อุทยานอเมซอน

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

อุทยานอเมซอน

Date Time: 17 ส.ค. 2567 05:13 น.

Summary

  • โออาร์เตรียมการลงทุน อุทยานอเมซอน (Amazon Park) ในจังหวัดลำปาง บนพื้นที่ 600 ไร่ โดยจะนำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการบริหารบริษัท (บอร์ด) พิจารณาในเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นจะขออนุมัติการลงทุนในเดือน ต.ค. ซึ่งหากเริ่มก่อสร้างโครงการระยะแรกในปีนี้

Latest

85% ของเสื้อผ้าต้องจบที่กองขยะ แบรนด์ระดับโลก เปิดบริการซื้อขายสินค้ามือสอง หวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เมื่อเร็วๆนี้ คอลัมน์ Sustainable Together ได้มีโอกาสสนทนากับ นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ระหว่างเดินทางไปทัศนศึกษาดูกิจการสถานีบริการน้ำมันโออาร์ ที่ประเทศลาว โดยนายดิษทัตเล่าให้ฟังว่า

ขณะนี้โออาร์เตรียมการลงทุน อุทยานอเมซอน (Amazon Park) ในจังหวัดลำปาง บนพื้นที่ 600 ไร่ โดยจะนำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการบริหารบริษัท (บอร์ด) พิจารณาในเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นจะขออนุมัติการลงทุนในเดือน ต.ค. ซึ่งหากเริ่มก่อสร้างโครงการระยะแรกในปีนี้ จะนำร่องบนพื้นที่ 350 ไร่ ก็จะทยอยทำโครงการระยะที่ 2 อีก 250 ไร่ คาดว่าภายใน 2 ปี จากนี้ไปจะสามารถเปิดให้บริการได้

ทั้งนี้ อุทยานอเมซอนจะเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อรองรับการขยายสาขาคาเฟ่อเมซอนทั้งในและต่างประเทศในระยะยาว เพราะการที่เรามุ่งจะขยายธุรกิจให้ยั่งยืน ก็ต้องมีกลยุทธ์เพื่อเป็นเข็มทิศให้สามารถมุ่งสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น

การจะขยายคาเฟ่อเมซอนให้มีความยั่งยืนในตลาดต่างประเทศ จะต้องมีแพลตฟอร์มสำหรับการเล่าเรื่องสตอรี เนื่องจากเวลาที่นักลงทุนต่างประเทศที่จะมาร่วมลงทุนในประเทศที่โออาร์ขยายกิจการไป ที่ต้องมีโลเกชันที่จะบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เพราะคาเฟ่อเมซอนจะเติบโตต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง การมีอุทยานอเมซอนที่จะคอยบอกเล่าเรื่องราวให้นำไปสู่การขยายการลงทุนต่างประเทศ จะช่วยให้กิจการเติบโตอย่างยั่งยืนได้

ภายในอุทยานอเมซอนจะมีแนวคิดคล้ายกับสิงห์พาร์ค เพื่อเป็นธุรกิจต้นน้ำ นำไปสู่การพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยจะมีการทำศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม (R&D) เพื่อพัฒนาต้นกล้ากาแฟเอง เนื่องจากขณะนี้

เราซื้อจากหน่วยงานราชการ และเรามีธุรกิจกลางน้ำที่เข้มแข็ง โดยมีโรงคั่ว เมล็ดกาแฟ ขณะที่ธุรกิจปลายน้ำ ก็มีร้านคาเฟ่อเมซอน 4,200 สาขา คือการสร้าง Ecosystem ซึ่งเราต้องสเกลอัพคาเฟ่อเมซอนไปสู่แบรนด์ระดับโลก

จากนั้น ต่อไปจะเป็นสถานที่ จัดประชุมสภากาแฟโลก (World Coffee) และเป็นพื้นที่ที่ให้ความรู้กับผู้ประกอบการ นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพื่อ เป็นการสร้างความภูมิใจในแบรนด์ และยังสร้างรายได้ในกับชุมชนท่องเที่ยวให้กับจังหวัดลำปาง

พร้อมกันนี้โออาร์ยังได้สมัครแอปพลิเคชัน VERRA เพื่อเตรียมพร้อม จะขายคาร์บอนเครดิตกาแฟ โดย VERRA จะเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถขายในตลาดระดับสากลได้ หากได้รับการรับรอง แต่การจะรับรองได้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน คือ มีไม้ร่มเงาที่จะปลูกเป็นร่มเงาในพื้นที่ จากนั้นก็จะเคลมคาร์บอนเครดิตตรงนั้น

สอดรับกับเป้าหมายของ OR 2030 ที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนและสู่การเป็นเน็ต ซีโร่ ในปี 2050 เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ที่โออาร์ทำเรื่อง Sustainable Aviation Fuel (SAF) เพื่อจะผลักดันเป้าหมายนี้เช่นกัน

กลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตให้กับโออาร์ นอกจากจะมีสินค้าแล้ว ก็จะต้องมีการพัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า BEYOND Coffee หรือสิ่งที่เป็นมากกว่าธุรกิจกาแฟ ซึ่งหลังจากที่ได้มีการพัฒนาในด้านของการปลูกกาแฟ ขณะนี้เราได้มีการขายคาร์บอนเครดิต โดยเตรียมเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต ป่าดิบชื้น ของ Verra ผู้ออกใบรับรองมาตรฐานคาร์บอนระดับสากล

“กระบวนการเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิตป่าดิบชื้นของ Verra คือต้องมีต้นไม้ท้องถิ่น 20-30 ชนิดเป็นร่มเงา โดยโออาร์ต้องเตรียมพร้อมในทุกๆอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไข เพราะการที่เราต้องการให้คาร์บอนเครดิตขายไปยังตลาดสากล ก็ต้องเข้าสู่ระบบของตลาดสากล”

สำหรับ Verra เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่วอชิงตัน ดีซี สหรัฐฯที่เป็นผู้ ออกใบรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนมากมาย รวมถึงการออกใบรับรองมาตรฐานคาร์บอน (Verified Carbon Standard) ซึ่งดำเนินการไปแล้วเป็นจำนวนมาก.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ