“หลานม่า” สะท้อนเรื่องจริงสังคมไทย เมื่อลูกหลาน ล้วนเป็น “เดอะ แบก”

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

“หลานม่า” สะท้อนเรื่องจริงสังคมไทย เมื่อลูกหลาน ล้วนเป็น “เดอะ แบก”

Date Time: 11 เม.ย. 2567 10:38 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • จากภาพยนตร์แฟมิลี่ดราม่า สู่แง่คิดทางการเงิน "หลานม่า" ฉายภาพ เมื่อเรามีอย่าหวังพึ่งใคร? ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางการเงิน ก่อนวัยเกษียณ ใช้ชีวิตสุขได้หากมี "เงิน"

Latest


แม้จะเพิ่งเข้าฉายเพียงไม่กี่วันสำหรับ “หลานม่า” ภาพยนตร์แฟมิลี่ดราม่า จากค่าย GDH ที่ได้แรงบันดาลใจจาก “เรื่องจริง” ที่มีในทุก “ครอบครัว” ก็สร้างปรากฏการณ์โรงหนังฉ่ำน้ำตา พร้อมด้วยบรรยากาศอบอุ่นหัวใจ ที่ทำให้เราอยากกลับไป “กอด” คนที่บ้าน 

ซึ่งจากเนื้อเรื่องได้สะท้อนปัญหาภายในของครอบครัวออกมาตรงๆ กับความสัมพันธ์ของอาม่า และบรรดาลูกหลานต่างวัยที่ย่อมจะเหมือน “ลิ้นกับฟัน” และ “เกี่ยงกัน” เพื่อดูแลคนเฒ่าคนแก่ ส่อให้เห็นถึงการชำแหละความล่มสลายของครอบครัว “คนจีน” ถือคติชายเป็นใหญ่ หรืออาจจะเหมือนหลายๆ ครอบครัวเสียด้วยซ้ำที่ใช้เงิน “ซื้อเวลา” มากกว่าใช้ “กายา” ซื้อความสุข 

ในเรื่อง หลานม่า แกนหลักของเรื่องมาจากการที่หลานชาย “เอ็ม” อยากจะรวยทางลัด ด้วยการรับมรดกจากอาม่า เพราะเห็นตัวอย่างของ “มุ่ย” ลูกพี่ลูกน้องที่ได้รับมรดกจากอากง เนื่องจากเป็นคนดูแลอากงจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต จึงตัดสินใจอาสาดูแลพระในบ้านอย่าง “อาม่า” ที่ป่วยเป็นมะเร็ง 

ตรงจุดนี้หากมองความจริงอีกด้านผ่านแง่มุมของหลานม่า จะพบว่าแนวคิด “รีบมีลูก จะได้โตทันใช้ มีลูกหลายๆ คน จะได้ช่วยเลี้ยงดูเราในวันที่แก่เฒ่า” ใช้ไม่ได้กับทุกยุคสมัย เพราะจากภาพข่าวที่เห็นกันจนชินตา ผู้สูงวัยถูกทอดทิ้งให้เผชิญชีวิตลำพังในวัยที่ควรพักผ่อน ผู้สูงวัยเฝ้ารอใครบางคนที่คาดหวังให้มาหา มาเยี่ยมเยียน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การมีบุตรไม่ได้รับประกันความสุขในบั้นปลายชีวิต 

ดังนั้นเราจะหวังเพียงเพราะเขาเป็น “ลูก” เห็นจะไม่ได้อีกต่อไป เพราะด้วยสภาพสังคมที่เป็นอยู่ “ตัวลูกหลาน” เองก็ต้องดิ้นรน จึงทำให้คนรุ่นใหม่มีแนวคิดที่ว่าเราไม่ใช่ “เจนแบก” ความกตัญญูเหล่านั้นจึงมาในรูปแบบของการส่งเงินให้ใช้เสียมากกว่า 

ถ้าไม่ทำงานนานขึ้น...ก็ต้องเก็บออมล่วงหน้าให้พอ

และนั่นเองจากทิศทางดังกล่าวเป็นไปได้ว่าหลังจากนี้อายุการทำงานของประชากรไทยอาจมีแนวโน้มที่จะมากกว่า 65 ปี เพราะจำเป็นที่จะต้องมีรายได้มากพอสำหรับการยังชีพหลังเกษียณ ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อวิวัฒนาการและเทคโนโลยีอาจทำให้อายุขัยของคนยาวนานขึ้นกว่าอดีต เพียงแต่ว่าการที่จะหางานที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงเมื่อเวลาผ่านไปคงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยเช่นกัน
การหางานในวันเกษียณก็คงยาก จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้คือ เร่งสร้างความมั่นคงทางการเงิน สะสมเงินออมให้เพียงพอ ซึ่งแต่ละเดือนจะต้องเตรียมมากน้อยแค่ไหนสำหรับแต่ละคนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากใช้ชีวิตสุขสบายเพียงใด 

ดังนั้นหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วถ้าเราไม่รีบวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ อาจมีเงินไม่พอใช้จนถึงบั้นปลายชีวิต และที่สำคัญ คือ ไม่มีเวลาเหลือให้แก้ไขความผิดพลาดได้ เพราะ “การเกษียณอายุ” หมายถึงการหยุดทำงาน ไม่มีรายได้หลักอีกต่อไป แต่เรายังจำเป็นต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่เหลืออยู่ แถมเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายเสื่อมสภาพลง ค่ารักษาพยาบาลก็มากขึ้นตามไปด้วย การเตรียมความพร้อมเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะจะหวังพึ่งพาลูกหลานจะพึ่งได้สักกี่ครอบครัว? 

สำหรับการเริ่มต้นวางแผนเกษียณก็ไม่ยากเลย เพียง 4 ขั้นตอน

  1. คำนวณค่าใช้จ่ายยามเกษียณ
    ประเมินคร่าวๆ ว่าเมื่อเกษียณอายุต้องใช้เงินมากแค่ไหน เช่น ถ้าตอนนี้อายุ 30 ปี ตั้งใจเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 80 ปี โดยตั้งใจจะมีเงินใช้จ่ายที่ 25,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต้องคำนวณเผื่ออัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วย สมมติว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ต่อปี เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าใช้จ่ายที่เราต้องเตรียมในยามเกษียณทั้งหมด 10,836,480 บาท 

  2. ตรวจสอบเงินออมที่มีอยู่
    สำรวจว่าปัจจุบันเรามีเงินออมเพื่อเกษียณจากอะไรบ้าง เช่น บัญชีเงินฝาก เงินทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันออมทรัพย์ หรือเงินลงทุนในหุ้น และกองทุนรวมต่างๆ เพื่อให้เราสามารถคำนวณได้ว่ายังขาดเงินที่ต้องออมเพิ่มอีกเท่าไร
  3. วางแผนลงทุน สร้างเงินออม
    เมื่อรู้จำนวนเงินที่ยังขาดแล้ว ก็ให้เรานำตัวเลขนั้นมาวางแผน โดยเริ่มจากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้เกิดเงินออมในแต่ละเดือน

  4. ทบทวนเป้าหมายสม่ำเสมอ
    ตรวจสอบแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย บริหารพอร์ตลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง 

“คุณเคยนึกถึงวันที่ต้องเกษียณอายุบ้างไหม?” หากยังไม่เคย คุณต้องรีบเปลี่ยนความคิดใหม่ ก่อนจะไม่ทันกาล… 

อ้างอิง KresearchSET investnow


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์