เปิดพฤติกรรม "ชำระเงิน" คนไทยใช้จ่ายผ่านอะไรมากสุด จะเป็น "สังคมไร้เงินสด" กี่โมง

Personal Finance

Banking & Bond

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดพฤติกรรม "ชำระเงิน" คนไทยใช้จ่ายผ่านอะไรมากสุด จะเป็น "สังคมไร้เงินสด" กี่โมง

Date Time: 4 เม.ย. 2567 18:34 น.

Video

ดร.พิพัฒน์ KKP กระเทาะโจทย์เศรษฐกิจไทย บุญเก่าเจอความเสี่ยง บุญใหม่มาไม่ทัน

Summary

  • อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตของ Digital Payment อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยไทยยังเป็นประเทศที่ใ้ช้เงินสดอันดับ 1 ของภูมิภาค Thairath Money ชวนดูพฤติกรรมชำระเงินของคนไทยในปี 2566 เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

Latest


วิกฤตการณ์โควิด-19 ได้เร่งให้คนทั่วโลกเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตออฟไลน์ มาอยู่บนออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่เห็นการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ตามรายงานของ e-Conomy SEA โดย Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียนมีมูลค่ารวมกัน 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยหนึ่งในปัจจัยที่เร่งให้เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเติบโตอย่างก้าวกระโดด มาจากการพัฒนาบริการชำระเงินดิจิทัล เพื่อรองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ โดยอาเซียนมีมูลค่าธุรกรรมผ่าน Digital Payment รวมกันมากกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2565 ทั้งนี้เมื่อจัดอันดับประเทศในอาเซียนพบว่าไทยยังเป็นอันดับ 1 ที่ทำธุรกรรมด้วยเงินสด

Thairath Money ชวนดูพฤติกรรมชำระเงินของคนไทยในปี 2566 เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง


ข้อมูลจาก “The Way We Pay 2023” รายงานสรุปข้อมูลพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2562-2566) ประเทศไทยมีการเติบโตของ Digital Payment เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชำระเงินด้วย Internet & Mobile Banking ที่มีสัดส่วนปริมาณและมูลค่าสูงถึง 96% และ 84% จากระดับ 93.1 และ 65.4% ในปี 2562 แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยที่มีความคุ้นชินในการใช้ Digital Payment ในชีวิตประจำวัน


ทั้งนี้ ในปี 2566 Internet & Mobile Banking ยังคงเป็นช่องทาง Digital Payment ที่ได้รับความนิยมและเติบโตสูงสุด โดยมีจำนวนบัญชีถึง 136.1 ล้านบัญชี ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2566 และมีปริมาณการใช้งาน สูงถึง 29.4 พันล้านรายการ คิดเป็น มูลค่า 105.3 พันล้านบาท 


โดยปัจจัยที่ทำให้คนไทยนิยมใช้ Digital Payment เป็นช่องทาง ในการชำระเงินมากขึ้น มีด้วยกัน 4 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่


1. ความรวดเร็ว

2. ใช้งานง่ายและสะดวก

3. ใช้จ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา

4. ปลอดภัย


อย่างไรก็ตาม เมื่อดูภาพรวมสื่อการชำระเงินทั้งหมด พบว่า ปัจจุบันคนไทยยังนิยมใช้เงินสดมากที่สุดในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยมีการใช้จ่ายในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ตลาดสด/รถเข็นมากที่สุด โดยเฉพาะการใช้เงินสดกับการซื้อของมูลค่าต่ำ ทั้งนี้มูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยด้วยเงินสดของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 104 บาท/คน/ครั้ง


เมื่อดูปัจจัยที่ทำให้คนไทยนิยมถือครองเงินสดเป็นสื่อหลักในการชำระเงิน พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

  • ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ถือครองเงินสดต่อวันสูงที่สุด
  • เพศชาย เพศหญิง ถือครองเงินสดใกล้เคียงกัน
  • กลุ่มรายได้สูง ถือครองเงินสด สูงกว่ากลุ่มอื่น
  • วัยเริ่มต้นทำงาน (18-25 ปี) ถือครองเงินสดน้อยกว่าช่วงอายุอื่น โดยมีมูลค่าเฉลี่ย 1,776 บาท
  • ประชาชนถือครองเงินสดต่อคน ต่อวัน เฉลี่ย 2,122 บาท

เปิดพฤติกรรมชำระเงินคนไทย ใช้อะไร จ่ายผ่านช่องทางไหนเยอะสุด

อันดับ 1 เงินสด มีสัดส่วนการใช้งาน 66% ใช้จ่ายเฉลี่ย 212 บาท 

อันดับ 2 Mobile/Internet Banking มีสัดส่วนการใช้งาน 28% ใช้จ่ายเฉลี่ย 400 บาท 

อันดับ 3 E-wallet มีสัดส่วนการใช้งาน 2.5% ใช้จ่ายเฉลี่ย 221 บาท

อันดับ 4 Debit card มีสัดส่วนการใช้งาน 2% ใช้จ่ายเฉลี่ย 804 บาท

อันดับ 5 Credit card มีสัดส่วนการใช้งาน 1% ใช้จ่ายเฉลี่ย 1,293 บาท


จากผลสำรวจจะเห็นว่า คนไทยมีการใช้จ่ายผ่านเงินสดมากที่สุดก็จริง แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการใช้จ่าย บัตรเครดิตเป็นช่องทางที่คนใช้จ่ายมูลค่าสูงสุด ถึง 1,293 บาท/คน/ครั้ง

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ