ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ยุคนี้สร้างตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโตช้าลง โอกาสเลื่อนชั้นสังคมยากขึ้น

Personal Finance

Wealth Management

Tag

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ยุคนี้สร้างตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจโตช้าลง โอกาสเลื่อนชั้นสังคมยากขึ้น

Date Time: 12 มิ.ย. 2566 12:08 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • แม้ปัจจุบันจะเป็นยุคที่มีโอกาสให้หาเงินได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนยุคนี้จะสร้างเนื้อสร้างตัวได้ง่ายเหมือนคนยุคก่อน หลายคนวางแผนเกษียณ ยิ่งคนรุ่นใหม่ๆ มีเครื่องมือทางการเงินมากมาย ก็คิดไปถึงการเกษียณตัวเองไว แต่มากไปกว่านั้นคือ แล้วถ้าเกษียณแล้ว แต่เงินหมดก่อนอายุขัย จะอยู่อย่างไร? โดยเฉพาะในวันที่ไร้เรี่ยวแรงจะทำงาน

Latest


บทความนี้ Thairath Money พูดคุยกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร คนในยุคปัจจุบันจะทำอย่างไร ท่ามกลางความท้าทายต่อการเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลง ส่งผลให้โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคมก็ยิ่งยากขึ้น 

เศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลง ส่งผลต่อโอกาสของผู้คนขนาดไหน 

ดร.พิพัฒน์ เล่าถึงอดีตว่า ไทยเคยถูกยกให้เป็น Miracle แห่งเอเชีย แต่โอกาสโตต่อยากมาก ถ้าไม่เปลี่ยน ย้อนหลังไปช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ไทยฟื้นกลับมาโตได้ประมาณ 5% จนกระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันไทยโตเพียง 3% ซึ่งหลังโควิดการฟื้นตัวไม่ได้เกิดขึ้นทั่วถึงทุกอุตสาหกรรม เทรนด์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็โตช้าลงโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว แนวโน้มจะเริ่มเห็นเมืองไทยโตช้าลงเรื่อยๆ

แนวโน้มที่เมืองไทยโตช้าลงเรื่อยๆ มีสาเหตุหลักจาก 3 เรื่อง คือ โครงสร้างประชากร เสน่ห์ที่หายไป และความสามารถในการแข่งขันที่ไม่ทันการผงาดขึ้นมาของเพื่อนบ้าน

อย่างแรก ไทยมีอัตราการเกิดลดลง ทำให้สัดส่วนประชากรวัยทำงานลดน้อยลง ถ้ามองเศรษฐกิจเป็นเครื่องจักร คน คือที่ถูกเติมลงในเครื่องจักรในฐานะกำลังที่ขับเคลื่อน ต่อมา ไทยไม่ได้เนื้อหอมเหมือนในอดีตสูญเสียการเป็นหมุดหมายของนักลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

เมื่อการลงทุนน้อยลง โอกาสที่จะทำให้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจดีขึ้นก็ยากขึ้น และสุดท้าย ไทยกำลังค้นหาตัวเอง เรายังตั้งคำถามว่าตัวเองจะเก่งด้านไหนในอนาคต  แม้ไทยเราเก่งหลายเรื่อง ทั้งอาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตรเคมี แต่ว่า ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเหล่านี้ยังเจอปัญหาติดขัดเต็มไปหมด 

“สมัยก่อนที่เศรษฐกิจไทยบูมมาก โอกาสเต็มไปหมด จับตรงนั้นก็ดี จับตรงนี้ก็ได้หมด พอเศรษฐกิจเริ่มจาก 7% เหลือ 5% เหลือ 3% พอเศรษฐกิจโตช้า โอกาสเลื่อนชั้นทางสังคม เลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจก็ยากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนที่มีโอกาสมากกว่าเป็นเจ้าของทุน เข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่าย่อมมีโอกาสชิงอำนาจทางเศรษฐกิจไปได้ เวลานี้เราแข่งขันภายในประเทศกันมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำ คือ ปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นตามมา”  

เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัว แต่ก็ยังไม่สามารถมีความหวังได้เต็มที่ อะไรเป็นกับดัก 

ดร.พิพัฒน์ อธิบายว่า ปีนี้การท่องเที่ยวจะเป็นอาวุธหลักที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แรงผลักดันจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวจะเป็นตัวดึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่จะกลับมาเติบโตดีกว่าปีที่แล้ว การท่องเที่ยวโตขึ้น 3.3% เทียบกับปีที่แล้วที่ 2.6% 

แต่ขณะเดียวกันนั้น ตัวเลขโดยรวมสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียม คนไทยยังมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อสูงในต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น ภาวะสงคราม ราคาน้ำมัน ปัจจัยเสี่ยงภายนอก ยังเป็นปัจจัยหลักที่ดึงรั้งเราไว้ ภาคการผลิตและการส่งออกที่เคยเป็นพระเอกหลักก็ยังฟื้นตัวไม่เต็มศักยภาพ กลุ่มที่เป็นกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก แม้กระทั่งภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมาเป็นเวลานาน ย่อมมีความเปราะบางที่มากกว่า

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

“หลุมที่เราเจอค่อนข้างลึกมาก และเราปีนขึ้นมาค่อนข้างช้า วันนี้เราก็จะได้ยินเรื่องของประเด็นหนี้ครัวเรือน ประเด็นเศรษฐกิจจำนวนมากในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มขยับขึ้น ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจดูเหมือนดีขึ้น แต่ก็ยังมีหลายกลุ่มที่ยังเปราะบางและเสี่ยง”

ในอดีตที่เศรษฐกิจเติบโตสูงและปัจจุบันที่เศรษฐกิจถดถอยลง แต่ละยุคต่างต้องเผชิญความท้าทายเหมือนกัน อาจแค่แตกต่างกันด้วยปัจจัยหรือบริบท หากเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว ความท้าทายต่างกันเรารู้สึกว่า คนยุคนี้ต้องต่อสู้มากกว่ายุคพ่อแม่ โอกาสของคนรุ่นใหม่จะโตได้เต็มที่ ไม่ใช่แค่เราต้องพยายามเพิ่มขึ้น แต่คำถาม คือ ประเทศได้สร้างการเติบโต และพยายามไปพร้อมผู้คนหรือไม่ 

ขณะที่แนวทางที่จะหลุดพ้นจากกับดักต่างๆ ได้นั้น ดร.พิพัฒน์ ให้มุมมองว่า ปัจจุบันโลกนั้นเชื่อมโยงกันมากขึ้น ในตอนนี้จะมองเฉพาะไทยไม่ได้อีกต่อไป ภาพที่เห็นไม่ใช่แค่เมืองไทยเท่านั้น พอพูดถึงภูมิภาค คือ การพูดถึงทั้งโลก หากมองด้านดี เรียกได้ว่า นี่คือ การเชื่อมโยงโอกาส โอกาสอยู่ทั่วทั้งโลก อย่าทิ้งโอกาสของการมองภาพใหญ่ 

ไทยเราต้องสร้าง ศูนย์กลาง Center of excellence ในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนา เรื่องของการทำวิจัยและพัฒนาที่จะนำไปสู่การพัฒนาโปรดักต์ของเราเอง ไม่ว่าคนรุ่นใหม่จะอยู่ในอุตสาหกรรมใด สาขาใด ก็สามารถเข้าไปหาโอกาสจากตรงนั้นได้ เพียงแค่หาให้เจอว่าด้านใดที่เหมาะสมหรือตรงความสามารถหรือทักษะของตน

ความมั่นคงทางการเงิน กลายเป็นความท้าทายใหญ่ แล้วคนยุคนี้จะก้าวข้ามอย่างไร 

ดร.พิพัฒน์ มองว่า เรื่องการบริหารจัดการเงินในภาคประชาชน คือ โจทย์สำคัญของประเทศ ไทยเรากำลังการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนมีอายุยืนยาวขึ้น ต้องเจอกับปัญหาเงินหมดก่อนอายุ เงินที่เตรียมไว้ใช้ยามแก่เฒ่าไม่เพียงพอ หรือคนที่เกษียณแล้ว แต่อาจจะมีเงินไม่เพียงพอใช้จ่ายหลังเกษียณ 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

อย่ามัวมีความหวังว่า รัฐจะเข้ามาช่วยหรือจะมีระบบช่วยเหลือหลังเกษียณ วันนี้เราอยู่ในโลกที่ต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น เพราะฉะนั้น ความรู้ทางด้านการเงิน มีความสำคัญมาก คนรุ่นใหม่ ต้องตระหนักแล้วว่า การวางแผนทางการเงิน การบริหารความมั่งคั่งเพื่อชีวิตที่มั่นคง ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงเกษียณ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไร

"คนที่จะมีการเงินดีได้ คือ คนที่มีความเป็นอิสระทางด้านการเงิน ต้องทำงานหนักนะครับ"

ยกเว้นว่าเกิดมาแล้วรวย มีเงินใช้อย่างเพียงพอ และสามารถเอาเวลาของเราไปทำในสิ่งที่เราสนใจ เอาไปเอ็นจอยชีวิต คนทั่วไปการจะไปถึงจุดนั้นได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการวางแผนด้านการเงิน ระยะแรก เริ่มทำงาน เงินเดือนอาจจะมีไม่พอใช้ คำถาม คือ เราจะทำอย่างไรให้เรามีความสามารถในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น การทำงานแล้วได้เลื่อนตำแหน่ง มีเงินเดือนเพิ่มมากขึ้น พอถึงจุดหนึ่งเราจะเริ่มสะสมความมั่งคั่ง พร้อมกับการมองกลับไปว่า อะไรจะทำให้ไปสู่จุดที่เป็นความอิสระทางด้านการเงินได้

“หารายได้ให้เพียงพอ ควบคุมรายจ่ายไม่ให้เกินตัว เกินตัวมากไปก็จะเป็นหนี้ใช่ไหมครับ เมื่อเราสะสมความมั่งคั่งได้ระดับหนึ่ง ลองมองหาโอกาสในการลงทุน ทำให้เงินทำงานแทนเรา ตรงนี้จะเป็นการช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น ยั่งยืนขึ้น” 


Author

พิมพ์ชญา ภมรพล (แพร)

พิมพ์ชญา ภมรพล (แพร)
Technology & Digital Economy Team , The Columnist of BrandStory