“ประกันภัยรถ EV” ฉบับแรกของไทย เบี้ยแพง ตามฐานราคารถ เงื่อนไข อัตราจ่ายร่วม ถ้าคนขับ ชื่อไม่ตรง!

Personal Finance

Insurance

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“ประกันภัยรถ EV” ฉบับแรกของไทย เบี้ยแพง ตามฐานราคารถ เงื่อนไข อัตราจ่ายร่วม ถ้าคนขับ ชื่อไม่ตรง!

Date Time: 3 ม.ค. 2567 13:15 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • รู้จักประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ฉบับแรกของไทย ปี 2567 เปรียบเทียบความต่างกับกรมธรรม์ที่ขายในปัจจุบัน พบ คุ้มครองยันแบตเตอรี่รถ ขณะเบี้ยกรมธรรม์รถ EV แบ่งเป็น 5 ขั้น ใช้ฐานราคารถยนต์เป็นเกณฑ์ และเงื่อนไขถูกบังคับ ต้องระบุชื่อผู้ขับขี่ พร้อมใช้ประวัติคนขับแย่สุดเป็นตัวคำนวณ

Latest


คาดการณ์กันว่าปี 2567 จะเป็นยุคทองของ รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ในประเทศไทย เพราะแนวโน้มการผลิตที่มากขึ้น การเข้ามาลงทุนใหม่ของแบรนด์รถ EV ชื่อดังหลายค่าย จะทำให้ราคารถ EV ในไทยถูกลงมาก แค่แบรนด์จีนกลุ่มเดียว อาจมีการผลิตในไทยมากกว่า 3.54 แสนคันในปีนี้ 

ขณะเดียวกัน ด้วยราคาน้ำมันที่สูงและผันผวนต่อเนื่อง ประกอบกับเป้าหมาย Net Zero ก็จะยิ่งน้าวโน้มให้คนไทยเปลี่ยนใจหันมานิยมซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้งานกันมากขึ้น 

ทั้งนี้ สิ่งที่ควรรู้สำหรับสาวกรถยนต์ไฟฟ้านั้น นอกจากปีนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนการซื้อยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (ปี 2567-2570) ด้วยเงินอุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท ภายใต้นโยบาย EV 3.5 (ระยะที่ 2) แล้ว 

ดีเดย์ บังคับใช้ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ฉบับแรกของไทย 

ปีนี้ยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ คือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า หรือประกันรถ EV ฉบับแรก (ปี 2567) ของไทย ก็จะถูกบังคับใช้ในปีนี้เช่นกัน โดยเริ่มต้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา แต่มีเวลาให้บริษัทประกันดำเนินออกกรมธรรม์ตามเกณฑ์ดังกล่าวใหม่ ภายใน 31 พ.ค. 2567 

ซึ่งพิกัดอัตราเบี้ยประกันของกรมธรรม์ “ประกันรถยนต์ไฟฟ้าใหม่” จะช่วยให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตความคุ้มครองและโครงสร้างราคาเบี้ยประกัน ที่มีความสำคัญไม่น้อยต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของคนไทย โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากแบตเตอรี่ ค่าซ่อม และรถหายจากการถูกแฮกระบบปฏิบัติการด้วย 

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างกรมธรรม์ปัจจุบัน ที่นำกรมธรรม์ประกันรถยนต์ทั่วไปมาปรับใช้ กับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) ฉบับนี้ อย่างน่าสนใจ 

โดยพบแนวทางการคิดเบี้ยประกันและขอบเขตความคุ้มครองต่างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคุ้มครองแบตเตอรี่ อันเป็นชิ้นส่วนหลักที่มีราคาสูงถึง 70-80% ของมูลค่ารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าและลดข้อพิพาทลงได้ 

ทั้งนี้ ยังพบว่าแม้แนวโน้มราคาเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 อาจทยอยปรับตัวลดลงในอนาคต แต่อาจยังสูงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ทั่วไปในช่วงราคาเดียวกัน

เปรียบเทียบ กรมธรรม์ปัจจุบัน VS กรมธรรม์ประกันรถ EV ฉบับใหม่ (2567)

รายละเอียด กรมธรรม์ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน (ประเภท 1)

  • ความคุ้มครอง : คุ้มครองทุกภัย (All Risk)
  • การรับประกันแบตเตอรี่ : จ่ายตามจริง โดยไม่มีการกำหนดค่าเสื่อม 
  • อัตราเบี้ยประกัน : ใช้พิกัดเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป
  • การระบุชื่อผู้ขับขี่ : เป็นทางเลือก 
  • ส่วนลด/เพิ่มเบี้ยประกัน : ใช้ประวัติรถเป็นเกณฑ์ 

รายละเอียดกรมธรรม์ประกันรถยนต์ไฟฟ้าฉบับใหม่ ที่บังคับใช้ปี 67 

  • คุ้มครองทุกภัยเหมือนรถทั่วไป แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อระบบปฏิบัติการ 
  • ไม่คุ้มครองความเสียหายจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ที่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตรถ (แต่สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้)
  • กำหนดค่าเสื่อมลดลงปีละ 10% จนกระทั่งต่ำสุดที่ 50% (ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป)
  • หากเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ ขอเพิ่มความคุ้มครองได้ (มีค่าเบี้ยประกันเพิ่ม)
  • เพิ่มพิกัดขั้นสูง เพื่อให้ยืดหยุ่นแก่บริษัทในการรับประกัน (ทบทวนอัตราเบี้ยใหม่ภายใน 2 ปี)
  • กำหนดพิกัดเบี้ยเป็น 5 ขั้น โดยใช้ฐานราคารถยนต์เป็นเกณฑ์ (ตั้งแต่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จนถึงมากกว่า 5 ล้านบาท)
  • ยกเลิกเกณฑ์การกำหนดพิกัดเบี้ยตามราคาอะไหล่ และค่าซ่อมแซมของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น (สำหรับรถนำเข้า ให้ใช้ฐานราคาและบวกเพิ่ม 1 ขึ้น)
  • บังคับให้ระบุชื่อผู้ขับขี่ (สูงสุด 5 คน) แต่ยกเลิกการให้ส่วนลดเบี้ยประกันตามช่วงอายุผู้ขับขี่ในอัตรา 5-20% 
  • กำหนดอัตราร่วมจ่ายส่วนแรก เมื่อผู้ขับขี่ไม่ปรากฏในรายชื่อที่แจ้งไว้ (กรณีเป็นฝ่ายผิดหรือประมาท แบ่งเป็น 6,000 บาทต่อครั้ง และ 2,000 บาทต่อครั้ง สำหรับความเสียหายต่อรถ และทรัพย์สินบุคคลภายนอก และจำนวน 1,000 บาทต่อครั้ง หากไม่มีคู่กรณี )
  • เปลี่ยนการคิดส่วนลด/ส่วนเพิ่มของเบี้ยประกันต่อไป สำหรับการใช้เป็นรถส่วนบุคคล เป็น 3 ขั้น ในอัตรา 20-40% โดยใช้ประวัติผู้ขับขี่ที่แย่ที่สุดเป็นตัวคำนวณ 

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์