5 เรื่องการเงิน ต้องรู้! ก่อนคิด “ลาออก” จากงาน วางแผนไม่รอบคอบ อาจพังไม่เป็นท่า

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

5 เรื่องการเงิน ต้องรู้! ก่อนคิด “ลาออก” จากงาน วางแผนไม่รอบคอบ อาจพังไม่เป็นท่า

Date Time: 29 ก.ค. 2567 10:58 น.

Video

บิทคอยน์ VS เงินในกระเป๋าเกี่ยวกันยังไง ? | Digital Frontiers

Summary

  • เช็กลิสต์ 5 เรื่องการเงิน ต้องรู้! ก่อนตัดสินใจ “ลาออก” จากงาน เงินสำรองฉุกเฉินต้องมี-หนี้สินต้องเคลียร์ให้ครบ เพราะหาก วางแผนไม่รอบคอบ อาจพังไม่เป็นท่า

Latest


งานเยอะขึ้น แต่ “เงินเดือน” ไม่ขึ้นตาม! ยิ่งทำงาน สุขภาพกายและใจ ยิ่งย่ำแย่ เพราะความเครียด, บริษัทกำลังอยู่ในช่วงขาลง, ไม่ชอบหน้าเจ้านาย ถูกหัวหน้ากลั่นแกล้ง เรื่อยไปจนถึง โดนโยกย้ายไปทำงานในแผนกที่ไม่ถนัด ซ้ำร้าย รู้สึกว่า มองไปเห็นแต่ความว่างเปล่า ไม่เห็นความก้าวหน้า และหากถึงขั้นว่ามีความรู้สึกด้อยค่าตัวเอง ไม่ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ตื่นเช้ามาพร้อมกับความสิ้นหวัง ซ้ำๆ ก็คงถึงเวลาของคำว่า “ลาออก”

แต่การลาออกจากงาน นับเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่ส่งผลต่อชีวิตในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เรื่องการเงิน” ที่ต้องเตรียมความพร้อมเสียก่อน เพื่อให้สามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงและไม่สะดุด ซึ่ง 5 เรื่องเงิน ควรรู้ก่อนตัดสินใจลาออกจากงาน โดยคำแนะนำของ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย มีดังนี้ 

5 เรื่องการเงินต้องรู้ 

  1. เงินสำรองฉุกเฉิน เบาะรองรับที่ขาดไม่ได้ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อนในช่วงที่ยังไม่มีรายได้ประจำ
  2. หนี้สิน จัดการให้เรียบร้อยก่อน การมีหนี้สินติดตัวจะทำให้กังวลและเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนการเงินในอนาคต
  3. รายได้หลังออกจากงาน วางแผนให้รอบคอบ ประเมินรายได้หลังจากลาออกให้รัดกุม ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิต
  4. ค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์ ตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากลาออก เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับอย่างครบถ้วน
  5. ประกันสังคมและประกันสุขภาพ เราควรศึกษาทางเลือกในการทำประกันสังคมมาตรา 39 หรือ 40 เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล และควรทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม

ทั้งนี้ บางบริษัทที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) ซึ่งหักจากเงินเดือนพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง โดยเงื่อนไขในการจ่ายเงินสมทบจะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท เช่น หากระยะเวลาการทำงานเกิน 3 ปี บริษัทจะต้องจ่ายเงินสมทบให้ 30% ทำงานเกิน 5 ปี 50% เป็นต้น ฉะนั้นควรตรวจสอบจำนวนเงินก้อนนี้ให้ชัดเจนก่อนยื่นลาออก

อ่านข่าวหุ้น ข่าวทองคำ และ ข่าวการลงทุน และ การเงิน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ