THE WISDOM ส่องทิศทางการลงทุน ชูประเทศ “6R” น่าลงทุน ปรับพอร์ตสู้ศึกครึ่งปีหลัง

Personal Finance

Banking & Bond

Content Partnership

Author

Content Partnership

Tag

THE WISDOM ส่องทิศทางการลงทุน ชูประเทศ “6R” น่าลงทุน ปรับพอร์ตสู้ศึกครึ่งปีหลัง

Date Time: 27 มิ.ย. 2567 16:37 น.
Content Partnership

Summary

  • ถอดรหัสการลงทุนครึ่งปีหลัง ในสัมมนา THE WISDOM Wealth Decoded จับตา 6 ประเทศน่าลงทุนที่มีปัจจัยเกื้อหนุนทั้งเศรษฐกิจ นโยบายการเงินการคลัง กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต พร้อมแนะโอกาสปรับพอร์ตมุ่งผลตอบแทนระยะยาว

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับความท้าทายจากหลายปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นบ่อย ทั้งเทคโนโลยีที่โตอย่างก้าวกระโดด ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า และการเมืองภายในประเทศ ต่างส่งผลให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก จึงเป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อหากลยุทธ์ปรับพอร์ตเพื่อรับโอกาสเติบโตจากความท้าทายเหล่านี้

ถึงเวลาปรับพอร์ตครั้งใหญ่

ในงาน THE WISDOM Wealth Decoded เอกสิทธิ์ด้านการลงทุน The Symbol of Your Vision ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ "ส่องทิศทางการลงทุน พร้อมกลยุทธ์ปรับพอร์ตครึ่งปีหลัง 2024" มทินา วัชรวราทร, CFA, Head of Investment Strategy บลจ. กสิกรไทย ได้มาไขข้อข้องใจ พร้อมกับถอดรหัสประเด็นร้อน แนวโน้ม ตลอดจนวิเคราะห์เศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน โอกาสและความเสี่ยง พร้อมคำแนะนำเพื่อโอกาสในการต่อยอดการลงทุนที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อลูกค้าเดอะวิสดอมกสิกรไทยโดยเฉพาะ

เริ่มแรก มทินา ฉายภาพว่า ตลาดต่างประเทศถือว่าสดใส เป็นโอกาสที่ดีในการกระจายลงทุนเพื่อโอกาสรับผลตอบแทน

จึงได้หยิบยก 6 ประเทศผ่านมุมมองกลยุทธ์ “6R” ที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังดังนี้

1. สหรัฐอเมริกา (US: Resilience) ความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งถือได้ว่ามีความแข็งแกร่ง นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อเมริกาโดดเด่น คือเรื่องของ AI ที่ทำให้ “ตลาดหุ้นอเมริกา” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากเดิมที่หลายคนมักมองว่าเศรษฐกิจอเมริกาเติบโตค่อนข้างช้า กลับกลายเป็นว่าให้ผลตอบแทนสูงมากเลยทีเดียว

แต่กระนั้นอเมริกาไม่ได้มีจุดเปลี่ยนแค่ AI แต่มีอีกสิ่งหนึ่งคือ Immigration ซึ่งช่วยให้มีแรงงานใหม่ๆ เข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งการที่ประเทศใดๆ ก็ตามจะมีการเติบโตจะต้องมี คน เงิน และเทคโนโลยี ทำให้ ณ วันนี้พื้นฐานของอเมริกาแข็งแกร่งอย่างมาก

โดยสรุปคือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวในลักษณะ Soft Landing โอกาสการลดดอกเบี้ยของ FED ในปีนี้ ลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง แต่ด้วยผลประกอบการไตรมาส 1 ของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาแข็งแกร่งจึงยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้น

ซึ่งจะเป็นผลดีทั้ง “หุ้น” และ “พันธบัตร” ดังนั้นนักลงทุนจึงควรมองระยะยาว และที่สำคัญคือ ต้องมองไปที่กำไรของบริษัทที่จดทะเบียนว่าเติบโตหรือไม่ ทั้งหมดนี้คือมุมมองต่อตลาดสหรัฐฯ ที่มีผล Overweight หรือควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่กล่าวถึง โดยแนะนำเข้าลงทุนในจังหวะที่ตลาดหุ้นมีการปรับฐาน

2. ยุโรป (EU: Rethink) มีการเมืองเป็นประเด็นหลักที่ต้องติดตาม เพราะหลังจากที่มีการเลือกตั้งของสภายุโรป นักลงทุนจึงเกิดความไม่มั่นใจเทขายทั้งหุ้นยุโรป และพันธบัตรของฝรั่งเศส แต่ยุโรปยังมีปัจจัยบวก คือตัวเลขดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น และสิ่งสำคัญคือมูลค่าหุ้นยุโรปไม่ได้แพง และกำไรมีทิศทางดีขึ้น มีบริษัทที่เป็นดาวเด่นค่อนข้างมาก ฉะนั้นตลาดยุโรปจึงเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการเพิ่มในพอร์ตการลงทุน โดยแนะนำให้รอดูผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสก่อนที่จะเข้าเก็บสะสมหุ้นยุโรปเข้าพอร์ต

3. ญี่ปุ่น (Japan: Reform & Recovery) การปฏิรูปบริษัทจดทะเบียน โดยตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นมีมาตรการกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนผันเงินสดที่มีอยู่ในระดับสูง นำมาลงทุนเพิ่ม เพื่อสร้างมูลค่าและผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น อย่างการลงทุนเพิ่ม จ่ายปันผล, ซื้อหุ้นคืน รวมถึงเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตร้อนแรงจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ที่ได้อานิสงส์จากค่าเงินเยนอ่อนตัว ทำให้ตลาดญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนที่ดีตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ แต่ยังมีจุดที่ต้องระวังคือหากปล่อยให้ค่าเยนอ่อนตัวมากเกินไปจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน

4. จีน (China: Rebalancing) การค้นหาจุดสมดุลใหม่ โดยเศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ และยังไม่สมดุลกัน ระดับราคาหุ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ด้วยเหตุผลหลักอันเนื่องมาจากการบริโภคและภาคอสังหาฯ ยังไม่ฟื้น

ซึ่งเครื่องยนต์ที่จีนพึ่งพามาโดยตลอดคือ ภาคการผลิต และส่งออก ดังนั้นจุดแข็งเดิมที่เคยเป็น กลายเป็นจุดอ่อนในบางจังหวะ เช่น เรื่องของการกีดกันทางการค้า ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนต้องกลับมารีบาลานซ์ สิ่งที่เป็นความหวังของจีนคือ การหันไปหาอุตสาหกรรมใหม่ อย่าง พลังงานสะอาด เซมิคอนดักเตอร์ และเทคโนโลยี

จึงสรุปได้ว่า ตลาดจีนยังคงต้องระมัดระวัง และจับตาในเรื่องของราคาของภาคอสังหาฯ ด้วยเช่นกัน

5. อินเดีย (India: Rising Rapidly) การเติบโตอย่างรวดเร็ว อินเดียถือเป็นประเทศเติบโตสูงที่สุดในเอเชีย ซึ่งมาจากการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้งกำไรบริษัทจดทะเบียนขยายตัวสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ราคาหุ้นสะท้อนภาพบวกไปค่อนข้างมาก ทำให้ระดับราคาหุ้นขึ้นมาอยู่ในระดับสูง

แต่กระนั้นต้องมองความเสี่ยงของอินเดีย ข้อแรกคือ แรงงานที่มีทักษะและเป็นเพศชายอยู่ในสัดส่วนที่มีจำกัด ข้อสองคือ แม้ว่าอินเดียการเติบโตค่อนข้างดี แต่ส่วนหนึ่งมาจากภาครัฐ มีการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งการนำบริษัทอินเดียเข้าไปอยู่ใน Global supply chain แต่เมื่อไรที่รัฐบาลหยุดการใช้จ่าย หยุดการลงทุน อาจทำให้การเติบโตของ GDP ดรอปลงมาได้ อีกทั้งเรื่องของการเลือกตั้งที่อาจจะมีผลอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้นในมุมมองการลงทุนยังมองเชิงบวก จึงแนะนำว่านักลงทุนอาจจะใช้จังหวะสะสมหุ้นอินเดียเพิ่มได้

6. เวียดนาม (Vietnam: Rising Star) ดาวเด่นแห่งอาเซียน เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวต่อเนื่อง ภาคการส่งออกยังคงเติบโตดี โดยมูลค่าการส่งออกเติบถึง 15% ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของเวียดนาม และมีความต้องการในตลาดสูงขึ้น นอกจากนี้ มูลค่าหุ้นยังคงอยู่ในระดับที่พึงพอใจ

ชูหลักการการจัดพอร์ต Core และ Satellite

เพราะไม่มีสินทรัพย์ใด หรือตลาดใดที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดตลอดเวลา นักลงทุนจึงไม่ควรลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ควรกระจายการลงทุน โดยใช้หลักการการจัดพอร์ต Core และ Satellite

สำหรับ Core Port แนะนำกองทุน ‘K-WealthPLUS Series’ ที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภททั่วโลก เป็นโซลูชันด้านการลงทุนที่ บลจ. กสิกรไทยพัฒนาร่วมกับ J.P. Morgan Asset Management พันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก แนะนำให้ถือในสัดส่วน 80% ของพอร์ตทั้งหมด สามารถเลือกได้ตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม ได้แก่

  • K-WPBALANCED ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 30% และตราสารหนี้ 70%
  • K-WPSPEEDUP ความเสี่ยงปานกลาง มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 65% และตราสารหนี้ 35%
  • K-WPULTIMATE ความเสี่ยงปานกลางถึงสูง มีสัดส่วนหุ้นประมาณ 85% และตราสารหนี้ 15%

สำหรับอีก 20% เป็น Satellite Port สามารถเลือกลงทุนได้ในตลาดที่สนใจ หรือต้องการจับจังหวะเพื่อเก็งกำไร โดยกองทุนที่แนะนำได้แก่

  • K-GLOBE มีนโยบายกระจายลงทุนในหุ้นทั่วโลก
  • K-INDIA เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดี เติบโตสูง ทั้งหุ้นขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก
  • K-VIETNAM ลงทุนในหุ้นชั้นนำ มีศักยภาพการเติบโตสูงในหลายอุตสาหกรรม
  • K-FIXPLUSED เน้นคัดเลือกตราสารหนี้ไทยคุณภาพดี ช่วยลดความผันผวนให้พอร์ต

ลูกค้าเดอะวิสดอมกสิกรไทยที่สนใจร่วมงานสัมมนา THE WISDOM Wealth Decoded ครั้งต่อไป สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.kasikornbank.com/k_4cyudik

#KBankTHEWISDOM #WealthDecoded #KBank
*ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


Author

Content Partnership

Content Partnership