ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย ฉายภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี 2566 ระหว่าง มกราคม-มิถุนายน 2566 ระบุว่า มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 300,005 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2565
แบ่งเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 86,802 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 213,203 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 82
ในจำนวนนี้พบว่า เบี้ยประกันรับรายใหม่ 86,802 ล้านบาท ประกอบด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่า หากดูกรมธรรม์เทียบกับจำนวนประชากรจะอยู่ที่ 38-39% โดยประชากร 1 คน อาจจะมีมากกว่า 1 กรมธรรม์ โดยหลักการ ดังนั้นสมาคมฯ จึงต้องมีการคุยเพื่อเก็บข้อมูลให้มากขึ้น พร้อมกับประเมินว่าจะมีโอกาสในการทำให้คนเข้าถึงประกันได้มากขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากดูจากหลายๆ ประเทศที่มีสัดส่วนเกินร้อยละ 50-100
หากมองในมิติของเบี้ยรวมที่มีส่วนในการผลักดัน GDP ของประเทศ บางประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5-7 ส่วนประเทศไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 จึงมีโอกาสที่ภาคธุรกิจประกันจะเติบโตมากขึ้น หรืออีกในแง่หนึ่งคือประกันจะมีประโยชน์กับคนไทยมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยหลากหลายปัจจัย
จากข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทย พบว่า จากเดิมที่คนเจเนอเรชั่นที่อายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป คือกลุ่มที่นิยมทำประกันมากที่สุด เนื่องจากมีส่วนเกินของรายได้ และด้วยอายุ และเห็นภาพของสุขภาพ ปัญหาสุขภาพเริ่มมา แต่ในปัจจุบันเริ่มเห็นคนอายุน้อยทำประกันมากขึ้นอย่างชัดเจน และเริ่มเห็นเจนใหม่ที่อายุประมาณ 20 ปีกว่าๆ ซึ่งเป็น First Jobber เริ่มซื้อประกันมากขึ้น ซึ่งจะซื้อผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก และซื้อผ่านนายหน้าก็มีบ้าง
พบว่ามีปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2566 โดยคาดการณ์ว่าภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตปี 2566 จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวมประมาณ 612,500-623,500 ล้านบาท เติบโตอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0-2 ด้วยอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประมาณร้อยละ 81-82
โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย 2.อัตราดอกเบี้ยทิศทางขาขึ้น 3.การผ่อนคลายกฎระเบียบ การกำกับดูแลให้เป็น Principle-Base มากขึ้น และมาตรการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ 4.การเป็นสังคมผู้สูงอายุ 5.แนวโน้มกระแสรักษาสุขภาพ
ส่วนปัจจัยท้าทาย ได้แก่ 1.เศรษฐกิจโลกชะลอตัว 2.ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพง 3.ความไม่แน่นอนทางการเมือง 4.การบังคับใช้มาตรฐานสากล 5.ภัยคุกคามทางไซเบอร์ 6.สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ติดตามข่าวสารอัปเดต เศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในประเทศ บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ล่าสุด ได้ที่นี่
ข่าวเศรษฐกิจ : https://www.thairath.co.th/money/economics
เศรษฐกิจนในประเทศ : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ
เศรษฐกิจโลก : https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ