“เอไอเอส” ผนึกกำลัง “เซ็นทรัล” เดินหน้าเมืองปลอดขยะคัด-แยก-ทิ้งถูกวิธี

Sustainability

ESG Strategy

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“เอไอเอส” ผนึกกำลัง “เซ็นทรัล” เดินหน้าเมืองปลอดขยะคัด-แยก-ทิ้งถูกวิธี

Date Time: 6 ธ.ค. 2566 06:10 น.

Summary

  • “เอไอเอส” ผนึกกำลัง “กลุ่มเซ็นทรัล” บุกศึกษาโมเดลเมืองปลอดขยะ “หมู่บ้านคามิคัตสึ” ซึ่งสามารถรีไซเคิลขยะในพื้นที่ได้ถึง 81% หวังปลูกฝังคนไทยกำจัดขยะแบบครบวงจร แยกขยะทุกประเภทให้ถูกวิธี เผยขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ E–Waste เป็นปัญหาระดับโลก ถูกจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ที่ถูกเผาทำลายมีถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Latest

85% ของเสื้อผ้าต้องจบที่กองขยะ แบรนด์ระดับโลก เปิดบริการซื้อขายสินค้ามือสอง หวังลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปลายเดือน พ.ย.2566 ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส (AIS) และกลุ่มเซ็นทรัล ได้ลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะชินโชกุ ประเทศญี่ปุ่น เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองปลอดขยะของโลก สามารถรีไซเคิลขยะในพื้นที่ได้สูงถึง 81% โดยเป็นการเดินทางไปเพื่อศึกษาแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านหลักการพื้นฐาน ได้แก่ การลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) เป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างแท้จริง

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าซึ่งเป็นนโยบายหลักแล้ว เอไอเอสยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนประเทศไทยสู่การเป็นชาติที่มีความยั่งยืน (Sustainable Nation) โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1.ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2.ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกันจัดขยะอิเล็ก ทรอนิกส์ หรือ E-Waste อย่างถูกวิธี

“โลกยุคดิจิทัลส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น กลายเป็นปัญหาระดับโลก โดยมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯเท่านั้น ปริมาณที่สูญหายระหว่างทางมีมากมา และส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม หากกำจัดไม่ถูกต้อง”

ก่อนหน้านี้ในปี 2562 เอไอเอสได้ขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางให้ประชาชนทิ้ง E-Waste ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวม เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แก็ดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ซึ่งเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ให้ได้ในที่สุด

ด้านนายพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารกลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย จึงเป็นที่มาของการเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนานระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลและเอไอเอส ซึ่งการสานต่อมาจากโครงการ E-Waste

สำหรับภารกิจกลุ่มเซ็นทรัลคือเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัลทำ-ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” ผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน

ได้แก่ 1.ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทา สาธารณภัย (Community & Social Contribution) 2.ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม (Inclusion) การศึกษา (Education) 3.พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development) 4.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management) 5.ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction) 6.ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)

“กลุ่มเซ็นทรัลได้ขับเคลื่อนการลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) ผ่านแคมเปญ Journey to Zero เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 โดยจะเป็นห้างรีเทลแห่งแรกของไทยที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในด้านการจัดการขยะทั่วประเทศ และอยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการคัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่ ถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหามากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป”.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ