รวม 18 วิธีลดหย่อนภาษีปี 2567

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รวม 18 วิธีลดหย่อนภาษีปี 2567

Date Time: 2 พ.ย. 2567 09:00 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • “Thairath Money” รวบรวม 18 วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2567 ทั้งจากการลดหย่อนและยกเว้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนด และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

Latest


ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้ เป็นช่วงเวลาที่หลายคนกำลังเตรียมตัวเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องเสีย และกำลังหาวิธีในการลดหย่อนภาษีเพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องชำระ หรือใช้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ

ซึ่งการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับฐานรายได้ของแต่ละคน รายได้ยิ่งสูงก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น การคิดภาษีสามารถแบ่งออกเป็นขั้นบันไดตามระดับรายได้ ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่ 5% จนถึงสูงสุด 35% ดังนั้น การลดหย่อนจะช่วยประหยัดเงินภาษีได้ในแต่ละปี

ในครั้งนี้ “Thairath Money” รวบรวมวิธีลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2567 มาให้แล้ว 18 วิธี ดังนี้

ค่าลดหย่อนและยกเว้นเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้อีก หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  1. ลดหย่อนส่วนตัว ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ไม่เกิน 60,000 บาท
  3. ลูกที่เรียนอยู่และอายุไม่เกิน 25 ปี คนละ 30,000 บาท และลูกตั้งแต่คนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  4. ค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท
  5. ค่าอุปการะพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
  6. ค่าอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  7. เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส ไม่เกิน 10,000 บาท (หากคู่สมรสไม่มีรายได้)
  8. เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ของผู้มีรายได้ และคู่สมรส ไม่เกิน 15,000 บาท
  9. เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีรายได้ ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

นอกจากนี้ การลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเก็บออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว และยังช่วยลดภาระทางภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการสร้างความมั่นคงในอนาคต

ดังนั้น การศึกษาการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี เป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูล และเลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมายการเงินของตนเอง

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่น่าสนใจมากมายที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แถมยังช่วยส่งเสริมการออมระยะยาวด้วย ได้แก่

  1. เงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่เกิน 15% ของค่าจ้างและไม่เกิน 500,000 บาท
  2. เงินสะสม กองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ไม่เกิน 500,000 บาท
  3. เงินสะสม กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
  4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 15% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
  5. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
  6. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
  7. กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 500,000 บาท
  8. กองทุน SSF (Super Savings Fund) ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท
  9. กองทุน Thai ESG ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 300,000 บาท

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุน Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ที่ปัจจุบันกำหนดเพดานลดหย่อนภาษีรวมกันสูงสุดที่ 500,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 800,000 บาท

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ