ปีใหม่ อยากได้บ้านใหม่ ! เรื่องที่คนทำงานต้องรู้  ก่อน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ปี 2025

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ปีใหม่ อยากได้บ้านใหม่ ! เรื่องที่คนทำงานต้องรู้  ก่อน “ซื้อบ้าน-คอนโด” ปี 2025

Date Time: 1 ม.ค. 2568 11:30 น.

Video

เปิดเคล็ดลับ ลดหย่อนภาษี ถือสั้น กำไรพุ่ง ต้องซื้อกองทุนฯ แบบไหน ? | Money Issue

Summary

  • รวมเคล็ดลับ เรื่องราวที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจ ซื้อบ้าน - ซื้อคอนโดมิเนียม ปี 2025 เตรียมตัว และ วางแผนการเงินให้ดี ก่อนยื่นกู้ซื้อที่อยู่อาศัย

Latest


ช่วงปีใหม่ ถือเป็น ช่วงเวลาดีๆ ในการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง บางคนทำงานหนักมาทั้งชีวิต ถึงเวลาตัดสินใจ ซื้อ “ของขวัญ” ชิ้นใหญ่ให้กับตนเองและครอบครัว โดยเป้าหมายสูงสุดของคนทั่วไป อาจเป็น “บ้าน” สักหนึ่งหลัง หรือ “คอนโดมิเนียม” ทำเลดีๆสักหนึ่งยูนิต เพื่อเป็น Safe Zone ดีๆให้กับชีวิต 

แต่รู้หรือไม่ ? การตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ  หากยังตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ เช่น ไลฟ์สไตล์หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของเราเหมาะกับบ้านหรือคอนโดฯ

รวมไปถึง ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมก่อนมีบ้าน เช่น การวางแผนการเงิน ในการกู้ซื้อบ้าน เพราะหาก ไม่เตรียมพร้อมมาให้ดี ปัญหาอาจรอเราอยู่ข้างหน้า

เคล็ดลับและเรื่องราวที่ควรรู้สำหรับคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง 

1. งบประมาณและความสามารถทางการเงิน

  • รายได้: ตรวจสอบรายได้สุทธิและความสามารถในการผ่อนชำระรายเดือน (ไม่ควรเกิน 30-40% ของรายได้)
  • เงินออม: เตรียมเงินดาวน์ (ประมาณ 10-20% ของราคาบ้าน/คอนโด) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าจดจำนอง และ ค่าธรรมเนียมโอน ฯ
  • สินเชื่อ: ตรวจสอบเงื่อนไขการกู้จากธนาคาร เช่น ดอกเบี้ย, ระยะเวลาผ่อนชำระ

ตัวอย่างการคำนวณ ราคาบ้าน ต่อ วงเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ มาตรการ LTV (Loan-to-value ratio)

ราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • สัญญาที่ 1 : กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน
  • สัญญาที่ 2 : เงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% หากผ่อนสัญญาที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี (เดิม 3 ปี) // เงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% หากผ่อนสัญญาที่ 1 น้อยกว่า 2 ปี (เดิม 3 ปี)
  • สัญญาที่ 3 : เงินดาวน์ขั้นต่ำ 30%

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนไม่ค่อยรู้ ก็คือการไม่มีหนี้เลยไม่ได้ แปลว่าเราจะได้รับการอนุมัติเงินกู้ง่ายกว่าคนที่มีหนี้ เป็นเรื่องที่คิดผิด เพราะคนที่ไม่มีหนี้ ไม่เคยสมัครบัตรเครดิตใด ๆ ธนาคารเองก็จะมองไม่เห็นว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้ เพราะไม่เคยมีประวัติในการชำระหนี้ให้เห็น ในทางตรงกันข้ามการมีหนี้ที่สามารถจัดการได้จะช่วยสร้างเครดิตการเงินให้เรา นั่นก็เพราะว่า ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จะสามารถตรวจสอบประวัติของเรา และวิเคราะห์การชำระหนี้ของเรา

ถ้าเรามีประวัติที่ดี จ่ายหนี้ตรงเวลาทุกครั้ง ไม่เคยมีการผิดชำระหนี้ สิ่งนี้จะถูกบันทึกในฐานข้อมูลในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโรนั่นเอง หากใครอยากได้ความน่าเชื่อถือทางการเงินมากขึ้น ลองพิจารณาสมัครบัตรเครดิตและซื้อสินค้าแบบผ่อนเป็นงวด ๆ ดูบ้าง เพื่อเป็นการปูทางให้ธนาคารและสถาบันการเงินเห็นว่าเรามีวินัยทางการเงิน มีความสามารถในการชำระหนี้ได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มที่จะเป็นลูกหนี้ที่ดีหากได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามวงเงินที่ขอมา

2. ทำเล

  • ใกล้ที่ทำงานหรือเดินทางสะดวก เช่น ใกล้รถไฟฟ้า, ถนนสายหลัก, หรือจุดขึ้นลงทางด่วน
  • มีสิ่งอำนวยความสะดวกใกล้เคียง เช่น โรงพยาบาล, โรงเรียน และ ห้างสรรพสินค้า ฯ

3. รูปแบบการอยู่อาศัย

  • บ้าน: มีพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง เหมาะสำหรับครอบครัวหรือผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
  • คอนโดมิเนียม: เหมาะสำหรับคนที่ชอบความสะดวกและใช้ชีวิตในเมือง

4. ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

  • ตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด, ระบบคีย์การ์ด
  • สำรวจสภาพแวดล้อม เช่น ความเงียบสงบ, สภาพชุมชน, ไม่มีปัญหาน้ำท่วม

5. โครงสร้างและการออกแบบ

  • วัสดุและการก่อสร้างมีคุณภาพ
  • รูปแบบบ้าน/คอนโดเหมาะกับไลฟ์สไตล์ เช่น ขนาดห้อง และ แปลนห้อง

6. ชื่อเสียงของผู้พัฒนา

เลือกผู้พัฒนาที่มีความน่าเชื่อถือ และโครงการที่เคยสร้างมีคุณภาพ

7. โอกาสในการเพิ่มมูลค่า

ศึกษาศักยภาพของทำเลว่ามีแนวโน้มเติบโตในอนาคตหรือไม่ สำหรับการซื้อเพื่อปล่อยเช่าหรือขายต่อในอนาคต

8. ค่าใช้จ่ายระยะยาว

  • ค่าส่วนกลาง 
  • ค่าบำรุงรักษาและค่าน้ำไฟ

9. กฎหมายและเอกสาร

  • ตรวจสอบโฉนดที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ว่าไม่มีปัญหา
  • อ่านสัญญาให้ละเอียดก่อนเซ็น

10. ทดลองอยู่อาศัย

หากเป็นไปได้ ลองเช่าบ้านหรือคอนโดในทำเลเดียวกันเพื่อประเมินความพึงพอใจก่อนตัดสินใจซื้อ

ทั้งนี้ การวางแผนอย่างรอบคอบและคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้เราตัดสินใจได้เหมาะสมและไม่เกิดปัญหาในระยะยาวนั่นเอง 

ที่มา : Jobthai ,ธอส.

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ