เส้นทางการลงทุนของ IFC องค์กรภายใต้ธนาคารโลก เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เส้นทางการลงทุนของ IFC องค์กรภายใต้ธนาคารโลก เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว

Date Time: 31 พ.ค. 2567 11:30 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • สรุปสาระสำคัญใน Keynote Speech ของคุณทุย ทูบุย หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุน กลุ่มสถาบันการเงิน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก International Finance Corporation หรือ IFC องค์กรภายใต้ World Bank กล่าวในงานเสวนา "Thairath Money 1st Anniversary: Unlocking Thailand - Green Finance & AI Economy"

Latest


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของโลกในปัจจุบัน โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบอย่างหนัก และได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 

คุณทุย ทูบุย หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุน กลุ่มสถาบันการเงิน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก International Finance Corporation หรือ IFC องค์กรภายใต้ World Bank กล่าวถึงเส้นทางการสนับสนุนเงินทุนของ IFC ในงานเสวนา "Thairath Money 1st Anniversary: Unlocking Thailand - Green Finance & AI Economy" โดยสรุปสาระสำคัญใน Keynote Speech ได้ดังนี้ 

- ความท้าทายด้านสภาพอากาศที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

- ด้วยจำนวนประชากรกว่า 1,600 ล้านคน และด้วยภูมิประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในประเทศไทยเมื่อปี 2011 ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ มีการคาดการณ์ว่า ปัญหาน้ำท่วมจะส่งผลให้มีการขาดทุนทางเศรษฐกิจกว่า 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030

- สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมในไทย อาจจะส่งผลให้ GDP ของประเทศไทยลดลงมากถึง 20% ภายในปี 2050 และความท้าทายด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในไทย ทำให้เห็นภาพว่า ธนาคารมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการแก้ปัญหา ผ่านการส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืนสู่ภาคธุรกิจ เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนให้ความตั้งใจในการแก้ปัญหาสภาพอากาศเกิดขึ้นได้จริง

- ด้วยงบประมาณกว่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่ใช้ในการลงทุนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศทั่วโลก และในส่วนของเอเชียแปซิฟิก มียอดเงินลงทุนกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย โดยจะมุ่งเน้นการลงทุนไปที่สิ่งก่อสร้าง พลังงานทดแทน การขนส่ง พัฒนาด้านพลังงานสำหรับอุตสาหกรรม ระบบไฟฟ้า และการจัดการของเสีย

- ตลาด Green Finance เติบโตต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2015 โดย IFC เองก็ได้ร่วมมือกับลูกค้าในการเข้าร่วมการลงทุนสีเขียว (Green Investment) นี้ ด้วยประสบการณ์กว่า 60 ปีในการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ปัจจุบัน IFC ได้ปรับไอเดียไปสู่การลงทุนในธุรกิจสีเขียว ซึ่งในปี 2023 ทาง IFC ได้มีการร่วมลงทุนใน Climate Finance ไปแล้วกว่า 7,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- สำหรับกลยุทธ์ของ IFC ในประเทศไทยจะมีการขับเคลื่อนอยู่ 3 ส่วน คือ 

  • ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน: เปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสู่ Green Economy ผ่านการสนับสนุนด้านโซลูชันและโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการผลิตและบริหารแบบยั่งยืน สนับสนุน Blue และ Green Finance ผ่านการจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กับสถาบันทางการเงินรายอื่น 
  • ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม: ส่งเสริมบริการและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Digital Transformation และเพิ่มการใช้งานทางดิจิทัลในธุรกิจดั้งเดิม 
  • ขับเคลื่อนการเติบโตและการทำงานร่วมกันในภูมิภาค: เพิ่มการลงทุนในประเทศต่างๆ ขยายพื้นที่การเข้าถึงการเงิน และสนับสนุนบริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ

- เส้นทางการลงทุนของ IFC ในประเทศไทยนั้น เติบโตขึ้นจาก 436 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 มาเป็น 1,600 ล้านในปัจจุบันนี้

- เริ่มต้นเมื่อปี 2018 ทาง IFC ได้ลงทุนใน Green Bond ครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งออกให้โดยธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ttb) และต่อมาทั่วประเทศได้มีการออก 27 Green Bonds ตามมา

- ต่อมาในปี 2020 IFC ได้สนับสนุนงบประมาณกว่า 300 ล้านดอลลาร์ให้กับบริษัทอินโดรามาเวนเจอร์สในกรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปดำเนินการรีไซเคิลขวด PET จำนวนกว่า 50,000 ล้านชิ้นต่อปีภายในปี 2025 ซึ่งการลงทุนนี้นับเป็น Blue Loan ตัวแรกที่ออกให้เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล

- เดือนตุลาคม 2020 IFC ได้มีการอนุมัติ Green Loan ให้กับ Asset World Corporation หรือ AWC เพื่อนำไปต่อยอดโปรเจกต์ด้านความยั่งยืน และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

- และล่าสุดในเดือนตุลาคม 2023 ทาง IFC ร่วมกับ SCB ได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 64 ล้านดอลลาร์ในบริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัด มุ่งเป้าไปที่การเพิ่มแหล่งพลังงานให้ตอบรับกับความต้องการของประชาชน โดยเงินทุนนี้จะช่วยให้ทางบริษัทเสริมสร้างพลังงานสามารถนำไปใช้พัฒนาโปรเจกต์พลังงานทดแทน อย่างโซลาร์ฟาร์ม หลังคาโซลาร์ และพลังงานชีวภาพ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

- ถึงแม้ว่า Green Finance จะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายในไทยให้ความสำคัญ โดยเฉพาะธนาคาร แต่ในทางกลับกันการส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้ยังมีอัตราส่วนที่น้อยมาก ทำให้ IFC ต้องเร่งเดินหน้าจับมือกับสถาบันทางการเงินในประเทศเพื่อพัฒนาให้เกิดการลงทุนในธุรกิจและกิจการอย่างยั่งยืน

- นอกจากนี้ IFC ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลในการสร้างมาตรฐานให้กับการเงินเพื่อความยั่งยืน ผ่าน Sustainable Banking Finance Network ในการสร้างแนวปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลรายงานด้านความยั่งยืน และ Green Taxonomy

- IFC ยังได้ร่วมมือกับ กทม. ในการออกแบบ Green City Solutions เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยมีการใช้งานแพลตฟอร์ม APEX Green Cities ในการวางแผนการลงทุนด้านสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม อย่างเช่น การลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น

"ธนาคารคือตัวละครสำคัญในการสนับสนุนทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ธนาคารจึงต้องให้การสนับสนุนให้ไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบยั่งยืน ทุกภาคส่วนยังคงต้องทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ"


รับชมวิดีโองานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=MrZySod6eCY

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ - https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ