เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ “Green Finance” ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า “ระเบียบโลกใหม่”

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดภารกิจ 3 แบงก์ไทย ใช้ “Green Finance” ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า “ระเบียบโลกใหม่”

Date Time: 2 มิ.ย. 2567 10:03 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • เมื่อโลกเปลี่ยนกฎ ธุรกิจต้องปรับตัว ผู้บริหารของ 3 ธนาคารชั้นนำของไทย ได้แชร์แนวคิด "บทบาทธนาคารบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน" ในงานเสวนาฉลองครบรอบ 1 ปีของ “Thairath Money” พร้อมภารกิจ ใช้ “Green Finance” ช่วยลูกค้าปรับตัวฝ่า “ระเบียบโลกใหม่”

Latest


ในยุคที่เศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ธนาคารและสถาบันการเงินจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว และการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Finance)


โดยผู้บริหารของ 3 ธนาคารชั้นนำของไทย ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ ได้แชร์แนวคิดเกี่ยวกับ บทบาทธนาคารบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน และแนวทางกลยุทธ์ในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในงานเสวนาฉลองครบรอบ 1 ปีของ “Thairath Money” ไว้อย่างน่าสนใจ


“ธนาคารออมสิน” เดินหน้าภารกิจช่วยสังคม-สิ่งแวดล้อม


วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) มีการเดินหน้าภารกิจเชิงสังคม และมุ่งสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่คอนเซปต์ใหม่ที่เรียกว่า CSV (Creating shared value) ซึ่งพูดถึงกระบวนการทำงานที่ใส่ปัจจัยเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในธุรกิจ ทำให้ผลการดำเนินงานสูงขึ้น และนำผลกำไรนั้น ไปแบ่งปันให้กับโครงการสังคม


ปัจจุบันธนาคารนำเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ โดยตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2593 โดยจะเข้าไปสนับสนุนอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม จากการให้สินเชื่อที่มีการลดดอกเบี้ย และไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านหิน เป็นต้น


ใช้ ESG Score ลดดอกเบี้ยสินเชื่อ หนุนธุรกิจสีเขียว


วิทัย กล่าวอีกว่า ธนาคารออมสิน ได้มีการทำ Green Loan ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งรายย่อย เอสเอ็มอี และธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งสิ่งที่จะเข้าไปผลักดันเพิ่ม คือ การช่วยทำให้ Positive Impact เกิดขึ้นจริง ให้การดำเนินงานเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล มีความชัดเจน มีมาตรฐาน และเกิดผลกระทบเชิงบวกจริง


รวมทั้งได้มีการสร้าง ESG Score ใหม่ เพื่อนำมาใช้พิจารณาปล่อยสินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินมากกว่า 500 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งพัฒนาต่อมาจากแนวทางการลงทุน หากบริษัทที่ขอสินเชื่อได้คะแนนดี จะมีการลดดอกเบี้ยให้ 0.05-0.25% เป็นอย่างน้อย ซึ่งมีการปล่อยสินเชื่อจากการพิจารณาดังกล่าวแล้วกว่าแสนล้านบาท


สำหรับปี 2567 นี้ ธนาคารออมสินมีเป้าหมายในการขยายการมีส่วนร่วมในเชิงบวก หรือ “Positive Engage” ในการให้ความช่วยเหลือ ผลักดัน และใช้ความได้เปรียบ ในการมีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เปลี่ยนผ่านและดำเนินการเรื่องความยั่งยืน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น


ธนาคารคือหัวใจ ช่วยธุรกิจเข้าสู่ ESG  


ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาคธุรกิจในเวลานี้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหลายบริษัทมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ซึ่งธนาคารถือเป็นหัวใจสำคัญที่เป็นคานงัดในระบบเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคธุรกิจ ผ่านลูกค้าของธนาคาร


ในช่วงที่ผ่านมา มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อสอดรับกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และธนาคารกรุงเทพได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หลักการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่สมาคมธนาคารไทยกำหนดให้การปล่อยสินเชื่อต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมองว่าหากควบคุมการให้สินเชื่อของธนาคารได้ ก็จะสามารถคุมลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจทั้งหมดได้


ทั้งนี้ ปัจจุบันนักลงทุนเรียกร้องภาคธุรกิจตระหนักถึง ESG มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งธนาคารใส่ใจและดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการให้สินเชื่อและการออกพันธบัตรที่อิงกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นเรื่อยๆ


นอกจากนี้ เทรนด์ในอนาคต โลกยังมีความท้าทายจากการเปลี่ยนกติกา เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ซึ่งกระทบต่อลูกค้าของธนาคารโดยตรง และกำลังจะทำให้ภาคธุรกิจมีปัญหาการส่งออกไปที่ยุโรป ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงกระบวนการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือได้


“อเมริกา ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย ก็กำลังเตรียมการแบบที่ยุโรปทำ เราต้องทำความเข้าใจกับลูกค้า และปรับตัวให้ทันกับกฎเกณฑ์ เราต้องขู่ลูกค้าว่า ถ้าไม่ทำอีกสองปีตายแน่ เพราะการปรับกระบวนการผลิต การลดคาร์บอนต้องใช้ระยะเวลาเป็นปีๆ ในการเตรียมการ” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว


อย่างไรก็ตาม ดร.กอบศักดิ์ มองว่า สถานการณ์ดังกล่าวนั้น ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของธนาคาร โดยมองว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น จากการดำเนินการของลูกค้า ในโครงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเปลี่ยนผ่านพลังงาน เป็นต้น


“ธนาคารกสิกรไทย” ชี้ ภาคธุรกิจต้องปรับตัว 


ด้าน ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM ในปัจจุบันนั้น ประเมินว่ากระทบการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ประมาณ 0.2% แต่หากรวมมาตรการกีดกันทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม ของทั้งจีน สหรัฐฯ และยุโรป ของทุกอุตสาหกรรมรวมกัน คาดว่าจะกระทบ GDP ไทยถึง 26%


ในแง่การส่งออก หากทั้ง 3 ระบบเศรษฐกิจใหญ่ ดำเนินการมาตรการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ คาดว่าจะกระทบการส่งออกไทยประมาณ 40-45% ดังนั้น หากเราไม่มีการปรับตัว การส่งออกจะหายไปอย่างน้อยเกือบครึ่งหนึ่ง


อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยเองเราก็ปรับตัว เช่น จากการเก็บของมูลของเรา การทำธุรกิจของธนาคารปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 80,000 ตันต่อปี แต่หากรวมการให้สินเชื่อของลูกค้าไปด้วย จะเพิ่มขึ้นถึง 480 เท่า หรือประมาณ 30-40 ล้านตัน จึงเป็นที่มาว่าธนาคารต้องช่วยลูกค้าอย่างไร และเราก็ต้องปรับตัวด้วย เพื่อให้ช่วงการเปลี่ยนผ่านเรื่องดังกล่าวราบรื่นที่สุด


คาดเม็ดเงินให้สินเชื่อเพื่อโครงการลดปล่อยคาร์บอนฯ แตะแสนล้าน


ธนาคารกสิกรไทย มีการตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นธนาคารแรกในภูมิภาคที่ออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainablity bond) โดยได้ประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของธนาคาร ภายในปี 2573 และคาดว่าจะสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ในช่วงปี 2608


ส่วนในด้านการปล่อยสินเชื่อที่ให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นเม็ดเงินที่ให้ลูกค้าของธนาคารนำไปลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 7 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะแตะที่ระดับ 1 แสนล้านบาทได้ภายในปีนี้ 


โดยปีนี้จะมีการออกสินเชื่อใหม่ 4 กลุ่ม อิงตามกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มโรงแรมและสุขภาพ กลุ่มบรรจุภัณฑ์และพลาสติก และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งให้เป็นแพ็กเกจสินเชื่อที่เหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วย


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ