“ซื้อบ้าน" ปี 67 ต้องรู้อะไรบ้าง? ป้องกันการถูกหลอก รับประโยชน์จาก "มาตรการกระตุ้นอสังหา"ของรัฐ

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

“ซื้อบ้าน" ปี 67 ต้องรู้อะไรบ้าง? ป้องกันการถูกหลอก รับประโยชน์จาก "มาตรการกระตุ้นอสังหา"ของรัฐ

Date Time: 22 ก.ค. 2567 12:00 น.

Video

"CINDY CHAO The Art Jewel" สองทศวรรษอัญมณีศิลป์ | Brand Story Exclusive EP.4

Summary

  • รัฐบาลออกมาตรการลดค่าโอนและจำนองเหลือ 0.01% สำหรับบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท ถึง 31 ธ.ค. 67 พร้อมลดหย่อนภาษีบ้านสร้างเอง 1 แสนบาท ถึง 31 ธ.ค. 68 ขณะ ธอส. จัดซอฟต์โลน 30,000 ล้าน ดอกเบี้ยต่ำสุด 2.98% ปล่อยกู้บ้านไม่เกิน 3 ล้าน เพื่อช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย ที่ต้องการ “ซื้อบ้าน”

Latest


ใครที่กำลังต้องการซื้อบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่งหรือบ้านมือสอง ผ่านโครงการหรือผ่านตัวแทน ในปี 2567 นี้ รัฐบาลได้มีการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน จึงเป็นโอกาสที่ดีของทุกคนที่จะสามารถตัดสินใจซื้อบ้านได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ปี 2567 สำหรับคนต้องการซื้อบ้าน/สร้างบ้าน 

  • ลดค่าโอนและจำนองรวมกัน จาก 3% เหลือ 0.01% หากเทียบกับราคาบ้านก็จ่ายค่าโอนน้อยลงเยอะมาก จากล้านละ 30,000 บาท เหลือล้านละ 300 บาท ขยายเพดานจากราคาไม่เกิน 3 ล้าน เพิ่มเป็น 7 ล้าน ถึง 31 ธ.ค. 67 
  • "บ้านสร้างเอง" ลดหย่อนภาษี 1 แสน ให้เวลาถึง 31 ธ.ค. 68
    (เฉพาะเงินได้บุคคลธรรมดา)
  • "ธอส.จัดซอฟต์โลน" 30,000 ล้าน ดอกเบี้ย 2.98-3% ปล่อยกู้ราคา ไม่เกิน 2.5-3 ล้านบาท ใน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home และ
  • โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life
  • กู้ซื้อบ้านหลังแรกได้สูงสุด 110% ของมูลค่าหลักประกัน


6 ข้อ เตรียมความพร้อมทางการเงิน ก่อนตัดสินใจ “ซื้อบ้าน”

โดยปกติการซื้อบ้านเป็นกระบวนการที่มีเอกสารและขั้นตอนที่ต้องจัดการมากมาย แต่ด้วยบริการด้านเอกสารที่ดีในปัจจุบัน ผู้ซื้อส่วนใหญ่เพียงแค่ต้องเซ็นเอกสารเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในสัญญาและความพร้อมทางด้านการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยสามารถตรวจสอบความพร้อมทางการเงินได้ดังนี้

  1. ความสามารถในการกู้: ตรวจสอบกับธนาคารถึงวงเงินที่สามารถกู้ได้และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
  2. เดินบัญชีธนาคารให้สวย: เมื่อยื่นกู้เงินซื้อบ้าน ธนาคารจะขอดูบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน ดังนั้น ควรมีเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรถอนออกหมด 
  3. ภาระหนี้: ไม่ควรเกิน 30-40% ของรายได้
  4. เงินออม: ควรมีเงินออมอย่างน้อย 10% ของราคาบ้าน
  5. การเคลื่อนไหวของบัญชี: ย้อนหลัง 6 เดือน
  6. ประวัติการชำระหนี้: ย้อนหลัง 2 ปี


ทำความเข้าใจ “สัญญาซื้อ-ขายบ้าน” 

เมื่อมีความพร้อมทางการเงินแล้ว สัญญาแรกที่ควรรู้จักคือ "สัญญาจะซื้อจะขาย" ซึ่งหมายความว่าหลังทำสัญญานี้เสร็จยังไม่เกิดการซื้อขายกันจริง เพียงแค่มีการล็อกไว้เพื่อนำหลักฐานนี้ไปยื่นกู้ สัญญานี้จะระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้ซื้อบ้าน ใครเป็นผู้ขายบ้าน ซื้อขายบ้านไหน ราคาเท่าไร ฯลฯ

หากไม่มีการระบุเพิ่มเติม ตามกฎหมายแล้วผู้ซื้อและผู้ขายต้องเสียค่าโอนคนละครึ่ง ผู้ขายจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าธรรมเนียมต่างๆ จะไปอยู่ฝั่งผู้ขายซะเยอะ แต่ในสัญญาจะซื้อจะขาย ผู้ขายสามารถเขียนเพื่อผลักภาระไปยังผู้ซื้อได้ 

ดังนั้น ผู้ซื้อควรอ่านรายละเอียดดีๆ ว่าเรายอมรับเงื่อนไขได้หรือไม่ ในส่วนสุดท้ายก็จะมีวันที่นัดโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อเราจะนำเอกสารตรงนี้ไปยื่นกู้ ควรหาข้อมูลให้ดีว่าธนาคารใช้หลักฐานอะไรประกอบบ้าง และทำเรื่องให้เสร็จภายในวันที่นัดโอนกรรมสิทธิ์

ข้อควรระวัง 

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่างๆ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข้าใจและยอมรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  2. ดูบ้านจริงๆ ก่อนซื้อ: ควรไปดูบ้านจริงๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผู้อาศัยอยู่ และตรวจสอบความเป็นเจ้าของโฉนดและที่ดินผืนนั้นให้ดี
  3. การประเมินราคาบ้านจากผู้ประเมินราคาที่เชื่อถือได้: เตรียมตัวเจรจาเงื่อนไขการซื้อขายกับผู้ขายหรือผู้แทนจำหน่าย


ทั้งนี้ การมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยให้การซื้อบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ