ลาออก หรือ ตกงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ต้องขาย ย้ายไปออมต่อได้ผ่าน RMF

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ลาออก หรือ ตกงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ต้องขาย ย้ายไปออมต่อได้ผ่าน RMF

Date Time: 20 ก.ค. 2567 06:01 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • มนุษย์เงินเดือนที่มีความจำเป็นต้องออกจากงาน หรือ ลาออก มักมีคำถามว่า กองทุน สำรองเลี้ยงชีพ หรือ PVD หากต้องการออมเงินในกองทุนและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไป สามารถโอนเงินจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไปอยู่ใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้โดยเรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า “RMF for PVD”

Latest


พนักงานเงินเดือนหลายคนคงคุ้นกับคำว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) ซึ่งเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานเงินเดือนเพื่อใช้เป็นเงินสำรองหลังเกษียณ หากคุณออกจากงานก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุการทำงานไม่ถึง 5 ปี ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ลาออกจากงาน ไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือเสียชีวิต คุณจำเป็นต้องลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย และต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินที่ได้รับ แต่ถ้าคุณยังต้องการออมเงินและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไป คุณควรทำอย่างไร?

ปัจจุบันก็มีทางเลือกสำหรับคนไม่อยากเสียภาษี โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ให้สามารถโอนเงินจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไปอยู่ใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้แล้ว 

โดยเรียกว่า กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกว่า “RMF for PVD” เพื่อให้คนที่ถูกยกเลิกสมาชิก PVD ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามสามารถออมเงินต่อได้และประหยัดภาษีได้อีกด้วย

“ลาออก หรือ ตกงาน” ก็ยังเก็บเงินต่อได้

หากมีการเปลี่ยนงาน สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถเก็บเงินต่อเนื่องในรูปแบบเดิมได้ มีสองทางเลือกดังนี้

  1. โอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิมไปยังกองทุนของบริษัทใหม่ สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือภาษี หาคง PVD ไว้กับบริษัทเดิม จะต้องเสียค่าคงสถานะปีละ 500 บาท
  2. โอนไปยังกองทุนรวมเพื่อรับเงินโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF for PVD) เหมาะสำหรับคนที่ย้ายบริษัทและไม่ชอบนโยบายการลงทุนของบริษัทใหม่ หรือคนที่ลาออกจากงานไปทำธุรกิจส่วนตัว สามารถโอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป RMF for PVD ได้ หรือผู้ที่นายจ้างยกเลิก PVD แต่สมาชิกยังอายุไม่ถึง 55 ปี แต่ถ้าย้ายไปแล้วจะไม่สามารถกลับไป PVD ได้อีก

ทำไมต้องโยกย้ายเงินทุน

ข้อดี คือ ไม่ต้องเสียภาษี, มีนโยบายกองทุนที่หลากหลาย 

ข้อควรระวัง คือ เมื่อโอนเงินไปยัง RMF for PVD แล้วจะไม่สามารถย้ายเงินดังกล่าวกลับมา PVD ได้อีก และไม่สามารถโอน PVD ไปยัง RMF for PVD หลายบลจ.

วิธีโยกย้าย

  1. เลือกนโยบายการลงทุนและกองทุนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของตนเอง เช่น ความเสี่ยงที่รับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง
  2. เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน หรืออ่านหนังสือชี้ชวนของกองทุนประเภทนั้นๆ เพื่อเลือกกองทุน RMF for PVD ที่จะลงทุน
    กองทุนที่มีค่าธรรมเนียมสูงอาจส่งผลกระทบต่อเงินออมระยะยาวเมื่อเทียบกับกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนที่เก็บค่าธรรมเนียมสูง

 

อ่านข่าวหุ้น และการลงทุน กับ Thairath Money ได้ที่

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์