โลกเปลี่ยน เราต้องปรับ! ถอด 4 กลยุทธ์ความยั่งยืน “กสิกรไทย” ธนาคารที่เป็นมากกว่า “ผู้ให้สินเชื่อ”

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โลกเปลี่ยน เราต้องปรับ! ถอด 4 กลยุทธ์ความยั่งยืน “กสิกรไทย” ธนาคารที่เป็นมากกว่า “ผู้ให้สินเชื่อ”

Date Time: 19 มี.ค. 2567 18:00 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • เพราะปัญหา “โลกร้อน” ที่นำมาสู่ผลกระทบรอบด้าน เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเหลียวมอง หากจะเอ่ยว่า ไม่ใช่แค่เรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่งทำ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันทำก็คงไม่ผิดเพี้ยน เช่นเดียวกัน “กสิกรไทย” ล่าสุดได้ชูยุทธศาสตร์ Climate หนุนภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านและคว้าโอกาส อัดฉีดเม็ดเงินความยั่งยืน แตะ 1 แสนล้านบาท ในปี 67 และขยับเป็น 200,000 ล้านบาทในปี 2573

ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับคำว่า “ความยั่งยืน” ไม่แปลกที่หากจะมีคนใคร่สงสัย และเกิดเป็นคำถามนี้ขึ้นมา นั่นก็เพราะว่า ตอนนี้ใครๆ ต่างก็พูดถึงความยั่งยืน ไปไหนก็ได้ยินแต่เรื่องการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนกันเกือบทุกที่ จนบางทีก็อดสงสัยในใจไม่ได้ว่านี่คือ เทรนด์ แค่ชั่วครู่หนึ่งหรือไม่ ? ทั้งนี้หากมองให้ลึกลงไปจะพบว่า “ความยั่งยืน” ที่ทุกคนพูดถึงกันนั้น ไม่ใช่แค่ คำฮิต วลีติดหู อีกต่อไป แต่คือ พื้นฐานของทุกการขับเคลื่อนที่ทุกภาคส่วนของเผชิญ และยังเป็นวาระสำคัญระดับโลก 

นั่นก็เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนำมาซึ่ง ‘ภาวะโลกรวน’ ที่ส่งผลกระทบชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการที่ประเทศไทยเปราะบาง หน้าร้อนยาว หน้าหนาวสั้น ฝนตกหนัก อากาศร้อนระอุขึ้นทุกปี ภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม นำ้แล้ง ก่อให้เกิดความเสียหายนานับประการสูญเสีย ทั้งคุณภาพชีวิตผู้คนและเศรษฐกิจ กลายเป็นเส้นทางฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุด หากไทยยังไปไม่ถึงไหน และการผลักดันของทั่วโลกยังไม่ขับเคลื่อน อุณหภูมิยังคงสูงขึ้น จึงไม่อาจรู้ได้ว่า “โลก” และ “เรา (ประเทศไทย)” ยังต้องสูญเสียอะไรอีกบ้าง ?

เพราะ “ความยั่งยืน” ไม่ใช่แค่ใครทำก็ได้

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นทางออกสำคัญของวิกฤตการณ์นี้ ทำให้ ณ วันนี้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญจริงจัง ในการเปลี่ยนผ่านเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ “ความยั่งยืน” อย่างแท้จริง และหนึ่งในหน่วยงานนั้นคือ “ธนาคารกสิกรไทย” ล่าสุดได้เปิดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2567 ที่จะพาธุรกิจไทยก้าวไปสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่

พร้อมรับมือยุค Climate Game ที่มูลค่าของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียง “ผลกำไร” จากธุรกิจดังเดิม แต่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยธนาคารกสิกรไทยได้เดินหน้าการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า Net-Zero พร้อมทั้งปรับการดำเนินงานของธนาคารด้วยมาตรฐานสากล และผลักดันด้านสินเชื่อ เงินลงทุนด้านความยั่งยืน ผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทในปีนี้ด้วยเช่นกัน 

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ความเสียหายจากการที่ปล่อยให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 32 องศาฯ ภายในปี 2593 คาดว่าจะอยู่ที่ 18% ของ GDP โลก ความเสียหาย 18% ของ GDP โลก และอาจกดดันเศรษฐกิจไทยให้หดตัวลง 44% 

ทั้งนี้จากการประชุม COP 28 ที่ผ่านมา ประชาคมโลกบรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะส่งแรงกดดันลงไปสู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง และประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk) ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทยราว 40-45%

ด้วยเหตุนี้ทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักและปรับตัวให้ทันเพื่อรับมือกับเกมนี้ ธนาคารกสิกรไทย จึงได้ดำเนินการผ่าน 4 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ 

ลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำงานของธนาคาร 

กลยุทธ์ที่ 1 Green Operation

ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของตัวเอง อาทิ ติดตั้ง Solar Rooftop ที่อาคารหลักของธนาคาร 7 แห่ง ครบ 100% และติดตั้งที่สาขาด้วยแล้วซึ่งจะมีจำนวน 78 สาขา, มีการเปลี่ยนรถที่ใช้ในองค์กรเป็นรถไฟฟ้าแล้ว 183 คัน ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้ 12.74% ในปี 66 เมื่อเทียบกับฐานปี 63 รวมทั้งมีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (61-66) และตั้งเป้าหมายเป็น Net-Zero ใน Scope 1&2 ภายในปี 2573 

ช่วยลูกค้าด้วย “การเงินสีเขียว”

กลยุทธ์ที่ 2 Green Finance

นำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อและเงินลงทุน มาสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร อาทิ อัดเม็ดเงินสินเชื่อและเงินทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท (2565-2566) และคาดว่าจะมีเม็ดเงินรวมเป็น 100,000 ล้านบาท ในปี 2567 รวมทั้งจะขยับเป็น 200,000 ล้านบาทในปี 2573 ตามเป้าหมาย 

ทั้งนี้อุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารให้การสนับสนุนได้แก่ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่าน หินประเภทเชื้อเพลิงให้ความร้อน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอลูมิเนียม 

ภาพรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคาร ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร ซึ่งคิดเป็น 480 เท่า ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการโดยตรงของธนาคาร (Own Operation-Scope 1 & 2)

กลยุทธ์ที่ 3 Climate Solutions

โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ อาทิ WATT’S UP 

กลยุทธ์ที่ 4 Carbon Ecosystem

เตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต โดยศึกษาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิตสำหรับการชดเชยทางคาร์บอนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มฯ เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ โดยการเปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน 

หลังจากที่เราได้เห็นภาพของดำเนินงานของ “ธนาคารกสิกร” แล้วนั้น แน่นอนว่าความท้าทาย หรืออุปสรรคที่เห็นได้เด่นชัด คือ ภายในองค์กร ซึ่งจะต้องมีการทำความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน จึงจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง เช่นนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนในระดับประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่แค่ใครคนใดคนนึงก็ทำได้ แต่ต้องอาศัยพลังจากภาคส่วน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง ที่จะต้องไม่ใช่เพียงเพราะ “คนส่วนใหญ่เปลี่ยน” ดังเช่น “ธนาคารกสิกรไทย” ที่ “เปลี่ยนเอง” และชวนคนอื่นมาเปลี่ยนไปด้วยกัน


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์