กฟผ.ยุคพลังงานสีเขียว

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กฟผ.ยุคพลังงานสีเขียว

Date Time: 8 มิ.ย. 2567 07:01 น.

Summary

  • โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) จาก 3 แหล่งพลังงาน มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 24.0 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าประเภทผสมผสาน (Hybrid) ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำจากเขื่อน พร้อมติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS

Latest

“TIPMSE” เตือนรับมือ “EPR”

คอลัมน์ Sustainable Together สัปดาห์นี้ ขอเชิญไปติดตามความคืบหน้ามิติใหม่ การผลิตไฟฟ้า ตามเทรนด์พลังงานสีเขียว ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018Revision 1) หรือแผนพีดีพี ที่เมื่อเดือน ต.ค.2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

โดย กฟผ.ได้รับมอบให้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro–Floating Solar Hybrid Project) ตามเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. กำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ รวม 16 โครงการใน 9 เขื่อน

ทั้งนี้ กฟผ. ได้นำร่องโครงการแห่งแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 31 ต.ค.2564 เป็นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแห่งแรกมีขนาดเทียบเท่าสนามฟุตบอลรวมกัน 70 สนาม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้า 47,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกป่า 37,600 ไร่

จากการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการ พบว่าเป็นไปตามเป้าหมาย การผลิตไฟฟ้าในรูปแบบไฮบริดสามารถสร้างเสถียร ภาพ และลดความไม่แน่นอน ของพลังงานหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี ด้านสิ่งแวดล้อมก็พบว่า การติดตั้งทุ่นลอยน้ำ ในอ่างเก็บน้ำของโครงการ ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ และสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะที่แผงโซลาร์ เซลล์ที่นำมาใช้เป็นแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Double Glass ที่มีความแข็งแรงทนทานสูง ทนความชื้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 10­–15% และใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติกชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับท่อส่งน้ำประปาจึงเป็นมิตรต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม รวมถึงทนต่อความเสื่อมจากการกระทบของรังสี UV ได้เป็นอย่างดี จึงมีอายุการใช้งานได้นาน 25 ปี

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ยังตอบโจทย์พลังงานเพื่อทุกคน เนื่องจากเป็นการพัฒนาโครงการที่มีขนาดใหญ่ (Economy of Scale) โดยใช้ที่ดินและอุปกรณ์โครงข่ายไฟฟ้าของเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ.ที่มีอยู่เดิม ให้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าต่ำ และ กฟผ.ได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านพลังงานหมุนเวียนแห่งใหม่ของชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่น

ล่าสุด กฟผ.ได้เดินหน้าโครงการที่ 2 ที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไปเมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา

โครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) จาก 3 แหล่งพลังงาน มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 24.0 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าประเภทผสมผสาน (Hybrid) ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำจากเขื่อน พร้อมติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน BESS (Battery Energy Storage System) แบบลิเทียมไอออนขนาด 6 เมกะวัตต์/ชั่วโมง

ช่วยลดข้อจำกัดของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่การผลิตไฟฟ้า จะขึ้นกับสภาพอากาศ ทำให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าบนพื้นที่ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป กฟผ.จะทยอยดำเนินโครงการต่อเนื่อง ไปอีก 14 โครงการ อาทิ โครงการที่โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลกำลังการผลิต 158 เมกะวัตต์ ในปี 2569, เขื่อนบางลาง จำนวน 78 เมกะวัตต์ในปี 2576, เขื่อนรัชชประภา 140 เมกะวัตต์ในปี 2577 เป็นต้น.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ