SME สนใจ ESG พุ่ง เชื่อช่วยธุรกิจหนีความผันผวน ยูโอบี ลุยปั้นเครื่องมือ หนุนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

SME สนใจ ESG พุ่ง เชื่อช่วยธุรกิจหนีความผันผวน ยูโอบี ลุยปั้นเครื่องมือ หนุนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

Date Time: 30 พ.ค. 2567 08:52 น.

Video

ล้วงไส้ TEMU อีคอมเมิร์ซจีน บุกไทย ทำไมอาจสร้างวิบากกรรมกว่าที่คิด ? | Digital Frontiers

Summary

  • ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว UOB Sustainability Compass เครื่องมือชิ้นแรกที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในทุกอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการทำแบบประเมินออนไลน์ที่จะช่วยวัดระดับความพร้อมด้านความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ เพื่อรับรายงานที่ระบุแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน

Latest


ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว UOB Sustainability Compass ตัวช่วยวางกลยุทธ์ ESG และโซลูชันทางการเงินสีเขียว สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน 


นางสาวอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking เปิดเผยว่า จากผลสำรวจรายงาน UOB Business Outlook Study 2024 พบว่า 94% ของธุรกิจไทยตระหนักว่าประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ โดย 22% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีแผนที่จะเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในอีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามธุรกิจทั้งรายใหญ่และรายย่อยยังมีความกังวลเรื่องปัจจัยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจะกระทบต่อลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง, ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร รวมถึงการขาดความช่วยเหลือจากภาครัฐ หรือธนาคาร ล้วนเป็นอุปสรรคอันดับต้นๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน


ด้วยเหตุนี้ภาคธุรกิจจึงต้องการความช่วยเหลือจากธนาคารในด้านต่างๆ เช่น ต้องการเชื่อมต่อกับบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อเรียนรู้แนวปฏิบัติตัวอย่างต้องการบริการด้านการลงทุนรวมถึงคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้าน ESG และต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการธุรกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงร่วมกับ พีดับบลิวซี พัฒนา UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยวัดระดับและประเมินความพร้อมด้านความยั่งยืนของบริษัทว่าอยู่ในระยะใด โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับเริ่มต้น สามารถวางแผนเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนได้


โดยบริษัทสามารถลงทะเบียนเพื่อทำแบบสอบถาม และรับรายงานที่รวบรวมแนวทางการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทของแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมให้แก่บริษัท 


นางสาวพนิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institution และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่บรรษัทขนาดใหญ่นำมาพิจารณาสำหรับคัดสรรองค์กรที่ต้องการทำธุรกิจร่วมกัน ธนาคารจึงได้ออกแบบกรอบแนวคิดที่เรียกว่า Sustainable Finance Framework เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนประเภทต่างๆ อาทิ  


สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building) สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Financing) ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการใช้ทรัพยากรภายในองค์กรให้แก่ธุรกิจ ช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที


ในปี 2566 ที่ผ่านมา ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้แก่บริษัทรวมเป็นมูลค่ากว่า 33,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อสีเขียว คิดเป็น 25% ของสินเชื่อใหม่ทั้งหมด


ก่อนหน้านี้ในปี 2562 ธนาคารได้เปิดตัวโครงการสินเชื่อสีเขียว U-Solar, U-Energy และ U-drive ในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและไทย เพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อและสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้แก่ทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน โดยตั้งแต่เปิดโครงการ U-Solar ในไทย ยูโอบี ได้อนุมัติสินเชื่อสีเขียวไปแล้วกว่า 3,840 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่ธนาคารยูโอบีเปิดตัว UOB Sustainability Compass เมื่อเดือน พ.ย. ปี 2565 ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีบริษัทกว่า 1,700 แห่งทั่วภูมิภาคเข้าร่วมทดลองใช้เครื่องมือนี้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว สำหรับประเทศไทย ธนาคารยูโอบี ได้เปิดให้ลูกค้าธนาคารทดลองใช้เครื่องมือตั้งแต่เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทไทยเข้าร่วมแล้ว 300 บริษัท โดย 30% เป็นบริษัทที่อยู่ในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่อีก 40% อยู่ในระยะปานกลาง ซึ่งมีจำนวนสูงกว่าบริษัทในสิงคโปร์ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทย ธนาคารมีแผนจะเปิดตัวเครื่องมือในประเทศอินโดนีเซียเป็นลำดับต่อไปภายในปีนี้

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์