ปัจจุบันความต้องการด้านการบริหารจัดการข้อมูลแบบครบวงจรเพิ่มมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล โดยเฉพาะศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center รวมถึงพลังงานที่ต้องใช้เพื่อการทำงานของ Data Center เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประเด็น ‘การเติบโตอย่างยั่งยืน’ ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ให้บริการตลอดจนผู้ใช้ให้ความสำคัญและมุ่งหาโซลูชัน เพื่อลดผลกระทบจากเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมา การรวมเรื่องความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินงานทางเทคโนโลยี คือ ความท้าทายสำคัญ เพราะ เมื่อใดที่ธุรกิจขยายโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของตน ธุรกิจเหล่านั้นจะต้องหาแนวทางบริหารจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ดังนี้
นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานไอทีแล้ว บริษัทต้องพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุม โดยพิจารณาถึงผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่จะมีต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมถึงการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การใช้โซลูชันทางเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น โครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จอาจช่วยให้ธุรกิจลดการใช้พลังงานและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำงานให้ดีขึ้น
ตัวอย่างเทคโนโลยี Data Center ผลสำรวจ Enterprise Cloud Index (ECI) ระบุว่า จะมีการใช้ไฟฟ้ามากถึง 3 % ของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งเทียบเท่ากับการจ่ายไฟให้เมืองนิวยอร์ก 10 เมือง ในระยะเวลาหนึ่งปี และในระยะเวลาหนึ่งปี Data Center หนึ่งแห่งใช้พลังงานต่อหัว มากกว่าการใช้ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร และคาดว่าจะมีการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 4% ภายในปี 2573 แม้ว่าผลกระทบจากการใช้พลังงานเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะยังต้องพิจารณาประเด็นต่างๆ เช่น การใช้น้ำ และการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ประกอบกันด้วย
การผสานความร่วมมือจากทุกอุตสาหกรรม จะแสดงออกให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ เช่น บริษัทด้านเทคโนโลยีต้องทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์และพันธมิตรเพื่อส่งเสริมการให้บริการอย่างมีความรับผิดชอบ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากซัพพลายเชนฟุตพริ้นท์ของบริษัท
กฎระเบียบยังส่งผลต่อรูปแบบของความยั่งยืนของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี หลายประเทศกำลังออกกฎระเบียบต่างๆ ที่กำหนดให้ธุรกิจลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และใช้แนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น รัฐบาล ยกตัวอย่าง ออสเตรเลีย ประกาศลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ 1.2 พันล้านดอลลาร์ โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 รัฐบาลจึงเร่งผลักดันนโยบาย สร้างแรงจูงใจต่างๆ เช่น แรงจูงใจด้านภาษี และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกมาตรการต่างๆ เช่นมาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของไทยดำเนินการในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกเหนือจากกระบวนการต่างๆ แล้ว องค์กรต้องพิจารณาด้านการลงทุนกับชุมชุนในท้องถิ่น สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม การลงทุนเพื่อให้ชุมชนที่องค์กรดำเนินกิจการอยู่มีความเป็นอยู่ที่ดี จะช่วยให้เราสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกคนได้
ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณานำมาใช้กับทุกแง่มุมของการทำธุรกิจในปัจจุบัน แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนต่างๆ จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มชื่อเสียงให้กับแบรนด์ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับความ ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะดึงความสนใจและรักษาลูกค้าที่ต้องการทำงานกับองค์กรที่เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับแนวทางที่สอดคล้องกับตนไว้ได้
ผลสำรวจแนะนำว่า ในความเป็นจริงความยั่งยืนทางเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์กรต้องการวิธีการที่เหมาะกับตนเพื่อพัฒนาและทำให้กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นจริงได้องค์กรควรคิดแบบองค์รวมและพิจารณาผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมิติทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับความยั่งยืน เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและส่งผลที่มีนัยสำคัญ