ส่วนต่างดอกกู้-ดอกฝาก

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ส่วนต่างดอกกู้-ดอกฝาก

Date Time: 8 พ.ค. 2567 05:33 น.

Summary

  • ความสัมพันธ์ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลน่าจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่า ร้าวฉาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยิ่งเมื่อสาวกทั้งหลายออกมาถือป้าย “Save ผู้ว่าแบงก์ชาติ” (ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาท นฤพุฒิ) หนำซ้ำในเวลาเดียวกันยังเฮละโลไปเล่นงาน คุณอุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร หน.พรรคเพื่อไทย ที่ออกมาวิจารณ์แบงก์ชาติไม่ยอมปรับลดดอกเบี้ยตามคำร้องขอของรัฐบาลว่า ไม่มีสิทธิ์จะมาวิพากษ์วิจารณ์แบงก์ชาติ เพราะไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในรัฐบาลด้วย

Latest

ชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ส่ง Lightnet จับมือ WeLab ฟินเทคฮ่องกง ลงสนามชิงใบอนุญาตฯ Virtual Bank

ความสัมพันธ์ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลน่าจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่า ร้าวฉาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ยิ่งเมื่อสาวกทั้งหลายออกมาถือป้าย “Save ผู้ว่าแบงก์ชาติ” (ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาท นฤพุฒิ) หนำซ้ำในเวลาเดียวกันยังเฮละโลไปเล่นงาน คุณอุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร หน.พรรคเพื่อไทย ที่ออกมาวิจารณ์แบงก์ชาติไม่ยอมปรับลดดอกเบี้ยตามคำร้องขอของรัฐบาลว่า ไม่มีสิทธิ์จะมาวิพากษ์วิจารณ์แบงก์ชาติ เพราะไม่มีตำแหน่งแห่งที่ในรัฐบาลด้วย

ความร้าวฉานก็ยิ่งบานปลายออกไปมากขึ้น จนมีคำพูดฝากไปถึงรัฐบาลนายกฯเศรษฐาว่า ต่อไปถ้าอยากจะหารือกับแบงก์ชาติ ให้ติดต่อผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในสังกัดกระทรวงการคลังแทน...ไปโน่น!

อันที่จริง ถ้ารัฐบาลซึ่งมีอำนาจสูงสุดในฝั่งบริหาร สั่งแบงก์ชาติไม่ได้ ขอความร่วมมือก็ไม่ได้ แม้แต่วิพากษ์วิจารณ์ ก็ยังไม่ได้ด้วย เพราะแบงก์ชาติอยู่เหนือการครอบงำใดๆจากฝ่ายการเมือง

ถามว่า ถูกต้องละหรือ แล้วใครเล่าจะจัดการกับแบงก์ชาติได้ ถ้าพวกเขาดำเนินนโยบายการเงินผิดพลาดเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้งในอดีตอีก หรือไม่ดูดำดูดีกับประชาชนจำนวนมากที่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเลย

ตรงกันข้ามกลับปล่อยให้แบงก์พาณิชย์ กอบโกยกำไรในแต่ละปีไปเป็นแสนล้านบาท

เอาง่ายๆเลย ถ้าแบงก์ชาติซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงิน และนโยบายอัตราดอกเบี้ย ยืนกรานว่า ลดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้แล้ว ไม่เช่นนั้นเงินเฟ้อจะสูงขึ้น และเงินทุนจะไหลออกอีก คนเดือดร้อนหนักก็คือประชาชนตาดำๆนั่นเอง

ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ แล้วปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากล่ะ ทำได้หรือไม่?

อย่าบอกเชียวว่า ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก มี Spread อยู่แค่ 3-5% เท่านั้น

ถ้าดอกเบี้ยเงินฝากพื้นฐานอยู่ที่ 1.50% ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีรายย่อย (MRR) อยู่ที่ 8.5% บวกลบง่ายๆ ดอกเบี้ยเงินฝากที่ผู้ออมเงินทุกประเภทควรได้ น่าจะต้องเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หรือไม่?

เพราะมีช่องว่างถ่างกันอยู่สูงถึง 7%

นับตั้งแต่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งมา แม้ประเทศไทยโดยอดีตนายกฯทักษิณจะใช้เงินที่กู้กับ IMF ไปจนหมดแล้ว แต่คนไทยยังเป็นทาสแบงก์ชาติกับแบงก์พาณิชย์อยู่ เพราะแบงก์ชาติอยากให้แบงก์พาณิชย์ดำรงสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง

จึงยอมให้แบงก์พาณิชย์ลดภาระต่างๆลงด้วยการปลดเปลื้องรายจ่ายที่อาจจะมีผลต่อต้นทุนออกให้มากที่สุด และในภาระเหล่านี้ก็มีอัตราดอกเบี้ยจ่ายแก่ผู้ฝากเงินรวมอยู่ด้วย

ฉะนั้น สิบปีก็แล้ว ยี่สิบปีก็แล้ว ดอกเบี้ยเงินฝากจึงไม่ปรับขึ้นเลย หลังจากที่เคยให้ผู้ฝากเงินในช่วงก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งที่ระดับ 14–16% ต่อปี

ให้แบงก์ชาติอธิบายเรื่องนี้ทีไร เราก็มักจะได้ยินคำกล่าวเดิมๆว่า ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝากถ่างกันอยู่ 4% เท่ากันกับที่แบงก์พาณิชย์ทั่วโลกให้

เข้าตำรา ความผิดตัวเอง ไม่เคยเห็น แต่ความผิดคนอื่น เห็นทะลุปรุโปร่ง.

มิสไฟน์

คลิกอ่าน "กระจก 8 หน้า" เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ