นักเศรษฐศาสตร์ มอง จะไปถึงเป้าหมาย Net Zero ได้ ภาคธุรกิจอาจต้องจ่ายภาษีที่สูงขึ้น

Sustainability

Green Finance

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

นักเศรษฐศาสตร์ มอง จะไปถึงเป้าหมาย Net Zero ได้ ภาคธุรกิจอาจต้องจ่ายภาษีที่สูงขึ้น

Date Time: 20 ก.พ. 2566 11:23 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • อังกฤษ คืบหน้าอย่างมากกับเป้าหมาย Net-Zero Carbon ในปี 2050 แต่ก็ถูกตั้งคำถามถึงการมีส่วนร่วมของภาครัฐต่อการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ร่วมกับเอกชน รวมถึงความจำเป็นของการเรียกเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น

Latest


สหราชอาณาจักรถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากสำหรับเป้าหมายที่จะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon) ภายในปี 2050 อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งคำถามถึงการมีส่วนร่วมของภาครัฐต่อการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกันกับภาคเอกชน รวมถึงความจำเป็นที่การไปสู่เป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมอาจตามมาด้วยการเรียกเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น

ลอร์ด นิโคลัส สเติร์น (Lord Nicholas Stern) นักเศรษฐศาสตร์จากสหราชอาณาจักร ผู้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าภาครัฐจำเป็นต้องเอาตัวลงมาในสนามนี้ร่วมกับภาคธุรกิจอย่างแข็งขัน กล่าวว่า การอัดฉีดโดยภาครัฐจะช่วยขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยมีจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น GreenTech ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตหมวดหมู่พลังงาน แบตเตอรี่รถยนต์ตลอดจนปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึง AI ก็จะมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ประเทศบรรลุเป้าหมายได้ในไม่กี่ปี ซึ่งในเชิงนโยบายหากต้องการเก็บภาษีในอัตราที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ

ขณะที่ ลอร์ด บราวน์ (Lord Browne) อดีตผู้บริหารระดับสูงของ BP บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวหน้ากองทุนที่เน้นการลงทุนในบริษัทที่มุ่งลดก๊าซเรือนกระจก ได้ความเห็นในมุมหนึ่งว่า

ปัจจุบันมีความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐมากขึ้นสำหรับธุรกิจต่างๆ เขายกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกากับการออกกฎหมาย Inflation Reduction Act ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เซ็นอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม จัดสรรทุนและเครดิตภาษีสำหรับภาคการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไฟฟ้าหมุนเวียน เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน ไฮโดรเจน ตลอดจนเงินอุดหนุนสำหรับประชาชน

นอกจากนี้ บราวน์ยังสนับสนุน ‘การเก็บภาษีลาภลอย’ จากบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ซึ่งอาจทำให้ที่ดินหรือโครงสร้างพื้นฐานบริเวณนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น กล่าวคือ เจ้าของที่ดินหรือผู้ผลิตต้องจ่ายส่วนกำไรส่วนหนึ่งที่ได้รับส่วนหนึ่งนั้นกลับสู่รัฐบาล แนวทางดังกล่าวอยู่บนแนวคิดที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี และสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านอื่นๆ หรือในกรณีที่อุปสงค์บางอย่างสูงขึ้น

ยกตัวอย่าง สหภาพยุโรป (EU) เรียกเก็บภาษีลาภลอยจากบริษัทพลังงาน 33% จากกำไรของบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล และอีกส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีการประเมินมูลค่าสูงถึง 140 พันล้านยูโร (123 พันล้านปอนด์) จากการเก็บภาษี บราวน์เชื่อว่า รายได้เหล่านั้นควรนำไปช่วยเหลือนักวิจัยหรือบริษัทที่กำลังพัฒนาพลังงานใหม่ๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ด้านหนึ่งผลักดันมติด้านความมั่นคงพลังงาน ความจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการสรรหาเงินทุน แนวคิดดังกล่าวเต็มไปด้วยข้อถกเถียง เพราะความเป็นจริงรัฐบาลยังถูกกดดันให้ลดภาษีไตรมาสต่อไตรมาส สหราชอาณาจักรยังเผชิญกับการเก็บภาษีสูงสุด เมื่อเทียบกับรายได้นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ประชาชนต้องแบกรับวิกฤติเงินเฟ้อ ค่าสาธารณูปโภคที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

แน่นอนว่าประเด็นดังกล่าว ไม่ได้ถูกเห็นด้วยถ้วนทั่วกันจากคณะบริหารในสภาที่มองว่าเรื่องสำคัญ คือ เศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน อีกทั้งก่อนหน้านี้ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง Shell และ BP สามารถทำกำไรบริษัทละหลักล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้นมากเช่นกัน

อ้างอิง BBC


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ