 2566 16:35 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • เจาะลึกหลากมุมมองจากทั้งผู้พัฒนา นักลงทุน และฝั่งกำกับดูแลว่า สำหรับประเทศไทยแล้ว สามารถที่จะมีความหวัง หรือสร้างความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่จะทำให้เป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคอาเซียนได้

Latest


ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่าอุตสาหกรรมบล็อกเชนในประเทศไทย ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝั่งของผู้ลงทุน นักพัฒนา รวมถึงภาคธุรกิจต่างๆ ที่กำลังสำรวจแนวทางในการนำมาปรับใช้กับภาคธุรกิจ รวมถึงแนวโน้มที่จะเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่จะดึงศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทยบนเวทีโลก ดังนั้น Thairath Money จะมาเจาะลึกหลากมุมมองจากทั้งผู้พัฒนา นักลงทุน และฝั่งกำกับดูแลว่า สำหรับประเทศไทยแล้ว สามารถที่จะมีความหวัง หรือสร้างความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่จะทำให้เป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคอาเซียนได้ 

สัญชัย ปอปลี : ฤดูหนาวคริปโต ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการสร้างนวัตกรรมใหม่

นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cryptomind Advisory
นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cryptomind Advisory

นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cryptomind Advisory ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Cryptomind Group ในฐานะผู้จัดงาน Blockchain Genesis Thailand มหกรรมบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมในประเทศไทย คนที่ซื้อขายบล็อกเชนหรือว่าด้านคริปโตเคอร์เรนซีก็ยังเป็นคนจำนวนน้อยอยู่ ประมาณหลักแสนคน ประมาณแสนถึงสองแสนคน ทีนี้ถัดมาใน 4 ปีข้างหน้าก็คือปี 2022 ทุกวันนี้ในประเทศไทยมีคนซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ประมาณ มากกว่า 3 ล้านคน อ้างอิงตัวเลขจาก ก.ล.ต.

เมืองไทยมีอัตราการยอมรับของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอันดับที่ 12 ของโลก เรามีประชากรที่ตื่นตัวเรื่อง NFT DeFi เรื่องของการลงทุน เรื่องการใช้บล็อกเชนในเรื่องต่างๆ แล้วมี Builder ที่เป็นคนระดับโลกด้วย ก็จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มันเติบโตมาตั้งแต่หลักแสนคน มาจนถึงหลักล้านคน

แม้ว่าในช่วงปีที่ 2022 ที่ผ่านจะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมคริปโตโดยรวม รวมถึงเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ตรงนี้ถ้ามองในมุมของกลุ่มนักพัฒนา ถือเป็นจุดที่ดีที่สุดในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

“สังเกตได้ว่ายูนิคอร์นต่างๆ ในโลกของ Web3 ส่วนใหญ่มักจะเป็นการสร้างในฤดูหนาวคริปโตทั้งนั้น แต่ถ้าเราย้อนไปดูปี 2021 นวัตกรรมอะไรต่างๆ ก็ออกมาแล้วก็ราคาขึ้นหมด สวยหรูไปหมด แต่ในปี 2022 ผมมองว่า มันมีหลายๆ เหตุการณ์ที่ทำให้นักลงทุนมือใหม่ได้เรียนรู้ว่า ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง แต่มุมของคนที่กำลังสร้างอยู่ ก็ยังสร้างอะไรพวกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ตลาดขาลง โอกาสสำหรับผู้พัฒนา ถ้าย้อนไปดูนวัตกรรมอย่าง DeFi ก็เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อช่วงสามสี่ปีที่แล้ว ถูกสร้างขึ้นในช่วงตลาดหมี และมีการยอมรับในช่วงขาขึ้น” นายสัญชัย กล่าว

ดังนั้นถ้ามองในมุมของผู้สร้างในอุตสาหกรรมบล็อกเชน เชื่อว่าโปรเจกต์หลายๆ อันของประเทศไทย เริ่มกลายเป็นที่ยอมรับระดับโลกไปแล้ว โดย คนทั่วโลกศึกษาและลงทุนกันอยู่และใช้ผลิตภัณฑ์จริง เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริษัทใหญ่ต่างๆ เริ่มเปิดสาขาในประเทศไทยแล้วเหมือนกัน บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างศึกษาไทยอย่างชัดเจน และใกล้ชิดมากๆ ถือว่าเป็นโอกาสสูงในเมืองไทยที่ว่าจะเป็นฮับในเรื่องของบล็อกเชนได้ในระดับอาเซียน

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ : ความรู้ ประตูด่านแรกที่ต้องผ่านก่อนเข้าสู่วงการสินทรัพย์ดิจิทัล

นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยและเจ้าของเพจ Bitcast
นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยและเจ้าของเพจ Bitcast


นายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยและเจ้าของเพจ Bitcast กล่าวว่าสมัยก่อนเรามองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เราใช้ส่งข้อมูลกัน ซึ่งบล็อกเชนก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน แต่เราส่งข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นมูลค่า เพราะฉะนั้นเวลาที่เราสามารถส่งคุณค่าระหว่างกันได้ จึงมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปปรับใช้กับ เรื่องของการเงินการลงทุน จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเมื่อเวลาเราพูดถึงบล็อกเชน จะนึกถึงเรื่องของการเงินและการลงทุน

สำหรับคนไทย จะเห็นได้ว่ามีการตื่นตัวในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การที่เราจะไปลงทุนนั้น ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว อย่างทั้งสมาคมเองก็พยายามจะเผยแพร่ความรู้ ให้ทุกคนเข้าใจว่าเทคโนโลยีนี้มันคืออะไร และต้องทำให้คนเข้าใจว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนมันเป็นแค่ฟันเฟืองหนึ่งในอุตสาหกรรมนี้เท่านั้นเอง ไม่ใช่ทั้งหมดของอุตสาหกรรม แล้วก็คนควรจะโฟกัสมุมอื่นด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องของการซื้อการขายเพียงอย่างเดียว เพราะว่าในอุตสาหกรรมนี้ยังรอคนที่จะมาพัฒนาโปรเจกต์ใหม่ๆ ที่มันจะสามารถตอบโจทย์คนในยุคถัดๆ ไปได้

“ผมคิดว่าทุกคนเห็นตรงกันว่า การที่เราพยายามส่งเสริมให้คนที่เข้ามาในอุตสาหกรรมมีความรู้ เป็นปัจจัยแรกเลยที่จะทำให้อุตสาหกรรมมันเติบโตได้อย่างยั่งยืน ประการที่สอง คนที่เข้ามาจะต้องมีความถนัดด้วยว่าเทคโนโลยีมันคืออะไร มันเอาไปทำอะไรได้บ้าง ไม่ใช่ว่ามองแต่ราคาอย่างเดียว เราดูถึงพื้นฐานทางเทคโนโลยี ดูถึงปัจจัย อันถัดมาก็คือ ผู้พัฒนาเองก็ควรจะต้องมองถึงระยะยาวด้วย ไม่ใช่ว่าสร้างแอปพลิเคชันออกมาเพื่อจะเน้นราคาให้เหรียญมันขึ้นอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้เน้น Value Proprosition หรือประโยชน์ของผู้ที่ใช้งานเป็นหลัก ถ้าเราสร้างโปรเจกต์เน้นประโยชน์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก ผมเชื่อว่าโปรเจกต์นั้นมันจะเติบโตได้ในระยะยาวอยู่ดี” นายศุภกฤษฎ์ กล่าว

สุดท้ายแล้ว การที่อุตสาหกรรมบล็อกเชนในไทยจะสามารถเติบโตได้ในระยะยาวนั้น ไม่ใช่เเค่เรื่องคนใช้งาน เรื่องผู้พัฒนา แต่เป็นเรื่องของการกำกับดูแล แล้วก็การสนับสนุนจากภาครัฐด้วย ที่อาจจะมีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้ทดลอง ไอเดียใหม่ด้วยเช่นกัน

ตฤบดี อรุณานนท์ชัย : บล็อกเชน ปลดล็อกศักยภาพภาคการเงินเป็นไปอย่างไร้ขีดจำกัด

นายตฤบดี อรุณานนท์ชัย รองประธานบริษัท Velo Labs Technology
นายตฤบดี อรุณานนท์ชัย รองประธานบริษัท Velo Labs Technology


นายตฤบดี อรุณานนท์ชัย รองประธานบริษัท Velo Labs Technology ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่นำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในระบบการเงินระหว่างประเทศ กล่าวว่า
บล็อกเชน จริงๆ แล้ว ไม่ใช่สินทรัพย์เพื่อการลงทุน เทคโนโลยีเอาไว้เพื่อทำให้คนมีประสิทธิภาพทางการเงินมากขึ้น โดยเทคโนโลยี ต้องการสร้าง borderless หมายถึง การเงินไร้พรมแดน formless หมายถึงรูปแบบทางการเงินต่างๆ ที่ไม่ได้จำกัดรูปแบบเดียว limitless ก็คือรูปแบบทางการเงินที่มีศักยภาพไม่จำกัด ไร้ขีดจำกัด สุดท้าย trustless การเงินแบบไม่มีตัวกลาง เพราะฉะนั้นจริงๆ บล็อกเชนสามารถมาประยุกต์ใช้ได้มากมาย

สำหรับ Velo เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยคนไทย ที่มีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศทั่วโลก แต่ตลาดเป้าหมายของ Velo คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจริงๆ แล้วภูมิภาคนี้เป็นตลาดโอนเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการโอนเงินกว่าหลายล้านล้านเหรียญต่อปี อยู่ที่ประมาณ 10-30 ล้านล้านเหรียญ ดังนั้นจึงเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และประเทศไทยเองก็ถือเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วย

ซึ่งถ้าให้มองถึงศักยภาพของประเทศไทย จริงๆ แล้วไทยเป็นตลาดที่ใหญ่มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงิน แต่ไม่มีตลาดของผู้ใช้ และตลาดผู้ใช้ของไทย จริงๆ แล้วใหญ่กว่าเวียดนามด้วยซ้ำ ถ้าดูตอนที่คริปโตยังพีกอยู่ ไทยถือเป็นตลาดที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่สุดของอาเซียน มีตลาดใหญ่ และผู้ใช้จริง

ด้านนักพัฒนาของไทย ถือได้ว่าดีที่สุดในอาเซียน ในอนาคตคาดหวังว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ภาครัฐบาลเอง ประเทศไทยมีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน ที่แม้แต่เวียดนามเองก็ยังไม่มีใบอนุญาตที่สมบูรณ์ แต่ของไทยถือว่าเทียบชั้นสิงคโปร์แล้ว

จากองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความพร้อมไม่น้อย แต่สิ่งที่ต้องเพิ่ม คือ ความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลที่จะเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพพัฒนาความสามารถของระบบบล็อกเชน ที่ไม่ได้เพื่อว่ามาแทนที่ธนาคาร แต่สามารถเชื่อมโยงกับธนาคารได้มากขึ้น เพื่อที่จะผลักดันให้ไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางบล็อกเชนของอาเซียนได้

“ผมคิดว่าเราก็ต้องการนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะว่าคริปโตเคอร์เรนซี ไม่ใช่แค่สินทรัพย์ทางการเงินเท่านั้น อย่าง stable coin ก็เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินได้ ในอนาคตก็มีเทคโนโลยีบล็อกเชนอื่นๆ ที่ใช้ในการซื้อขายทรัพย์สิน หรืออย่าง carbon credit เราต้องการให้ภาครัฐออกนโยบายเพื่อรองรับรูปแบบต่างๆ ของบล็อกเชนมากขึ้น เราต้องการให้รัฐบาลออกนโยบายทางการเงินให้เราสามารถเทียบชั้นสิงคโปร์ได้ เพราะตอนนี้ที่ไทยเราขาดจริงๆ เป็นเรื่องของการระดมเงิน ถ้าเรามีนโยบายทางการเงินที่ดีเหมือนสิงคโปร์ พอเรามีเรื่องการระดมเงินเป็นศูนย์กลางการระดมเงินได้เท่าสิงคโปร์แล้ว เรื่องขนาดตลาด เรื่องของบุคลากร เรื่องของการกำกับดูแลเราพร้อม ผมคิดว่าเราน่าจะแซงสิงคโปร์ได้ในไม่ช้า” นายตฤบดี กล่าว

นภนวลพรรณ ภวสันต์ : มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างพลังนวัตกรรม กับการคุ้มครองผู้ลงทุน

ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต.
ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต.


ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ก็เป็น Regulator ในการกำกับดูแล ตัวสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นคริปโตเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล ก็จะกำกับดูแลในแง่ของการออกเสนอขาย และการประกอบธุรกิจ

ปัจจุบันการประกอบธุรกิจเรามีใบอนุญาตแล้ว 6 ใบอนุญาต ประกอบด้วย exchange broker dealer investment advisor fund manager ในลักษณะของ Private Fund แล้วก็ใบอนญาตใหม่จะเป็น Custodian wallet provider

สำหรับพัฒนาการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในปัจจุบันไปด้วยความรวดเร็ว แล้วก็มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ในฝั่งของตลาดแรก ก.ล.ต.จะมีการปรับเกณฑ์ในส่วนของการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกเพื่อการระดมทุน เพื่อให้สอดคล้องกับการกำกับดูแลในฝั่งของหลักทรัพย์ ในเรื่องของการออกเสนอขาย

ฝั่งของตลาดรองเราก็มีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Listing Rule กฎเกณฑ์เรื่องการป้องกันการฟอกเงินหรือว่า Conduct ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางของต่างประเทศ แล้วก็มีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม

ในส่วนของระยะยาวก็จะมีการปรับปรุงตัวกฎหมาย ทบทวนกฎหมายโดยการจะย้ายเอาตัว Investment Token และการออกโทเคนที่เป็นการระดมทุนไปอยู่ภายใต้พ.ร.บ.หลักทรัพย์ให้สอดคล้องกับแนวทางสากล

“ก.ล.ต.มีการทบทวนการกำกับดูแลให้มีความเหมาะสม
โดยต้องมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้สอดคล้อง ตามหลักของ same risk same rule มากที่สุด ก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเดียวกัน มีความเสี่ยงแบบเดียวกันก็ควรที่จะมีการกำกับดูแลที่สอดคล้องกัน โดยหลักการของ Regulator ไม่ใช่เฉพาะ ก.ล.ต. แต่เป็นทั่วประเทศก็คือ เราจะต้องมีการส่งเสริมนวัตกรรม แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการมีการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสมด้วย เพราะเราต้องการเป้าหมายในระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจนี้มีการเติบโตได้อย่างยั่งยืน” ดร.นภนวลพรรณ กล่าว

สำหรับในแง่ของการสร้างความสมดุล และความท้าทาย ต้องยอมรับว่าตัวสินทรัพย์ดิจิทัลมันเป็นของใหม่ และมันก็มาพร้อมกับความเสี่ยง ในขณะที่ถ้าเกิดว่าตลาดเราเติบโตขึ้นอย่างต่อเนือง แลัมีผู้ลงทุนเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องมีการคำนึงถึงการคุ้มครองผู้ลงทุนด้วย โดยสิ่งที่ก.ล.ต. ทำเสมอก็คือมีการพูดคุยกับฝั่งผู้ประกอบธุรกิจทุกครั้ง ก่อนเราออกกฎเกณฑ์เราก็จะมีการออก Public hearing และเราก็เอาความเห็นที่ได้รับ มาปรับปรุงกฎเกณฑ์ได้มากขึ้น ในอนาคตต้องมีการพัฒนา รวมถึงดูแนวทางของต่างประเทศควบคู่ไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้

กัมปนาท วิมลโนท : Web3 ยุคที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จะไม่ถูกยึดโยงไว้แต่กับคนตัวใหญ่

นายกัมปนาท วิมลโนท ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายลงทุน  Kasikorn X  (KX)
นายกัมปนาท วิมลโนท ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายลงทุน Kasikorn X (KX)


นายกัมปนาท วิมลโนท ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายลงทุน Kasikorn X (KX) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เราใช้ Web3 ค่อนข้างเยอะ เราเป็นประเทศหนึ่งที่คริปโตเคอร์เรนซีคนไทยใช้ทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงิน การโอนเงิน หรือพยายามใช้บล็อกเชนในการทำธุรกรรมหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับอย่างมหาศาลฝั่งผู้ใช้รายย่อย หรือจะเป็นฝั่งของ Corporate

จริงๆ บล็อกเชนสามารถใช้ได้กับหลายๆ อุตสาหกรรมในโลกของ Web2-Web3 โดย Web2 เป็นที่ลูกค้าระบบนิเวศ และผู้ใช้งานต่างๆ นานา สามารถที่จะอัปโหลด ดาวน์โหลดข้อมูลได้ มีการดำเนินการระหว่างกัน ระหว่างคนที่เป็นผู้ให้บริการ

แต่ในโลกของ Web3 เอง จะบอกว่า Web2 เอาเงินต่างๆ นานาที่ได้จากการทำธุรกิจที่ได้จากการให้บริการกับคนทั่วไป เอาให้ผู้ถือหุ้นอย่างเดียว ดังนั้นแปลว่าใน Web3 สิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกทั้งหมดจะเป็นการที่เขาเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ทั้งหมดจะถูกเอาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาให้ระบบนิเวศ และผู้มีส่วนช่วยในสังคม เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยคอมมูนิตี้แทน

Web3 สตาร์ทอัพในเมืองไทยต้องบอกว่าน่าสนใจมาก เพราะว่าในเมืองไทยเป็นประเทศที่มีความต่างจากประเทศอื่นๆ มากพอสมควร ถ้าจะยกตัวอย่างเช่นเวียดนามก็จะเป็นประเทศที่คนก็ยังจะเด็กกว่า และคนส่วนมากก็ต้องการหาเงินมาก เป็นเด็กที่ใช้มือถือเป็นหลัก แล้วก็เล่นเกม ในเวียดนามส่วนมากคนก็จะ Moblie First เพราะฉะนั้นสตาร์ทอัพ Web3 ในเวียดนามจะเน้นเกมเป็นหลัก

สิงคโปร์ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง สิงคโปร์เป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน สตาร์ทอัพในสิงคโปร์ส่วนมากก็จะเป็นบริษัทแบบเดิมค่อนข้างเยอะ เป็นที่ที่บริหารเงินให้กับ Corporate เป็นหลักในเรื่องของบล็อกเชน เราจะเจอ Custodian บริการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลเยอะมากให้กับ Corporate หรือว่าเป็นที่ที่ดูแลความมั่นคั่งให้กับลูกค้า

ในขณะที่ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ผสม เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเราก็มีคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยี และมีการยอมรับในดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

“ธุรกิจในเมืองไทยมีเคสที่เป็นลูกครึ่งที่เป็นตลาดเกิดใหม่แบบเวียดนาม แล้วก็เราก็มีความมั่งคั่งค่อนข้างเยอะ Corporate ในไทยประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก เราก็จะเป็นลูกครึ่งระหว่างเวียดนามและสิงคโปร์ ดังนั้น use case ในเมืองไทยมีทั้งสองแบบทั้งที่เป็น dApp ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น NFT GameFi Play to Earn หรือ Whatever to Earn คนรุ่นใหม่ยอมใช้และใช้อย่างร?


Author

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)

ลภัสรดา พิพัฒน์ (รดา)
Leading efforts to deliver content on the Digital Economy and the Future of Money.