ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนไทยมักมีมุมมองแง่ลบต่อการสร้างหนี้ โดยมองว่าหนี้เป็นภาระความยุ่งยากที่เมื่อหลวมตัวเข้าไปแล้วยากที่จะออกมาได้ แต่ชีวิตคนเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
ในช่วงที่ขาดสภาพคล่อง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย การรู้จักบริหารหนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยก่อนที่จะตัดสินใจขอสินเชื่อ นอกจากรู้ความต้องการตัวเองแล้ว การเข้าใจข้อแตกต่างของสินเชื่อแต่ละประเภท และรู้อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย จะช่วยให้เรารู้ต้นทุนการกู้ยืมและสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมั่นใจ
ค่าตอบแทนที่ผู้กู้จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้ เมื่อครบกำหนดสัญญา โดยทั่วไปมักถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปีของเงินต้นและระยะเวลาที่กู้ยืม ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตลอดอายุของสินเชื่อ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีหลายประเภท หลายอัตรา ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ
ซึ่งในที่นี้ผู้ให้กู้หมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือ Non-bank
เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่เอารัดเอาเปรียบลูกหนี้ จนไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ประเทศไทยจึงมีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ซึ่งกำหนดให้การกู้ยืมระหว่างบุคคลห้ามคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา 15% ต่อปี
สำหรับสถาบันการเงิน และ Non-banks ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้สินเชื่อส่วนบุคคลต้องคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันแล้วไม่เกิน 25% ต่อปี (Effective Rate)
วงเงินกู้ขึ้นอยู่กับมูลค่าบ้านและจำนวนสัญญากู้ยืม
ถ้าสัญญาที่ 1
มูลค่าที่อยู่อาศัย < 10 ล้านบาท ไม่เกิน 100%
มูลค่าที่อยู่อาศัย > 10 ล้านบาท ไม่เกิน 90%
สัญญาที่ 2
ไม่เกิน 80-90%
สัญญาที่ 3
ไม่เกิน 70%
โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15%
พิจารณาให้วงเงินตามฐานเงินเดือน ดังนี้
โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 16% ต่อปี
สินเชื่อที่สถาบันการเงิน หรือ Non-Banks อนุมัติให้ลูกค้าสามารถเบิกใช้ได้ตามความต้องการ ภายในวงเงินที่กำหนด และเมื่อชำระคืนบางส่วนแล้วก็จะได้รับวงเงินกลับคืนมาใช้ได้อีก การพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 25% ต่อปี
เงินเดือนขั้นต่ำ: ไม่กำหนด
โดยวงเงินพิจารณาตามฐานเงินเดือน ดังนี้
อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 25% ต่อปี
พิจารณาให้วงเงินขึ้นอยู่กับประเภทของรถและมูลค่าประเมิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 24%
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์
เป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย ซึ่งไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
โดยให้วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท
อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน
โดยให้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 33% ต่อปี
สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
โดยให้วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 33% (สินเชื่อมีหลักประกัน)
และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% (สินเชื่อไม่มีหลักประกัน)
สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
โดยให้วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ ข้อมูลเพดานอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ จะมีการประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ ซึ่งผู้ต้องการสินเชื่อสามารถติดตามและอัปเดตอัตราดอกเบี้ยผ่านเว็บไซต์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แสดงในบทความนี้เป็นข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2568
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney